บทบาท อำนาจหน้าที่ และที่มาของวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทย
by ศักดา ศรีทิพย์
Title: | บทบาท อำนาจหน้าที่ และที่มาของวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทย |
Other title(s): | The suitable roles, authorities, and establishment of the senate for Thailand |
Author(s): | ศักดา ศรีทิพย์ |
Advisor: | บรรเจิด สิงคะเนติ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2015.14 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ประเทศไทยมีวุฒิสภาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 เรียกว่า “พฤฒสภา” มาจากการ เลือกตั้งโดยทางอ้อม โดยกําหนดให้วุฒิสภามีบทบาทในการยับยั้งร่างกฎหมาย เมื่อรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 ถูกยกเลิก รัฐธรรมนูญฉบับต่อมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2534 ได้กําหนดบทบาทให้วุฒิสภาเป็นผู้ค้ําจุนอํานาจและเสถียรภาพให้แก่รัฐบาล สมาชิก วุฒิสภาจึงมาจากการแต่งตั้งโดยตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมวิทยาการเมืองในขณะนั้น เนื่องจากรัฐบาลไร้เสถียรภาพ การให้นายกรัฐมนตรีเสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา เป็นการผ่อนคลาย ความตึงเครียดทางการเมือง ทําให้รัฐบาลได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสภาไม่ถูกโค้นล่มจากพรรคร่วม รัฐบาลได้โดยง่าย จนมีการปฎิรูประบบการเมืองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง โดยให้วุฒิสภามีบทบาทหลักเป็น “สภาตรวจสอบ” วุฒิสภาจึงเป็นองค์กรที่มีอํานาจมากในระบบรัฐสภาของไทย อย่างไรก็ตามในทาง ปฏิบัติได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้จริง เพราะสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่มีฐานที่มาเดียวกันกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาจึงมาจากฐานคะแนนเสียงจากกลุ่มเดียวกันกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนเป็น สามี ภรรยา บุตร เครือญาติ กับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนถูกเรียกว่าเป็นสภาผัวเมีย สมาชิกวุฒิสภาจึงไม่ปลอดจากการเมือง ทําให้เกิดกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านขึ้นในวุฒิสภา ส่งผลให้กลไกการ ตรวจสอบของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญไม่อาจขับเคลื่อนไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นองค์กรอิสระตาม รัฐธรรมนูญต่างๆ ก็พลอยถูกแทรกแซงตามไปด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้แก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 โดยยังคงให้วุฒิสภามีบทบาทเป็น “สภาตรวจสอบ” อยู่แต่ได้ ปรับเปลี่ยนที่มาของสมาชิกวุฒิสภาเป็นแบบผสมโดยมาจากการเลือกตั้ง กับมาจากการสรรหาตัวแทน ของกลุ่มผลประโยชน์ตามสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อให้โอกาสแก่ทุกภาคส่วนทุกสาขาอาชีพได้มีส่วนร่วม ในการทําหน้าที่ และได้แก่ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามให้วุฒิสภาเป็นอิสระจากสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ไม่ให้มีความเกี่ยวข้องกับ พรรคการเมือง รวมถึงการเป็นเครือญาติกับนักการเมือง สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการสรรหานั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สอดคล้องกับหลักการของระบบ ประชาธิปไตย การให้คณะบุคคลเพียง 7 คน สรรหาสมาชิกวุฒิสภา แต่ให้วุฒิสภามีอํานาจตรวจสอบ การทํางานของรัฐได้ จึงมีปัญหาเรื่องความชอบธรรม สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาจึงไม่ถือว่า เป็นผู้แทนของปวงชน ส่วนวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยใช้จังหวัดเป็นเขตการเลือกตั้งนั้น ถูก วิพากษ์วิจารณ์ถึงสัดส่วนของประชากรต่อจํานวนวุฒิสภา วุฒิสภากลายเป็นผู้แทนของจังหวัดความ เป็นผู้แทนซ้ําซ้อนกับสภาผู้แทนราษฎร ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ) ยังคงหลักการไว้ เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แต่ได้แก้ไขที่มาของวุฒิสภาที่มาจากการ สรรหาออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้มีความครอบคลุมกลุ่มสาขาอาชีพตต่างๆ เป็นสภาพหุนิยม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาท อํานาจหน้าที่ และที่มาของสมาชิกวุฒิสภาที่ เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าวุฒิสภาของต่างประเทศ มีฐานความเป็นผู้แทนของชุมชนทางการเมือง ชัดเจน เช่น วุฒิสภาเป็นตัวแทนของชนชั้นสูง วุฒิสภาเป็นตัวแทนของกลุ่มอาชีพ วุฒิสภาเป็นตัวแทน ขององค์กรปกครองท่องถิ่น วุฒิสภาเป็นตัวแทนของมลรัฐ เป็นต้น เพื่อให้วุฒิสภาคอยถ่วงดุลอํานาจ และมีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชุมชนทางการเมืองของตน โดยให้แต่ละชุมชนการเมืองเป็นคน คิดวิธีเลือกผู้แทนของตนเข้าไปในวุฒิสภา ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะให้กําหนดบทบาทของวุฒิสภาก่อน โดยให้วุฒิสภาเป็น “สภาคานและถ่วงดุลอํานาจสภาผู้แทนราษฎร” ที่มาของวุฒิสภานั้นต้องมี ลักษณะแตกต่างกับสภาผู้แทนราษฎร คือไม่มีฐานที่มาทางภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นการ ซ้ําซ้อนกับสภาผู้แทนราษฎร จะทําให้ความจําเป็นที่ต้องมีวุฒิสภาลดลง วุฒิสภาควรมาจากความ หลากหลาย มาจากกลุ่มองค์กรทางสังคมและตัวแทนสาขาอาชีพต่างๆ ประกอบด้วย กลุ่ม ผลประโยชน์ทางพื้นที่ เช่น ตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด หรือกลุ่ม ผลประโยชน์ทางอาชีพ เช่น ตัวแทนของสภาเกษตรกร สภาหอการค้า สภาองค์กรลูกจ้าง ฯลฯ การ กําหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เช่นนี้จะทําให้มีการกระจาย ผลประโยชน์ไปยังส่วนต่างๆ ไม่ทําให้อํานาจรวมศูนย์อยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงลําพัง และโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการสร้างกลไกให้ตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ในทางพื้นที่เข้ามามีบทบาทในการคานอํานาจ กับ รัฐบาลส่วนกลางจะทําให้เกิดการประนีประนอมเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในทางพื้นที่ และกล่ม ผลประโยชน์ต่างๆ ได้ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | วุฒิสภา -- ไทย
สมาชิกวุฒิสภา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 166 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5793 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|