การคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
by พิมุข สุศีลสัมพันธ์
Title: | การคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน |
Other title(s): | Labour protection on occupational safety and health law and Thailand Institute of Occupational Safety and Health Establishment Law |
Author(s): | พิมุข สุศีลสัมพันธ์ |
Advisor: | วริยา ล้ำเลิศ |
Degree name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ มาตรฐานแรงงาน ระหว่างประเทศ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดตั้ง สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาพัฒนากฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความ ปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย ซึ่งดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาจากเอกสาร ได้แก่ หนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การคุ้มครองแรงงานด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิทธิมนุษยชน พื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ หากมีอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยเกิดขึ้นแก่ลูกจ้างย่อมส่งผลเสียหายทั้งต่อ ลูกจ้าง นายจ้าง และเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสำคัญโดยการบัญญัติ กฎหมายภายในขึ้นมาใช้บังคับเพื่อให้ความคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศก็ มีการรับรองมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศเพื่อให้ประเทศสมาชิกนำไปปรับใช้ซึ่งประเทศไทยได้ บัญญัติกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเพื่อเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการความปลอดภัยใน การทำงาน และกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทำงาน เพื่อจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานโดยเฉพาะ แต่จาก การศึกษาพบว่า กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังมีความไม่ครอบคลุม และชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตการใช้บังคับ หน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องใน กระบวนการทำงาน รวมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ออกมาใช้บังคับก็มีหลักเกณฑ์บางประการที่ยังไม่เหมาะสมในการ ให้ความคุ้มครองแรงงานได้อย่างเต็มที่ เช่น โครงสร้างและรูปแบบการบริหารงาน อำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการบริหารสถาบัน เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและการส่งเสริมความ ปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติและโครงสร้างของกฎหมายความ ปลอดภัยในการทำงาน กำหนดหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานให้มีความเหมาะสมและชัดเจน รวมทั้งแก้ไขกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยใน การทำงานให้มีโครงสร้างการบริหาร และอำนาจหน้าที่ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ตลอดจนให้ ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมเชิงป้องกันความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นในสังคม |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กฎหมายแรงงาน |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 274 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5800 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|