• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน: ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ทฤษฎีของ Elinor Ostrom ในประเทศไทย

by อรทัย อินต๊ะไชยวงค์

Title:

สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน: ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ทฤษฎีของ Elinor Ostrom ในประเทศไทย

Other title(s):

Community Rights in Balanced and Sustainable Management of Natural Resources and Environment with Balance and Sustainable: Study on Applicability of Elinor Ostrom’s Theory in Thailand

Author(s):

อรทัย อินต๊ะไชยวงค์

Advisor:

บรรเจิด สิงคะเนติ

Degree name:

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

Doctoral

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล และยั่งยืน ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 จนถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และสิทธิชุมชนได้รับการออกแบบ ตามรัฐธรรมนูญให้มีสภาพบังคับใช้ได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติหลักการสิทธิชุมชนในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้รับการตระหนักอย่างแท้จริง
เนื่องจากระบบกฎหมายของประเทศไทยยอมรับสภาพบุคคลมี2 ประเภทเท่านั้น คือ บุคคล ธรรมดาและนิติบุคคล และให้ความสำคัญสิทธิของปัจเจกบุคคลและสิทธิของรัฐ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ระบบกรรมสิทธิ์มีเพียง 2 ประเภท คือ กรรมสิทธิ์ของรัฐและกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล จึงทำให้ เกิดปัญหาการปรับใช้และการตีความกฎหมายรับรองสถานะของชุมชนมีลักษณะเป็นสภาพบุคคล หรือไม่ ปัญหาคำจำกัดความคำว่า “ชุมชน” ยังไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติตามกฎหมาย จึงส่งผลทำให้ การปรับใช้และการตีความรับรองสถานะสิทธิชุมชนมีข้อจำกัดในทางกฎหมาย นอกจากนี้กฎหมายที่ เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติต้อง ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่มีเนื้อหารับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการ และใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเหตุให้เกิดข้อขัดแย้งในการนำแนวคิดเกี่ยวกับ การจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐที่ยังคงบังคับใช้กฎหมายอีกด้านหนึ่ง และประชาชนหรือชุมชนอ้างสิทธิของตนตาม รัฐธรรมนูญในด้านอื่น ๆ จึงเกิดข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชนหรือชุมชนขึ้นสู่การ พิจารณาของศาลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับใช้และการตีความรับรองสถานะของชุมชนและ สถานะสิทธิชุมชนโดยศาลไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยังไม่มีความชัดเจนที่หยิบยกประเด็นสิทธิ ชุมชนในการพิจารณาพิพากษาขององค์กรตุลาการเป็นประเด็นหลัก
ผลการศึกษาพบว่า หลักการสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญของไทยตั้งอยู่บนฐานความคิดว่า ชุมชนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่มีตัวตนทางกายภาพตามข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นผลจากพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ และความมีอยู่ของชุมชนเป็นข้อเท็จจริงที่รับรู้ได้โดยทั่วไปแม้ไม่ได้รับการรับรองไว้ ในกฎหมายเป็นการเฉพาะ ดังนั้น “ชุมชน” จึงมีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยสภาพ (Real Corporation Theory) ชุมชนย่อมมีสิทธิและอ านาจหน้าที่ได้ตามสภาพความเป็นจริง สอดคล้องกับทฤษฎีนิติบุคคล โดยสภาพของ Otto von Gierke และสิทธิชุมชนในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นทรัพยสิทธิตามกฎหมายมหาชน เหนือทรัพย์สินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญในลักษณะสิทธิทางทรัพย์สิน ในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการใช้สิทธิของ ชุมชนในฐานะผู้ทรงสิทธิส่วนรวม ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือกรรมสิทธิ์ เด็ดขาดท านองเดียวกับกรรมสิทธิ์ของเอกชนเหนือทรัพย์สิน แต่เป็นการใช้สิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้ความสมดุลและยั่งยืน ข้อความคิดนี้ ได้ขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตามแนวคิดให้รัฐ ควบคุม ดูแลทรัพยากรธรรมชาติเพียงฝ่ายเดียว หรือรัฐให้เอกชนสัมปทานหรือแปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจ ตามแนวคิดของ Garrett Hardin แต่สอดคล้องกับแนวคิดให้ชุมชนเป็นผู้จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของ Elinor Ostrom
เมื่อนำแนวคิดของ Elinor Ostrom มาปรับใช้ พบว่า การที่จะรับรองและคุ้มครองให้สิทธิ ชุมชนมีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริงนั้น จำเป็นต้องตีความรับรองสถานะชุมชนในฐานะเป็นผู้ทรงสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญ โดยการนำเอาทฤษฎี “นิติบุคคลโดยสภาพ”มาสนับสนุน นอกจากนี้ ควรกำหนด นิยาม “ชุมชน”ให้มีความชัดเจน แต่ไม่จำต้องกำหนดรายละเอียดลงในกฎหมายทั้งหมดเพราะจะเป็น การจำกัดความหลากหลายที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการทางสังคม โดยควรกำหนดเพียงตัวอย่างคำนิยาม และควรกำหนดคำนิยามหรือตีความรับรองสถานะสิทธิชุมชนในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมือง ใช้ร่วมกัน ในลักษณะเป็นทรัพยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ทำนองเดียวกับ ภารจำยอม สิทธิอาศัย หรือสิทธิ เหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ภายใต้เงื่อนไขการใช้สิทธิชุมชนโดยไม่ขัดต่อความสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดดุลยภาพระหว่าง การสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้เพื ่อประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้น พื้นฐานตามรัฐธรรมนูญของบุคคลและชุมชนในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นับได้ว่าแนวคิดของ Elinor Ostrom สามารถใช้เป็นแนวทาง ในการคุ้มครองสิทธิชุมชนในประเทศไทยได้อย่างสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและสภาพ ความเป็นจริงในสังคมไทย

Subject(s):

สิทธิชุมชน -- ไทย
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย

Keyword(s):

กรรมสิทธิ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

424 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5846
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201157.pdf ( 6,184.29 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Dissertations [16]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×