• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

Happiness at work: a comparison between the public and private sectors. 

ความสุขในการทำงาน : เปรียบเทียบระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

by Atcharaporn Wongpun; อัจฉราพร วงศ์พันธุ์; Duanpen Theerawanviwat; เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์

Title:

Happiness at work: a comparison between the public and private sectors. 
ความสุขในการทำงาน : เปรียบเทียบระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

Advisor:

Duanpen Theerawanviwat
เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์

Issued date:

7/1/2022

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

Happiness at work: a comparison between the public and private sectors. This descriptive study aims to    1) compare the happiness at work in different dimensions both public and private, analyze the perspective of happiness at work. 2) analyze the factors influencing the happiness of people working between the public and private organizations. This research is a secondary study of data from the Working Conditions Survey Project 2018 and the happiness survey of working people (in the organization) from the National Statistical Office The study analyzed the data by using Multiple Classification Analysis (MCA) statistics. According to the study, government employees were slightly more female than male, aged between 45 – 65 years with primarily marital. Hold a bachelor's degree level and earned an average monthly income in the amount of 15,001 baht or more. Private sector employees were slightly more male than female. aged between 25 - 44 years with primarily marital. Hold the secondary level/diploma level and earned average monthly income is less than 9,000 baht. Most employees who work in the public sector are professionals in various fields as an educational and Most employees who work in the private sector are basic occupations as the manufacturing industry. The level of happiness at work is the adequate compensation with the highest average among both public and private sector employees. The correctness of the payroll resulted in the most adequate compensation average. and in terms of competency development, it was found that the chances of receiving training / further education / job visit to develop one's skills and abilities, resulting in the lowest average in terms of ability development. The results of the study revealed that comparison of personal and occupational factors affecting happiness at work found that Monthly income had a greater effect on the happiness of employees in the public sector than employees in the private sector. Occupational type had a greater effect on happiness for employees in the public sector than employees in the private sector. The level of education had a greater effect on the happiness of employees who worked in the private sector than employees who worked in the public sector. Comparing each side, it was found that monthly income affects employees in the public sector more than employees in the private sector. The level of education affects employees who work in the private sector more than employees who work in the public sector.   
การวิจัยเรื่อง ความสุขในการทำงาน : เปรียบเทียบระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสุขในมิติต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และวิเคราะห์ถึงภาพรวมของความสุขในการทำงาน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้ที่ทำงานระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ.2561 และ การสำรวจความสุขของคนทำงาน (ในองค์กร) จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์การจำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis : MCA) จากผลการศึกษาพบว่าผู้ที่ทำงานภาครัฐมีเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างอายุ 45 - 64 ปีและสถานภาพสมรสเป็นหลัก ในระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 15,001 บาท ขึ้นไป ผู้ที่ทำงานภาคเอกชนมีเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างอายุ 25 - 44 ปี โดยมีสถานภาพสมรสเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/อนุปริญญา โดยส่วนใหญ่รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 9,000 บาท ผู้ที่ทำงานภาครัฐส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ ประเภทอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นประเภทการศึกษา วิชาชีพ ผู้ที่ทำงานภาคเอกชนส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน ประเภทอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นการผลิต ระดับความสุขในการทำงานส่วนใหญ่คือด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดทั้งผู้ที่ทำงานภาครัฐและผู้ที่ทำงานภาคเอกชน ซึ่งความถูกต้องของการจ่ายค่าจ้างมีผลทำให้ค่าเฉลี่ยด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอมากที่สุด และด้านการพัฒนาความสามารถมีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดซึ่งพบว่าโอกาสที่จะได้รับการอบรม/ศึกษาต่อ/ดูงาน เพื่อพัฒนาทักษาและความสามารถของตนเองมีผลทำให้ค่าเฉลี่ยในด้านพัฒนาความสามารถน้อยที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและสาขาอาชีพที่มีผลต่อความสุขในการทำงานพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงาน รายได้ต่อเดือนมีผลต่อความสุขในการทำงานของผู้ที่ทำงานภาครัฐมากกว่าผู้ที่ทำงานภาคเอกชน ประเภทอาชีพมีผลต่อความสุขในการทำงานของผู้ที่ทำงานภาครัฐมากกว่าผู้ที่ทำงานภาคเอกชน ระดับการศึกษามีผลต่อความสุขในการทำงานของผู้ที่ทำงานภาคเอกชนมากกว่าผู้ที่ทำงานภาครัฐ เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละด้าน พบว่ารายได้ต่อเดือนมีผลต่อผู้ที่ทำงานภาครัฐมีมากกว่าผู้ที่ทำงานภาคเอกชน ระดับการศึกษามีผลต่อผู้ที่ทำงานภาคเอกชนมากกว่าผู้ที่ทำงานภาครัฐ ยกเว้นด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอที่ผู้ที่ทำงานภาครัฐมากกว่าผู้ที่ทำงานภาคเอกชน ประเภทอาชีพมีผลต่อผู้ที่ทำงานภาครัฐมีมากกว่าภาคเอกชน ยกเว้นค่าตอบแทนที่เพียงพอและความภูมิใจในองค์กรที่ผู้ที่ทำงานภาคเอกชนมีมากกว่าผู้ที่ทำงานภาครัฐ

Keyword(s):

ความสุขในการทำงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน
Happiness at work public sector private sector

Type:

Text

Language:

tha

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5850
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 5920423031.pdf ( 1,367.15 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [191]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×