• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

by เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ

Title:

วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

Other title(s):

Political participation culture of youths in multicutural society : a case study of Thepha District Songkhla Province

Author(s):

เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ

Advisor:

สุพรรณี ไชยอำพร

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นใน สังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อศึกษาทัศนะของวัยรุ่นต่อลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) เป็นหลักโดยอาศัยกระบวนการและวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-Informant)และทำการตรวจสอบข้อมูล โดยใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาเดิมและอาศัยอยู่ในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ตั้งแต่เกิด เกินครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย ศาสนาอิสลาม มีอาชีพเป็นนักศึกษา การศึกษา ปริญญาตรี อายุเฉลี่ย 22 ปี สถานะภาพโสด ด้านลักษณะการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของ วัยรุ่นจะเป็นไปในรูปแบบของการพูดคุยเรื่องการเมืองโดยส่วนใหญ่มีการพูดคุยประเด็นการเมือง บ่อยครั้ง ชักชวนบุคคลอื่นไปเลือกตั้ง แต่ที่เป็นหลักคือการไปเลือกตั้งโดยส่วนใหญ่ไปใช้สิทธิ เลือกตั้งเพราะมีความตั้งใจ และเห็นวาเป็นหน้าที่ที่สำคัญ ด้านบรรยากาศทางการเมืองมีส่วนสำคัญ ที่จะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ถ้าสถานการณ์บ้านเมืองปรกติ สงบ จะส่งผลให้เกิดการมี ส่วนร่วมมาก แต่ในปัจจุบันสถานการณ์บ้านเมืองไม่ได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ทำให้ ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม ด้านลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่วัยรุ่นพึงประสงค์ได้แก่ 1) ต้องการพื้นที่เพื่อใช้ในการแสดงออกทางการเมือง เช่น เปิดเวทีให้วัยรุ่นมาเสวนาเกี่ยวกับ การเมือง 2) การเลือกตั้งเพราะวันรุ่นเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นการมีส่วนร่วมที่สำคัญของระบอบ ประชาธิปไตย 3) มีส่วนร่วมในการเลือกผู้ปกครองระดับท้องถิ่นด้วยตนเอง เช่นเลือกนายอำเภอ ผู้วาราชการจังหวัด แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น ได้แก่1)ครอบครัว
สถาบนัครอบครัวมีมีส่วนอย่างมากที่ได้ช่วยในการสร้างจิตสำนึกทางการเมืองให้กับสมาชิกจึงควร ปลูกฝังให้วัยรุ่นเห็นความสำคัญของการเมือง โดยผ่านทางบุคคลในครอบครัว 2)โรงเรียนมีส่วน ในการให้ความรู้และควรจะบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองลงไปในหลักสูตรตั้งแต่ระดับพื้นฐานเพื่อ จะได้ซึมซับ 3) ชุมชนยังมีส่วนสนับสนุนค่อนข้างน้อยจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างวัฒธรรมทางการ เมืองขึ้นมา เพื่อให้เกิดค่านิยมให้วัยรุ่นในการหวงแหนสิทธิของตน 4) ศาสนา มีส่วนสนับสนุน ค่อนข้างต่าง จำเป็นต้องปลูกฝังเรื่องความดีหรือสิ่งที่ควรประพฤติปฎิบัติเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการ เลือกผู้นำที่ดี 5) หน่วยงานทางการปกครองมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้าง เพราะเป็นหน่วยงานที่ รับผิดชอบโดยตรงและต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะผ่านทางนโยบายต่างๆ ปัญหาและอุปสรรค ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น ได้แก่ 1) การศึกษา ที่ยังไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะในหมู่บ้านที่ ห่างไกลวัยรุ่นยังขาดความเข้าใจเรื่องการเมือง 2) ยาเสพติด การดื่มน้ำใบกระท่อมในหมู่วัยรุ่นขาด ความกระตือรือร้น ทำให้ทำตัวนิ่งเฉยจนขาดความสนใจในเรื่องบ้านเมือง 3) สภาพเศรษฐกิจ ครอบครัวรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพทำให้วัยรุ่นสนใจแต่เรื่องปากท้องและทำงาน 4) การพนันฟุตบอล แพร่หลาย 5) เกรงกลัวอันตรายจนไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ทางการเมือง เพราะกลัว จะต้องเป็นเป้าหมายของฝ่ายตรงข้าม

Subject(s):

วัฒนธรรมการเมือง

Keyword(s):

วัยรุ่น -- การเมือง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

121 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5895
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201432.pdf ( 1,946.32 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×