แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
by อรุณี กะเส็มมิ
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development guideline of community-based tourism participatory, a case study Ban Tha Din Daeng Community, Thai Mueang District, Phangnga Province |
ผู้แต่ง: | อรุณี กะเส็มมิ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ไพฑูรย์ มนต์พานทอง |
ชื่อปริญญา: | การจัดการมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 2) ประเมินระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมืองจังหวัดพังงา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของชุมชนบ้านท่าดินแดง จำนวน 300 คน และตัวแทนผู้มีบทบาทการพัฒนาชุมชนบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา จำนวน 3 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standare Deviation: SD) สถิติ t-test และ สถิติ F-test (One Way ANOVA) ในการทดสอบสมมติฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีวิเคราะห์แบบอุปนัยและสรุปแบบบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านท่าดินแดง อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านความพร้อมของบุคลากร ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และด้านที่พัก ตามลำดับ 2) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนบ้านท่าดินแดง อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการรับประโยชน์ ด้านการดำเนินงาน/กิจกรรม ด้านการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหา ด้านการติดตามและประเมินผล และด้านการวางแผน ตามลำดับ 3) แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในด้าน 1) ด้านการประชาสัมพันธ์2) ด้านการพัฒนาบุคลากร 3) ด้านความปลอดภัย 4) ด้านการปฏิบัติตามกฎกติกาที่ได้ตกลงร่วมกัน 5) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีระดับความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงาต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยส่วนบุคคลทุกด้านต่างกัน มีระดับความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านท่าดินแดง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ไทย -- พังงา -- ท้ายเหมือง
การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- พังงา |
คำสำคัญ: | e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 270 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6009 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|