แนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสมเพื่อการควบคุมสกุลเงินดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทย: ศึกษากรณีบิทคอยน์
Files
Publisher
Issued Date
2021
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
169 leaves
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b214306
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ณหทัย สุขเสนา (2021). แนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสมเพื่อการควบคุมสกุลเงินดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทย: ศึกษากรณีบิทคอยน์. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6089.
Title
แนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสมเพื่อการควบคุมสกุลเงินดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทย: ศึกษากรณีบิทคอยน์
Alternative Title(s)
Suitable regulatory for effective digital currency controls for Thailand : Bitcoin
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ประเทศไทยได้ตราพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เพื่อใช้ในการควบคุมดูแลการดำเนินกิจกรรมและการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยพระราชกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากพระราชกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมและการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอีก 11 ฉบับ เพื่อใช้ในการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว อีกทั้ง กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดให้นำกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับกรณีการดำเนินกิจกรรมและการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยอนุโลมได้ อันได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนั้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและกำกับดูแล พระราชกำหนดนี้ยังได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ซึ่งบทลงโทษดังกล่าวมีทั้งมาตรการลงโทษทางแพ่งและทางอาญา
อย่างไรก็ดี แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่ใช้ควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลโดยเฉพาะแล้วก็ตาม แต่การควบคุมและกำกับดูแลโดยใช้กฎหมายดังกล่าวยังมีข้อจำกัด กล่าวคือ เป็นการควบคุมและกำกับดูแลเฉพาะตัวกลางและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งไม่ครอบคลุมถึง
กรณีผู้ใช้หรือผู้ทำธุรกรรมโดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ผ่านตัวกลาง และไม่ครอบคลุมถึงการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลลักษณะอื่น เนื่องจากการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะคริปโทเคอร์เรนซีนั้นมีหลายลักษณะ กล่าวคือ ผู้ใช้หรือผู้ถือครองคริปโทเคอร์เรนซี สามารถใช้คริปโทเคอร์เรนซีแลกเปลี่ยนระหว่างกันในลักษณะเหมือนกับการใช้สื่อกลางการแลกเปลี่ยนได้ ยกตัวอย่างเช่น การนำคริปโทเคอร์เรนซีไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการต่าง ๆ หรืออาจใช้คริปโทเคอร์เรนซีไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลต่าง ๆ ในลักษณะคล้ายกับการแลกเปลี่ยนเงิน ยกตัวอย่างเช่น การนำบิทคอยน์ไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลต่าง ๆ อาทิ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐหรือสกุลเงินบาทของไทย รวมถึงกฎหมายดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทยกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธรุกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้ให้บริการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลหรือเงินตราเสมือนในประเทศไทย จากเหตุผลที่กล่าวมา บทความนี้จึงทำการสำรวจกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับลักษณะการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลหรือเงินตราเสมือนในประเทศไทยและสำรวจกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมและกำกับดูแลเงินตราเสมือนในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลหรือเงินตราเสมือนเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดหน่วยงาน มาตรการ หรือใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เดิมของไทย เพื่อใช้ในการควบคุมดูและกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลหรือเงินตราเสมือน ตามลักษณะการใช้งาน เพื่อเป็นการกำหนดกฎหมายและมาตรการกำกับดูแลรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะที่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย โดยเป็นการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทยกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการดังกล่าว และเพื่อการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป ซึ่งมาตรการและกฎหมายที่ประเทศไทยและต่างประเทศใช้ในการควบคุมและกำกับดูแลเงินตราเสมือนมีรายละเอียดดังจะกล่าวในบทความวิจัยฉบับนี้
Thailand has enacted the Digital Asset Business Act B.E. 2561 (2018) to regulate activities and digital asset businesses. The Royal decree came into force on May 14, 2018, and subsequently, The Securities and Exchange Commission has issued 11 announcements. In addition, this law also requires that other relevant laws be applied to activities and digital asset businesses such as Anti-Money Laundering law or Securities and Exchange law etc. Furthermore, for the benefit of control, The Royal decree stipulates penalties for business operators who violate or fail to comply with this law. The penalties include both civil and criminal penalties. However, although Thailand has specific laws to regulate digital assets but that law still have limitations. This law aim to control only intermediaries and digital asset businesses in Thailand but does not cover the use or transactions without intermediaries and the use of other types of digital assets. For example, using virtual currency, Cryptocurrency Including Bitcoin, has many characteristics, such as using Cryptocurrency as a medium of exchange by exchanging Cryptocurrency with each other or exchanging for goods or services. Or using Cryptocurrency as a currency by exchanging Cryptocurrency for US dollars or Thai baht. From the reasons, this article aimed to explore the laws that apply to digital assets, virtual currency, Cryptocurrency, especially Bitcoin both in Thailand and abroad: Germany, Japan and The United States. Those countries have specific laws to control digital assets, virtual currency, Cryptocurrency Including Bitcoin. The objective is to setting guidelines, regulator and measures. Furthermore, the objective is to improvement Amending the existing laws of Thailand in order to cover the use of digital assets, virtual currency Cryptocurrency and Bitcoin, which are not regulated by specific laws. Therefore, the gap in the law will be reduced. The business, transactions of digital assets, virtual currency, Cryptocurrency Including Bitcoin will be promoted. Activities and digital asset businesses in Thailand will be controlled more efficient and effective.
Thailand has enacted the Digital Asset Business Act B.E. 2561 (2018) to regulate activities and digital asset businesses. The Royal decree came into force on May 14, 2018, and subsequently, The Securities and Exchange Commission has issued 11 announcements. In addition, this law also requires that other relevant laws be applied to activities and digital asset businesses such as Anti-Money Laundering law or Securities and Exchange law etc. Furthermore, for the benefit of control, The Royal decree stipulates penalties for business operators who violate or fail to comply with this law. The penalties include both civil and criminal penalties. However, although Thailand has specific laws to regulate digital assets but that law still have limitations. This law aim to control only intermediaries and digital asset businesses in Thailand but does not cover the use or transactions without intermediaries and the use of other types of digital assets. For example, using virtual currency, Cryptocurrency Including Bitcoin, has many characteristics, such as using Cryptocurrency as a medium of exchange by exchanging Cryptocurrency with each other or exchanging for goods or services. Or using Cryptocurrency as a currency by exchanging Cryptocurrency for US dollars or Thai baht. From the reasons, this article aimed to explore the laws that apply to digital assets, virtual currency, Cryptocurrency, especially Bitcoin both in Thailand and abroad: Germany, Japan and The United States. Those countries have specific laws to control digital assets, virtual currency, Cryptocurrency Including Bitcoin. The objective is to setting guidelines, regulator and measures. Furthermore, the objective is to improvement Amending the existing laws of Thailand in order to cover the use of digital assets, virtual currency Cryptocurrency and Bitcoin, which are not regulated by specific laws. Therefore, the gap in the law will be reduced. The business, transactions of digital assets, virtual currency, Cryptocurrency Including Bitcoin will be promoted. Activities and digital asset businesses in Thailand will be controlled more efficient and effective.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564