dc.contributor.advisor | จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ | th |
dc.contributor.author | ริญญาภัทร์ ภูวโรจน์พิบูล | th |
dc.date.accessioned | 2022-12-09T08:03:31Z | |
dc.date.available | 2022-12-09T08:03:31Z | |
dc.date.issued | 2018 | th |
dc.identifier | b203182 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6105 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 | |
dc.description.abstract | งานวจิยัคร้ังน้ีเป็นงานวจิยัเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินประสิทธิผลและเสนอแนวทางในการ
พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยเก็บรวบรวมข้อมูล
จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ประกอบด้วยประชาชนและ
ผู้นำชุมชนในพื้นที่โครงการ หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เจ้าของโครงการ
บริษัทที่ปรึกษา นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และองค์การพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 75คน
ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องจากนั้น นำข้อมูลมาเรียบเรียง
และวิเคราะห์เนื้อหา ด้วยการวิเคราะห์แบบ 3 เสาร์ เพื่อหาข้อสรุปที่มีความเหมาะสมและก่อให้เกิด
การพัฒนาอย่างยั่งยืน | th |
dc.description.abstract | ผลการศึกษา การประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา
ตามกรอบ CIPP-I Model พบว่า พื้นที่โครงการอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยแนว
เส้นทางพาดผ่านพื้นที่รวม 4 จังหวัด มีระยะทางรวมท้ังสิ้น 321 กิโลเมตร ซึ่งสอดคล้องกับ
แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยเพื่อให้ระบบรางเป็นทางเลือกหลักใน
การเดินทางและขนส่งสินค้าที่สะดวก ประหยัด และปลอดภัยในส่วนของการดำเนินงานตาม
กฎหมายพบว่า โครงการมีการจดักระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด
สำหรับงบประมาณมีความเหมาะสมเพียงพอในช่วงดำเนินการศึกษาออกแบบ แต่ในช่วงก่อน | th |
dc.description.abstract | ดำเนินการก่อสร้างงบประมาณที่จัดสรรไว้ไม่เพียงพอ ควรมีการจัดสรรงบประมาณในส่วนของการ
มีส่วนร่วมและประชาสัมพนัธ์ให้เพียงพอ สำหรับการเข้าไปให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการต่อ
ประชาชนอีกคร้ังก่อนดำเนินการก่อสร้างและบุคลากรในการดำเนินงานมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่
สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน นอกจากนี้ผู้ดำเนินโครงการได้ประชาสัมพันธ์
โครงการให้ประชาชนไดรับทราบตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเขา้ใจ
ในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงเจ้าของโครงการมีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
โครงการอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจและยอมรับโครงการ โดยไม่ก่อให้เกิด
การคัดค้านหรือความขัดแย้ง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความตระหนักถึงความสำคัญ
ของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม | th |
dc.description.abstract | สำหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นน้ัน ภาครัฐจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีสอดคล้องกับบริบทและ
สภาพแวดล้อมในปัจจุบันเนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นกฎหมายที่มีการประกาศใช้มาเป็นเวลานานบางประเด็นจึง
อาจไม่เหมาะสม และที่สำคัญ เจ้าของโครงการต้องเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน แสดงถึงความ
จริงใจและความโปร่งใสจนสิ้นสุดกระบวนการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจและยอมรับ
โครงการ โดยไม่ก่อใหเ้กิดการคัดค้านหรือความความขัดแย้ง | th |
dc.description.provenance | Submitted by Chitjai Singhapong (chitjai.s@nida.ac.th) on 2022-12-09T08:03:31Z
No. of bitstreams: 1
b203182.pdf: 4579191 bytes, checksum: 51dcf06446074bef6e10a73fa52b21b7 (MD5) | en |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2022-12-09T08:03:31Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b203182.pdf: 4579191 bytes, checksum: 51dcf06446074bef6e10a73fa52b21b7 (MD5)
Previous issue date: 2018 | en |
dc.format.extent | 263 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน | th |
dc.subject.other | สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- สุราษฎร์ธานี -- หาดใหญ่ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน | th |
dc.title | การประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา | th |
dc.title.alternative | An evaluation of public participation in environmental impact assessment : a case study of the construction project of double track railway on Surat Thani-Hat Yai Junction-Songkhla Route | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม | th |
dc.identifier.doi | 10.14457/NIDA.the.2018.91 | |