การศึกษากลยุทธ์การสร้างสรรค์ Second Screen ในสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัล
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
94 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
ิb203223
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นัทพร แบบประเสริฐ (2017). การศึกษากลยุทธ์การสร้างสรรค์ Second Screen ในสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัล. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6129.
Title
การศึกษากลยุทธ์การสร้างสรรค์ Second Screen ในสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัล
Alternative Title(s)
Creativity strategies for second screen in digital television media
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการสร้างสรรค์กลยุทธ์Second Screen ใน
สื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัล ทั้งเนื้อหารายการของ Second-Screen และศึกษากระบวนการสร้างสรรค์
Second Screen ให้สอดคล้องกับ First Screen รวมถึงศึกษารูปแบบและแนวทางของเนื้อหา
ของ Second Screen ที่เหมาะสมกับผู้รับสารในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่ง
ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และการรวบรวมเอกสารเพื่อการศึกษา
วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ใหม่เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า Second Screen เป็นตัวที่เสริม First Screen ให้คนติดตามมากขึ้น โดยเป็นตัวสร้างหรือเพิ่มคุณค่าให้คนอยากดูในตอนออกอากาศจริงจากสื่อโทรทัศน์หรือหน้าจอ หลัก ส่วนตัวเนื้อหา (Content) ต้องทำให้สามารถไปได้ในทุกแพลทฟอร์ม (Platform) และทำ ให้ผู้ชมเป็นแฟนเบส (Fan Base) และพัฒนาเป็นซุปเปอร์แฟน (Super Fan) จนกลายเป็นกลุ่ม ผู้ชม (Community) ที่มีคุณภาพ
นอกจากนี้การทำ Second Screen นั้น ควรมีการยืนยันตัวบุคคลว่าใครเป็นเจ้าของ เพราะถ้าไม่ทราบแน่ชัด จะมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ในการสื่อสารระหว่างกัน เช่นการร่วมสนุก เล่นเกม การลงทะเบียน เป็นต้น ส่วนระบบของไทยยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ซึ่งเป็น ลักษณะการสื่อสารทางเดียวทั้งหมด คือ ต้องการผลิตอย่างเดียว แต่ไม่ได้มองการสื่อสาร ระหว่างผู้ชมกับช่อง ซึ่งในความเป็นจริงควรเริ่มจากช่องสัญญาณ แล้วก็จูงใจให้คนมีการตอบรับ โดยอาจจะต้องบอกว่าไม่เสียค่าใช้จ่ายให้ประชาชนเข้าใจ หรือบางทีอาจจะมีการจูงใจโดยการ แจกของรางวัลให้มีผู้ติดตาม จนกระทั่งไม่ต้องมีของรางวัลแจกก็มีผู้ติดตาม
ในเรื่องอุปสรรคของการรับชมบน Second Screen ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้อยู่ที่ด้าน เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะระบบสัญญาณมีการพัฒนาไปไกลทั้งมือถือ กล่องรับ สัญญาณ จนถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของคนมากกว่าอุปสรรคไปแล้ว แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคน่าจะเป็น เนื้อหาที่ต้องโดดเด่นมากกว่า ควรจะต้องคิดให้ซับซ้อนมากขึ้นทั้ง แอพลิเคชั่น เกมส์ หรือ กิจกรรมส่งเสริม รวมถึงความรู้ของผู้ผลิตที่จะทำออกมาอีกด้วย
อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงเม็ดเงินที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการผลิตสื่อด้วย แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งที่จะทำให้ช่องหรือรายการนั้น ๆ อยู่ได้ก็คือ เนื้อหาที่โดดเด่น รวมไปถึงการสนับสนุนจากการ โฆษณาต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการลงทุนควบคู่ไปกับเนื้อหาเช่นกัน
ผลการวิจัย พบว่า Second Screen เป็นตัวที่เสริม First Screen ให้คนติดตามมากขึ้น โดยเป็นตัวสร้างหรือเพิ่มคุณค่าให้คนอยากดูในตอนออกอากาศจริงจากสื่อโทรทัศน์หรือหน้าจอ หลัก ส่วนตัวเนื้อหา (Content) ต้องทำให้สามารถไปได้ในทุกแพลทฟอร์ม (Platform) และทำ ให้ผู้ชมเป็นแฟนเบส (Fan Base) และพัฒนาเป็นซุปเปอร์แฟน (Super Fan) จนกลายเป็นกลุ่ม ผู้ชม (Community) ที่มีคุณภาพ
นอกจากนี้การทำ Second Screen นั้น ควรมีการยืนยันตัวบุคคลว่าใครเป็นเจ้าของ เพราะถ้าไม่ทราบแน่ชัด จะมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ในการสื่อสารระหว่างกัน เช่นการร่วมสนุก เล่นเกม การลงทะเบียน เป็นต้น ส่วนระบบของไทยยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ซึ่งเป็น ลักษณะการสื่อสารทางเดียวทั้งหมด คือ ต้องการผลิตอย่างเดียว แต่ไม่ได้มองการสื่อสาร ระหว่างผู้ชมกับช่อง ซึ่งในความเป็นจริงควรเริ่มจากช่องสัญญาณ แล้วก็จูงใจให้คนมีการตอบรับ โดยอาจจะต้องบอกว่าไม่เสียค่าใช้จ่ายให้ประชาชนเข้าใจ หรือบางทีอาจจะมีการจูงใจโดยการ แจกของรางวัลให้มีผู้ติดตาม จนกระทั่งไม่ต้องมีของรางวัลแจกก็มีผู้ติดตาม
ในเรื่องอุปสรรคของการรับชมบน Second Screen ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้อยู่ที่ด้าน เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะระบบสัญญาณมีการพัฒนาไปไกลทั้งมือถือ กล่องรับ สัญญาณ จนถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของคนมากกว่าอุปสรรคไปแล้ว แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคน่าจะเป็น เนื้อหาที่ต้องโดดเด่นมากกว่า ควรจะต้องคิดให้ซับซ้อนมากขึ้นทั้ง แอพลิเคชั่น เกมส์ หรือ กิจกรรมส่งเสริม รวมถึงความรู้ของผู้ผลิตที่จะทำออกมาอีกด้วย
อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงเม็ดเงินที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการผลิตสื่อด้วย แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งที่จะทำให้ช่องหรือรายการนั้น ๆ อยู่ได้ก็คือ เนื้อหาที่โดดเด่น รวมไปถึงการสนับสนุนจากการ โฆษณาต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการลงทุนควบคู่ไปกับเนื้อหาเช่นกัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560