การเลือกปฏิบัติและความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิง : กรณีลูกจ้างเอกชนในวิชาชีพชั้นสูง
Publisher
Issued Date
2010
Issued Date (B.E.)
2553
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
14, 203 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นวลพรรณ ไม้ทองดี (2010). การเลือกปฏิบัติและความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิง : กรณีลูกจ้างเอกชนในวิชาชีพชั้นสูง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/616.
Title
การเลือกปฏิบัติและความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิง : กรณีลูกจ้างเอกชนในวิชาชีพชั้นสูง
Alternative Title(s)
Gender discrimination and wage differentials : the case of private employees in professional occupations
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดสัดส่วนของการเลือกปฏิบัติทางค่าจ้างของลูกจ้าง เอกชนที่ทำงานในวิชาชีพชั้นสูงในประเทศไทย 2) แก้ปัญหาข้อมูลมีอคติในการวิเคราะห์ความ แตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิง และ 3) เสนอแนะแนวทางในการลดสัดส่วนการเลือก ปฏิบัติ สำหรับวิธีการวิจัยนั้น จะใช้วิธีการของ Heckman (1979) เพื่อแก้ปัญหาข้อมูลมีอคติ (Selectivity Bias) ในการประมาณการสมการค่าจ้างและวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่าง ชายและหญิง อีกทั้งยังได้ประยุกต์ใช้วิธีการแยกความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิงตาม แนวคิดของ Neuman and Oaxaca (2005) โดยคำนึงถึงความแตกต่างในโอกาสการมีงานทำที่มีผล ต่อค่าจ้างด้วย ซึ่งยังไม่เคยมีการศึกษาในส่วนนี้สำหรับงานวิจัยในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ลูกจ้างเอกชนชายที่ทำงานเต็มเวลาในวิชาชีพชั้นสูง (ได้แก่ ผู้จัดการ ผู้ ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ และช่างเทคนิคสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นนิยามวิชาชีพชั้นสูงที่ใช้ในการ วิเคราะห์เป็นหลัก) มีค่าจ้างมากกว่าแรงงานหญิง ส่วนการใช้ค่าจ้างที่แท้จริงหรือค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน ในการศึกษานั้น ให้ผลการประมาณการความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิงไม่แตกต่าง กัน สำหรับการวิเคราะห์โดยใช้นิยามวิชาชีพชั้นสูงในแบบที่แคบลงมานั้น (ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้จัดการและผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ) พบว่า ช่องว่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิงกว้างขึ้น เมื่อเทียบกับผลการวิเคราะห์หลัก นอกจากนี้ ผลการศึกษาความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและ หญิงของลูกจ้างเอกชนที่ทำงานเต็มเวลา ซึ่งไม่ได้จำกัดการวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มวิชาชีพชั้นสูงนั้น พบว่า ช่องว่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิงนั้นแคบกว่าในกรณีที่ศึกษาเฉพาะกลุ่มวิชาชีพชั้นสูงนอกจากนั้นยังพบว่า วิธีการที่ต่างกันในการแยกความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและ หญิงนั้น จะทำให้ทราบที่มาและสัดส่วนของการเลือกปฏิบัติแตกต่างกันด้วย โดยในการเลือก วิธีการที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการวัดส่วนของความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิงที่เกิดจาก การเลือกปฏิบัตินั้น คงต้องศึกษาลักษณะของการเลือกปฏิบัติในตลาดแรงงานเป็นรายอาชีพไป เพื่อ นำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในตลาดแรงงานระหว่างชายและ หญิง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(พัฒนาการเศรษฐกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010