• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

สัญญะของเพลงกับการสะท้อนอัตลักษณ์และอัตมโนทัศน์ของผู้ประพันธ์

by ปริณ เพชรสังข์

ชื่อเรื่อง:

สัญญะของเพลงกับการสะท้อนอัตลักษณ์และอัตมโนทัศน์ของผู้ประพันธ์

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

The reflection of music semiology toward songwriters’ identities and self-concepts

ผู้แต่ง:

ปริณ เพชรสังข์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2559

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2016.170

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงคเพื่อ1)ศึกษารูปแบบการสื่อสารของเนื้อหาเพลงที่ประพันธ์โดย ผู้ประพันธ์เพลงแบบสมัยนิยมและแบบทางเลือกอันสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของผู้ประพันธ์ทั้งสอง ท่าน 2)ศึกษาความแตกต่างระหว่างอัตลักษณ์ที่ถูกค้นพบในรูปแบบการสื่อสารของเพลงกับอัตมโนทัศน์ที่ผู้ประพันธ์มองตนเอง 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของ ผู้ประพันธ์โดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 3 ข้ันตอน คือ 1) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) 2)การวิเคราะห์เนื้อหาสารเชิงคุณภาพ (Qualitative Content Analysis) โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพลงและ 3)การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth-Interview)จากผู้ประพันธ์เพลง ผู้ที่เคยร่วมงานกับผู้ประพันธ์เพลงและบุคคลผู้มีอิทธิพลหรือเชี่ยวชาญในวงการเพลงไทย ผลการศึกษาเกี่ยวรูปแบบการสื่อสารผ่านเพลงที่ประพันธ์โดยผู้ประพันธ์เพลงสมัยนิยม (Q1) พบว่าเพลงที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมส่วนใหญ่จะมีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ดำเนิน เรื่องโดยบุรุษที่หนึ่งซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในเรื่องเป็นผู้เล่าโดยเพลงที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกบัความรัก ในเชิงบวกจะมีการวางโครงเรื่องครบองค์ประกอบ ส่วนเพลงที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความรักในเชิง เศร้าจะขาดขั้น ภาวะคลี่คลาย และเพลงที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความรักในเชิงสนุกสนานจะขาดขั้นภาวะคลี่คลายและขั้นยุติเรื่องราว ซึ่งกลุ่มคำที่ถูกนำมาใช่บ่อยที่สุด ได้แก่รัก หัวใจคิดถึง ห่วงและ หวง ในขณะที่รูปแบบการสื่อสารผ่านเพลงที่ประพันธ์โดยผู้ประพันธ์เพลงทางเลือก(Q2) มีการ ดำเนินเรื่องโดยผู้ประพันธ์ในฐานะเป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่างเป็นผู้เล่าในเพลงที่มีแก่นเรื่อง เกี่ยวกับความรัก แนวคิด และการทำงาน และมีการดำเนินเรื่องโดยบุรุษที่หนึ่งซึ่ งเป็นตัวละคร สำคัญในเรื่องเป็นผู้เล่าในเพลงที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความรักในฐานะที่ผู้เล่าเป็นผู้กระทำและหรือ ถูกกระทำเองซึ่งเพลงที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกบัความรักมีการวางโครงเรื่องไม่ครบองค์ประกอบ โดยจะขาดขั้น ภาวะคลี่คลายในเพลงที่ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ไม่มีการเปิดเผยหรือคลี่คลายได้และขาดขั้นพัฒนาเหตุการณ์ในเพลงที่ไม่มีการเพิ่มปมปัญหาความขัดแย้งของตัวละครให้เข้มข้นขึ้นเพื่อ พัฒนาเหตุการณ์สู่ขั้นต่อไป ในส่วนของการใช้คำสำหรับเพลงรักคา ที่พบบ่อยคือคำว่า “รัก” ส่วน เพลงที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับ แนวคิดและเพลงที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกบัการทำงาน มีการสอดแทรกคำภาษาอังกฤษลงไปในเนื้อร้องและวิจารณ์สิ่งต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้รูปแบบการสื่อสารผ่าน เพลงสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของผู้ประพันธ์ได้กล่าวคือ จากเนื้อหาของเพลงที่ประพันธ์โดย ผู้ประพันธ์เพลงสมัยนิยม (Q1) สะท้อนให้เห็นว่า Q1 เป็นบุคคลที่มีความพยายามเพื่อให้สำเร็จตาม เป้าหมาย แต่มีอารมณ์เปราะบางในสถานการณ์เคร่งเครียด ชอบการแสดงออก กระหายความ ตื่นเต้น ชอบลองสิ่งใหม่มีความประนีประนอมคล้อยตาม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและจัด อยู่ในประเภทของบุคคลที่มีแนวคิดแบบสมัยใหม่ (Modernism) ในขณะที่เนื้อหาเพลงที่ประพันธ์ โดยผู้ประพันธ์เพลงทางเลือก (Q2) สะท้อนให้เห็นว่า Q2 เป็นบุคคลที่มีความซาบซึ้งในศิลปะและ ความสวยงามของดนตรีเปิดเผยความรู้สึกเห็นคุณค่าของอารมณ์ด้านต่างๆ ชอบความหลากหลาย ทดลองสิ่งใหม่ๆ มีการแสดงออกตรงไปตรงมา มีความเป็นตัวของตัวเองสูง รักอิสระ และมีความ เป็นผู้นำยอมรับการเปลี่ยนแปลง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และจัดอยูในประเภทของบุคคลที่มี แนวคิดแบบหลังสมัยใหม่(Postmodernism) นอกจากนี้จากผลการศึกษายงัพบว่าปัจจยัภายในที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่ แตกต่างกันของผู้ประพันธ์เพลงสมัยนิยม (Q1) และผู้ประพันธ์เพลงทางเลือก (Q2) ได้แก่1) ภูมิหลังครอบครัว 2) ประสบการณ์ การศึกษา และ ความรู้เฉพาะทาง และ 3) ทัศนคติ และแรงจูงใจ ในขณะที่ปัจจัยภายนอกได้แก่1)การสนับสนุนเชิงนโยบายของภาครัฐและธุรกิจ 2)ความคาดหวัง ของผู้บริโภคและ 3)ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคม

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

หัวเรื่องมาตรฐาน:

เพลง
อัตลักษณ์

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

271 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6230
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b199274.pdf ( 3,042.27 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [178]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×