การประเมินประสิทธิผลศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
by รุจิรา ทนงกิจ
Title: | การประเมินประสิทธิผลศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) |
Other title(s): | Evaluation of the effectiveness of community energy learning centers, PTT Public Company Limited |
Author(s): | รุจิรา ทนงกิจ |
Advisor: | จำลอง โพธิ์บุญ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.179 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ 2) ศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและผลสำเร็จศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยใช้กรอบแนวการศึกษา ตามรูปแบบ CIPP Model กับรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติอนุมาน และพรรณาความ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) พบว่า ปัจจัยภายนอก (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) และกระบวนการ (Process) มี ความสัมพันธ์กับประสิทธิผล (Effectiveness) ในระดับสูง ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนโดยสมการถดถอย (Regression) พบว่า ปัจจัยภายนอก (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) และกระบวนการ (Process) ส่งผลต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ในระดับสูง (R = 0.672) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์ เท่ากับ 0.451 (ร้อยละ 45.10) ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีความคาดเคลื่อนของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.380 มีค่าคงที่เท่ากับ 1.354 และจะได้สมการพยากรณ์ประสิทธิผล ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ที่สามารถนำไปพยากรณ์ปัจจัยสนับสนุน การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนได้ โดยมีสมการดังนี้ Effectiveness = 0.382 Context + 0.169 Input + 0.166 Process ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้นและ ยั่งยืน ดังนี้ ด้านปัจจัยภายนอก (Context) ได้แก่ มีนโยบายด้านพลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับ ฐานทรัพยากรชุมชน มีพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนความรู้ และมีการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณะ อย่างต่อเนื่อง ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ สร้างความเชื่อมั่น การรับรู้การตระหนักรู้และ ความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีพลังงานชุมชนแก่ชุมชน และ ด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ ควรพิจารณาแผนการทำงานของชุมชนเป็นหลักในการสนับสนุน และมีการบูรณาการใน การทำงานร่วมกัน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | บริษัทปตท
บริษัท |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 146 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6294 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|