• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การประเมินองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

by เกศรี ลีลาศรีบรรจง

Title:

การประเมินองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Other title(s):

The cultural capital reproduction : a case study of Praharuthai Convent School

Author(s):

เกศรี ลีลาศรีบรรจง

Advisor:

โกวิทย์ กังสนันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

เทคโนโลยีการบริหาร

Degree department:

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2011

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2011.50

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงสถานภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสํานักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการ ดําเนินงาน และประเมินการรับรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไปสู่การเรียนรู้ของ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศึกษาตามแนวทางการพัฒนาองค์การ แห่งการเรียนรู้ของ Michael J. Marquardt ใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ ด้านองค์การ ด้านคน ด้านความรู้และด้านเทคโนโลยีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานใน สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จํานวน 327คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t ค่าความแปรปรวนจําแนกทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติมีนโยบายให้ ความสําคัญกับการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุง โครงสร้างและระบบบริหารให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุน ให้มีการสะสมองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ส่งเสริมการทํางานเป็นทีม พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการจัดการความรู้ สร้างเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ และให้ความสําคัญกับการ สื่อสารภายในองค์การ นอกจากนี้ผลการศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการดําเนินการใน องค์ประกอบ 5 ด้าน เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้พบว่าบุคลากรรับรู้ว่าสํานักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติมีการดําเนินการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การเรียนรู้ในระดับมาก โดยเห็นว่ามีการพัฒนาในองค์ประกอบด้านการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ ด้าน เทคโนโลยี ด้านองค์การ ด้านคน และด้านความรู้ ทั้งนี้บุคลากรที่มีศูนย์ที่สังกัด กลุ่มตําแหน่ง และ ลักษณะงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การเรียนรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงาน ดังนี้ 1) บุคลากร ยังไม่เห็นความสําคัญ และประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาองค์การไปสู่การเป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้ 2) บุคลากรมักไม่ค่อยมีการแบ่งเป็นความรู้ รวมถึงระบบการจัดการความรู้มีขั้นตอนและ รูปแบบการใช้งานยาก3) บุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการดําเนินงานของหน่วยงาน 4) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไม่มี ระบบการจูงใจและการให้รางวัลในการเรียนรู้ ผลการศึกษาข้างต้นได้นําไปประยุกต์เป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงนโยบาย กลยุทธ์ และการพัฒนาองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทํางานของ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติรวมถึงใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยต่อไป

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011

Subject(s):

องค์การแห่งการเรียนรู้

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

13, 151 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/645
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b175452.pdf ( 3,969.50 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSHRD: Theses [150]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×