การบริหารสวัสดิการของบริษัทที่ได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย
Publisher
Issued Date
2003
Issued Date (B.E.)
2546
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
326 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b122673
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พัชรีวรรณ ชัยอนิรุทธ์ (2003). การบริหารสวัสดิการของบริษัทที่ได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/655.
Title
การบริหารสวัสดิการของบริษัทที่ได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย
Alternative Title(s)
A study on benefits administration of the companies which granted best employers in Thailand award
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ เรื่อง การบริหารสวัสติการของบริษัทที่ได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด นโยบาย การบริหารสวัสดิการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารสวัสดิการ ปัญหา ข้อจำกัด วิธีการแก้ไขปัญหาและแนวโน้มการบริหารสวัสดิการในอนาคตของบริษัทที่ได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย
กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทในประเทศไทยซึ่งใด้รับเลือกได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นแห่ง
ประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2544 จัดอันดับโดยวารสารฟาร์ อีสเทริ์น อิโคโนมิค รีวิวและสมัครใจให้ข้อมูล จำนวน 8 บริษัท ขอบเขตเป็นการศึกษาเฉพาะการบริหารสวัสดิการของกลุ่มตัวอย่างข้างต้น โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษามีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากตำรา เอกสาร อินเตอร์เน็ตและเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และจดหมายอิเลคทรอนิกส์ในบริษัททั้ง 8 แห่ง
ผลการศึกษาที่ตอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ มีดังนี้
1. แนวคิด นโยบายสวัสดิการในบริษัท บริษัทส่วนใหญ่กำหนดนโยบายสวัสดิการเป็นลายลักษณ์อักษรโดยพิจารณาจากความต้องการของลูกจ้าง ปัจจัยภายนอกและปัจจัยด้าน
นายจ้าง ซึ่งคณะกรรมการบริหารของบริษัทจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหารสวัสดิการ และไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแเปลงนโยบายสวัสดิการ 2. การบริหารและการดำเนินงานสวัสดิการในบริษัท บริษัทให้ความสำคัญในการจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้างมาก ขั้นตอนการบริหารเริ่มจากการเปรียบเทียบผลการสำรวจสวัสดิการในตลาดกับบริษัทแล้วนำเสนอผู้บริหารเพื่อปรับเป็นเปลี่ยนผู้บริหารงานสวัสดิการมีตำแหน่งแตกต่างกันไป การบริหารสวัสดิการส่งผลต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์และการสรรหาลูกจ้าง บริษัทส่วนใหญ่จัดสวัสติการบางชนิดให้เท่ากัน บางชนิดต่างกัน หลักการจำแนกประเภท คือ หน้าที่ความรับผิดชอบและระดับลูกจ้าง สวัสดิการที่บริษัทจัดให้แก่ลูกจ้างมี 4 ด้าน คือ การเงิน การศึกษาหรือพัฒนาลูกจ้าง การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสุขอนามัย และกิจกรรมนันทนาการและอื่นๆ สวัสดิการที่บริษัทจัดให้แก่ครอบครัวลูกจ้าง คือ การประกันชีวิตลูกจ้าง ปัจจุบันทุกบริษัทใช้รูปแบบการบริหารสวัสดิการแบบคงที่ ค่าใช้จ่ายสวัสดิการไม่เกินร้อยละ 40 ของค่าจ้างเงินเดือน 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพอต่อการบริหารสวัสดิการ ปัจจัยที่ผู้บริหารงานสวัสดิการเห็นว่ามีอิทธิพลมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านนายจ้าง สำหรับปัจจัยที่กำหนดในกรอบแนวคิดและทุกบริษัทเห็นว่ามีอิทธิพล คือ คือ งบประมาณสวัสดิการ กฎหมายแรงงานและสภาพเศรษฐกิจ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารสวัสดิการ คือ กฎหมายแรงงาน งบประมาณสวัสดิการและแนวคิดการบริหารตัวลติการ 4. ปัญหา อุปรรรธะชัยจำกัดในการ
บริหารสวัสดิการ คือ ความเข้าใจและการยอมรับของลูกข้าง ส่วนปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจของลูกจ้างและการสื่อสาร 5. วิธีการแก้ไขปัญหาในการบริหารสวัสดิการ คือ การสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกจ้าง ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา บริษัทจะรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ วิเคราะห์ ประชุม สรุปผลแล้วประกาศให้ลูกจ้างทราบ 6. แนวโน้ม ทิศทางในการบริหารสวัสดิการในอนาคต บริษัทส่วนใหญ่ปรับปรุงสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างเสมอ รูปแบบสวัสดิการมี 4 บริษัทที่จะ
เปลี่ยนแปลงเป็นแบบยืดหยุ่น และ 4 บริษัทที่ยังคงใช้แบบคงที่ ปัจจัยในการพิจารณาสวัสดิการในอนาคต คือ แนวโน้มตลาด ปัจจัยที่กำหนดไว้ในการศึกษาครั้งนี้และความต้องการของลูกจ้าง
ข้อเสนอแนะ
1. การกำหนดแนวคิดนโยบายการบริหารสวัสดิการ ควรแยกออกมาจากนโยบายด้านค่าตอบแทน เพื่อให้การบริหารและการพัฒนาสวัสดิการมีแนวทางที่แน่ชัด 2. ควรกำหนดขั้นตอนการบริหารสวัสดิการให้ชัดเจนและควรให้มีการประเมินผลสวัสดิการที่จัดให้แก่ลูกจ้างด้วย 3. สำหรับบริษัทที่มีแนวโน้มจะนำเอาสวัสดิการแบบยึดหยุ่นมาใช้ ผู้บริหารสวัสติการควร
พิจารณารายละเอียดของสวัสดิการประเภททต่างๆ และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อนำมาปฏิบัติจริงในองค์กร 4. บริษัทที่มีแนวโน้มจะนำสวัสติการแบบยึดหยุ่นมาใช้ ควรให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมออกแบบ หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อผู้บริหารสวัสดิการจะสามารถจัดโปรแกรมให้ลูกจ้างเลือกได้ตามความต้องการนั้น 5. ควรมีการตั้งคณะกรรมการสวัสดิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หมวด 7 มาตรา 96 - 98 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของลูกจ้างและลดปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร 6. ควรมีการตรากฎกระทรวงตามมาตรา 95 เพื่อกำหนดสวัสดิการให้มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานในการนำมาบังคับใช้ในประเทศไทย
ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยต่อๆ ไป
1. การศึกษาเปรียบเทียบสวัสดิการในบริษัทของไทยและบริษัทข้ามชาติ 2. การศึกษางบประมาณและค่าใช้จ่ายสวัสดิการ ทั้งในส่วนของความมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลและสถิติที่ผ่านมา 3. การศึกษาสวัสดิการในองค์กรธุรกิจขนาดเล็กว่าแตกต่างจากองค์กรขนาดกลางและใหญ่หรือไม่ 4. การศึกษาโดยใช้วิธีการทางสถิติเพื่อหาตัวทำนายว่าลักษณะสวัสดิการแบบใดที่บริษัทที่ได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นใช้ 5. การศึกษาผลกระทบของสวัสดิการที่มีต่อความพึงพอใจของลูกจ้าง ความผูกพันต่อองค์กร การธำรงรักษา และอัตราการ
เข้า - ออกงานของลูกจ้าง 6. การวิจัยการประเมินผลพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หมวด 7 มาตรา 96 เกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการว่า เมื่อบังคับใช้กฎหมายนี้แล้วได้ผลอย่างไร
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2546