แนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับประถมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
Publisher
Issued Date
2001
Issued Date (B.E.)
2544
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
395 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b110465
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อัญญรัตน์ สุขะมงคล (2001). แนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับประถมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/678.
Title
แนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับประถมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
Alternative Title(s)
Guidelines for educational quality assurance : primary school under the office of the private education commission
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องแนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับประถมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับประถมศึกษา ตามรูปแบบของสำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และศึกษาขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชนแล้ว รวมถึงวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เพื่อเสนอแนะเป็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียน
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์บุคลากรที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนถนอมบุตรและโรงเรียนแย้มสอาด จากการศึกษาพบว่า
ขั้นการเตรียมรับการประกันคุณภาพ ทั้งสองโรงเรียนจะเริ่มจากการทำความเข้าใจหลักการและขั้นตอนประกันคุณภาพ และปัจจัยมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนต้องการ พิจารณาเลือกที่ปรึกษา โดยโรงเรียนแย้มสอาดที่มีประสบการณ์จะไม่ใช้ที่ปรึกษา แต่โรงเรียนถนอมบุตรไม่มีประสบการณ์จะมีที่ปรึกษา ในการเตรียมบุคลากรเพื่อรับการประกันคุณภาพของทั้งสองโรงเรียนประกอบด้วย 1) ด้านทัศนคติ โดยจะสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเข้ารับการประกัน รวมถึงผลกระทบของการประกันคุณภาพที่มีต่อโรงเรียนและบุคลากรทุกคน 2) ด้านความรู้ทักษะและความเข้าใจ โดยมีความรู้ที่เกี่ยวกับหลักการประกันคุณภาพการศึกษา ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษา และการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และ 3) ด้านขวัญกำลังใจคือมีระบบสวัสดิการที่บุคลากรพึงพอใจ และผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการมุ่งมั่นทำงาน ในการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบดำเนินงาน ทั้งสองโรงเรียนจะพิจารณาผู้ที่มีขอบข่ายงานสอดคล้องกับงานที่จะต้องพัฒนาเพื่อการประกันคุณภาพมาเป็นผู้รับผิดชอบ
ขั้นการควบคุมคุณภาพ ทั้งสองโรงเรียนมีลักษณะการดำเนินงานคล้ายกัน กล่าวคือจะเริ่มจากการวิเคราะห์ความต้องการของปัจจัยมาตรฐาน และความต้องการในการพัฒนาของสถานศึกษา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยมาตรฐานที่กำหนดกับความต้องการในการพัฒนาของสถานศึกษา จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี โดยโรงเรียนแย้มสอาดจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียน และโรงเรียนถนอมบุตรจัดทำธรรมนูญโรงเรียน จากนั้นแต่ละฝ่ายงานจะจัดทำแผน
ปฏิบัติการพื่อการดำเนินงาน ตลอดจนทั้งสองโรงเรียนจะประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความสนับสนุน
หรือความร่วมมือต่างฯ ทั้งนี้สำหรับโรงเรียนถนอมบุตรจะต้องให้ที่ปรึกษาช่วยทบทวนข้อมูลตลอดเพื่อความเหมาะสมในการดำเนินการประกันคุณภาพ
ขั้นการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งสองโรงเรียนมีแนวทางคล้ายคลึงกับ กล่าวคือ บุคลากรผู้รับผิดชอบงานจะติดตามงานนั้นๆ เอง โดยจะกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ และลร้างเครื่องมือในการตรวจสอบ อาทิ แบบสอบถาม หรือแบบสำรวจ จากนั้นจะเก็บรวบรวมข้อมูล ประเมินและสรุปผล
การดำเนินงาน แล้วนำผลการประเมินมาแก้ไขปัญหา ปรับปรุงและพัฒนางานต่อไป แต่โรงเรียนแย้มสยาดจะเน้นการใช้เอกสารเป็นเครื่องมือติดตามงานเป็นหลักเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โนขณะที่โรงเรียนถนอมบุตรผู้รับผิดชอบจะเก็บสรุปรายงานไว้ที่ฝ่ายของตนจน
กระทั่งสิ้นภาคการศึกษาจึงจะนำมาประมวลเพื่อประเมินผลต่อไป
ขั้นการประเมินคุณภาพ ทั้งสองโรงเรียนมีแนวทางคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ จะกำหนดผู้รับผิดชอบในการประเมินผลการดำเนินงานของแผนพัฒนาหรือธรรมนูญโรงเรียน วิเคราะห์และสรุปผลการประเมิน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า และพิจารณาผลลัมฤทธิ์ของแผนพัฒนาโรงเรียน จากนั้นจัดทำรายงานการประเมินตัวเอง โดยจะสร้างเครื่องมือตรวจสอบหลักฐานที่ต้องปรากฎตามที่ปัจจัยมาตรฐานกำหนด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามรายการและนำมาเขียนเป็นรายงานการดำเนินการเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2544