ประสิทธิภาพการบริหารการเงินของชุมชน : สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา
Publisher
Issued Date
2004
Issued Date (B.E.)
2547
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
190 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b125287
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นภวิท จงเจริญประเสริฐ (2004). ประสิทธิภาพการบริหารการเงินของชุมชน : สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/710.
Title
ประสิทธิภาพการบริหารการเงินของชุมชน : สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา
Alternative Title(s)
The efficiency of the financial management community : view problem and method to solve the problem
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ลักษณะและรูปแบบปัจจุบันการบริหารการเงินของชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้การบริหารการเงินขององค์กรชุมชนมีประสิทธิภาพ 3) ค้นหาแนวทางการแก้ไขสภาพปัญหาที่มีอยู่
การศึกษานี้เป็นการศึกษา ลักษณะ รูปแบบ และปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารการเงินของชุมชน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพในการบริหารการเงินของชุมชน ในเขตจังหวัดลพบุรี พิษณุโลก นครศรีธรรมราช และชัยภูมิ เพื่อนำมาเสนอแนะแนวทางในการบริหารการเงินให้กับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากการบริหารการเงินในบางพื้นที่ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ดังนั้น ระเบียบวิจัยครั้งนี้จึงใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกันโดยเน้นวิเคราะห์ผลเชิงปริมาณเป็นหลัก ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นใช้วิธี สนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เจาะลึก และการค้นคว้าเอกสาร เพื่อให้ทราบถึงภาพรวมของการบริหารการเงินในแต่ละชุมชน และข้อมูลจากการวิจัยในเชิงคุณภาพบางส่วนจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลในการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณนี้จะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้นและการวิเคราะห์เส้นทาง
และผลการศึกษาพบว่าการบริหารการเงินของชุมชนปัจจุบันมีทั้งเป็นลักษณะที่เป็นกลุ่ม/องค์กรชุมชนที่มีโครงสร้างและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มอาชีพ และกลุ่มที่ไม่มีความชัดเจน เช่น กองทุนชุมชน ตลาดร้านค้าชุมชน หรือการระดมทุนเพื่อพัฒนาชุมชนทั่วไปและพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพการบริหารการเงินของชุมชน ได้แก่ โครงสร้างของชุมชน (จำนวนกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารการเงินของชุมชนและความชัดเจนของโครงสร้างของกลุ่ม/องค์กรชุมชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารการเงินของชุมชน), คนในชุมชน (คุณสมบัติความเป็นผู้นำทางการเงินของผู้นำ, ความซื่อสัตย์โปร่งใสของผู้นำ และความรู้ความเข้าในเรื่องการบริหารการเงินของ
คนในกลุ่มที่บริหารการเงินของชุมชน), จำนวนนโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อบริหารการเงินของชุมชนและการได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวแปร
ปัญหาและอุปสรรคที่ค้นพบคือปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างกลุ่ม/องค์กรชุมชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการบริหารการเงินของชุมชน ได้แก่ ปัญหาเรื่องการรวมกลุ่ม ความสามัคคี จำนวนคนช่วยงาน ความล่าช้าในการทำงานขาดการวางแผน, ปัญหาที่เกิดจากคุณสมบัติของตัวบุคคลที่เข้ามาบริหารจัดการกองทุนขาดความซื่อสัตย์ การแสดงความคิดเห็น ไม่เข้าใจปัญหาของชุมชน การขาดการประสานงานที่ดี ความล่าช้าของภาครัฐ ปัญหาที่เกิดจากการไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน และนอกชุมชน ผลประโยชน์ที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และการขาดทุนของกลุ่ม
ข้อค้นพบคือการจะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินของชุมชนไม่ได้สิ้นสุดอยู่ที่มีการจัดตั้งกลุ่มหรือรวมตัวกันเพื่อบริหารการเงินของชุมชนแต่ต้องติดตาม แก้ไขและป้องกันปัญหาที่ค้นพบ รวมถึงพัฒนาทุกปัจจัยที่มีผล จะมุ่งเน้นพัฒนาปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ควรพัฒนาคนเพราะเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ส่งผลทางอ้อมผ่านตัวแปรอื่น ๆ อีกหลายตัวแปร
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2547