ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมชนบทของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
Publisher
Issued Date
2000
Issued Date (B.E.)
2543
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
165 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุกานดา ภมรศิลปธรรม (2000). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมชนบทของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/719.
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมชนบทของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
Alternative Title(s)
Factors affecting the success of rural industrial promotion projects of the Department of Industrial promotion
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ตั้งวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ (1) ศึกษาการนำโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมชนบทของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมไปปฏิบัติโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก (2) ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมชนบท และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติที่มีผลส่อความสำเร็จในโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมชนบท
ทั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมชนบทที่ดำเนินงานในปี 2542 ในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เเบบจำลอง CIPP ซึ่งจะพิจารณาบริบท ปัจจัยเข้ากระบวนการ และผลที่เกิดจากโครงการ
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการดำเนินโครงการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 2 และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก ส่วนใหญ่ดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการดำเนินงานตามโครงการเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 1,000-3,000 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการในระดับสูง สิ่งที่มีผลโดยตรงต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ รายได้ที่เพิ่มขึ้นและความมั่นคงของกลุ่ม
ปัญหาและอุปสรรคของโครงการสามารถแยกเป็นประเด็นได้ 5 ประการคือ (1) กระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าและจำนวนงบประมาณที่ไม่เพียงพอ (2) การขาดความร่วมมือและการประสานงาน (3) การขาดแคลนบุคลากร (4) ความไม่เพียงพอของการสนับสนุนในด้านต่างๆ และ (5) คำตอบแทนต่ำ
สำหรับข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงโครงการมี 5 ประการคือ (1) การพิจารณาด้านงบประมาณและการปรับแผนงานการดำเนินโครงการ (2) การทำงานแบบพหุภาคี (3) การจัดจ้างวิทยากรภายนอกและการสนับสนุนการขยายเครือข่ายมากขึ้น (4) การสนับสนุนผู้เข้าร่วมดครงการด้านทักษะและความรู้ด้านการตลาด รวมทั้งการปรับแนวคิดของผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นแบบพึ่งพาตนเองมากขึ้น และ (5) การติดตามโครงการ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2543