ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพการบริหารงานขององค์การกับผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
1993
Issued Date (B.E.)
2536
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ด, 241 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ไพจิตร กสิวัฒน์ (1993). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพการบริหารงานขององค์การกับผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/918.
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพการบริหารงานขององค์การกับผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
The relationship between administrative factors and school health service outcomes of the Department of Health, Bangkok Metropolitan Administration
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงาน และผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารงานขององค์การกับผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียน ศึกษาปัจจัยสภาพการบริหารงานขององค์การที่ร่วมกันทำนาย ผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนได้ดีที่สุด อีกทั้งเปรียบเทียบผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนระหว่างโรงเรียนต่างขนาด และต่างความรับผิดชอบของสาธารณสุขภาค เปรียบเทียบการประเมินสภาพการบริหารงานขององค์การระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหาร.
การศึกษานี้ใช้กรอบการวิเคราะห์ การนำนโยบายไปปฏิบัติภายใต้ฐานคติต่างกัน รวม 3 กรอบ ได้แก่ 1) กรอบการวิเคราะห์ที่ยึดหลักเหตุผล 2) กรอบการวิเคราะห์ที่ยึดหลักการจัดการ และ 3) กรอบการวิเคราะห์ที่ยึดหลักการพัฒนาองค์การ.
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่ม 1) ครูอนามัย-ในฐานะผู้รับบริการ จำนวน 340 คน 2) พยาบาลอนามัยโรงเรียน-ในฐานะผู้ให้บริการหรือผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 84 คน และ 3) แพทย์ หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุข และแพทย์ผู้ตรวจการสาธารณสุขภาค-ในฐานะผู้บริหาร รวม 50 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยส่งทางไปรษณีย์ แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยสภาพการบริหารงานขององค์การบางปัจจัยในทุกกรอบการวิเคราะห์มีความสัมพันธ์กับผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนบางด้าน ทั้งในมิติการบรรลุผลตามเป้าหมาย และมิติความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2) สภาพการบริหารงานขององค์การตามฐานคติที่ยึดหลักการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยสถานที่ตั้งขององค์การ มีอิทธิพลต่อผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียน ในมิติความพึงพอใจของผู้รับบริการ 3) ผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนในภาพรวม พบว่า บรรลุผลตามเป้าหมายร้อยละ 69 โดยที่อัตราการบรรลุผลตามเป้าหมายในโรงเรียนขนาดใหญ่สูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็กเป็นลำดับ และพบว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแตกต่างกันไประหว่างโรงเรียนในความรับผิดชอบของต่างสาธารณสุขภาค และ 4) สภาพการบริหารงานขององค์การ ตามการประเมินของพยาบาลอนามัยโรงเรียน-ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน พบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าการประเมินโดย แพทย์-ในฐานะผู้บริหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05.
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนางานอนามัยโรงเรียนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นได้ โดยการให้ความสำคัญที่ การเพิ่มสมรรถนะในการบริหารจัดการภายในสำนักอนามัยทุกระดับ ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน นับตั้งแต่ 1) การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วในการดำเนินงาน 2) การเพิ่มอัตราบุคลากร อนามัยโรงเรียนให้เหมาะสมกับภาระงาน รวมถึงการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะที่จำเป็น อีกทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร 3) การปรับปรุงการวางแผนและการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ 4) การจัดหายานพาหนะไว้ให้ใช้ในการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนโดยเฉพาะ ประจำทุกศูนย์บริการฯ และ 5) การจัดให้มีอุปกรณ์และสื่อเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพแก่เด็กนักเรียนให้น่าสนใจ ทันสมัยและเพียงพอ
การศึกษานี้ใช้กรอบการวิเคราะห์ การนำนโยบายไปปฏิบัติภายใต้ฐานคติต่างกัน รวม 3 กรอบ ได้แก่ 1) กรอบการวิเคราะห์ที่ยึดหลักเหตุผล 2) กรอบการวิเคราะห์ที่ยึดหลักการจัดการ และ 3) กรอบการวิเคราะห์ที่ยึดหลักการพัฒนาองค์การ.
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่ม 1) ครูอนามัย-ในฐานะผู้รับบริการ จำนวน 340 คน 2) พยาบาลอนามัยโรงเรียน-ในฐานะผู้ให้บริการหรือผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 84 คน และ 3) แพทย์ หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุข และแพทย์ผู้ตรวจการสาธารณสุขภาค-ในฐานะผู้บริหาร รวม 50 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยส่งทางไปรษณีย์ แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยสภาพการบริหารงานขององค์การบางปัจจัยในทุกกรอบการวิเคราะห์มีความสัมพันธ์กับผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนบางด้าน ทั้งในมิติการบรรลุผลตามเป้าหมาย และมิติความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2) สภาพการบริหารงานขององค์การตามฐานคติที่ยึดหลักการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยสถานที่ตั้งขององค์การ มีอิทธิพลต่อผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียน ในมิติความพึงพอใจของผู้รับบริการ 3) ผลของการให้บริการอนามัยโรงเรียนในภาพรวม พบว่า บรรลุผลตามเป้าหมายร้อยละ 69 โดยที่อัตราการบรรลุผลตามเป้าหมายในโรงเรียนขนาดใหญ่สูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็กเป็นลำดับ และพบว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแตกต่างกันไประหว่างโรงเรียนในความรับผิดชอบของต่างสาธารณสุขภาค และ 4) สภาพการบริหารงานขององค์การ ตามการประเมินของพยาบาลอนามัยโรงเรียน-ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน พบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าการประเมินโดย แพทย์-ในฐานะผู้บริหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05.
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนางานอนามัยโรงเรียนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นได้ โดยการให้ความสำคัญที่ การเพิ่มสมรรถนะในการบริหารจัดการภายในสำนักอนามัยทุกระดับ ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน นับตั้งแต่ 1) การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วในการดำเนินงาน 2) การเพิ่มอัตราบุคลากร อนามัยโรงเรียนให้เหมาะสมกับภาระงาน รวมถึงการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะที่จำเป็น อีกทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร 3) การปรับปรุงการวางแผนและการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ 4) การจัดหายานพาหนะไว้ให้ใช้ในการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนโดยเฉพาะ ประจำทุกศูนย์บริการฯ และ 5) การจัดให้มีอุปกรณ์และสื่อเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพแก่เด็กนักเรียนให้น่าสนใจ ทันสมัยและเพียงพอ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.