กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิชุมชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Publisher
Issued Date
2011
Issued Date (B.E.)
2554
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
12, 206 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นฤดม ทิมประเสริฐ (2011). กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิชุมชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/988.
Title
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิชุมชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Alternative Title(s)
People's participation process based on community rights to preparation the local ordinances sea : a case study of Tha Sala Sub District Administration Organization, Nakhon Si Thammarat
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบหรือวิธีการในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง โดยชุมชนในปัจจุบันที่มีลักษณะความทับซ้อนเชิงสถาบัน 2) วิวัฒนาการการต่อสู้ของชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านตําบลท่าศาลาต่อการลักลอบทําประมงของเรือประมงพาณิชย์ในเขต 3,000 เมตร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 3) กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน และปัจจัยที่ทําให้เกิด ความสําเร็จ ในการจัดทําข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม วิธีการศึกษาใช้ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จากนั้นจึงนําข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบ ตีความ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาข้อสรุป ผลการศึกษาพบวา การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยรัฐในปัจจุบันมีลักษณะความทับซ้อน เชิงสถาบันเป็ นปัญหาสําคัญ ในขณะที่ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมี รูปแบบและวิธีการในการจัดการทรัพยากรโดยการกาหนดกฎหรือกติการ่วมกน ผ่านระบบสิทธิ โดยแบ่งได้เป็ น 1) สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร 2) สิทธิการใช้ประโยชน์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็ น 2 ลักษณะ คือ 2.1)สิทธิการใช้ประโยชน์แบบชั่วคราว 2.2) สิทธิการใช้ประโยชน์แบบถาวร 3) สิทธิ ของผู้มาก่อน 4) สิทธิในการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทําลายระบบนิเวศ 5) สิทธิในการนําทรัพยากร ขึ้นมาใช้ และ 6) สิทธิ ที่จะใช้ทรัพยากรโดยไม่สร้างความเดือดร้อน หรือละเมิดสิทธิผู้อื่น วิวัฒนาการการต่อสู้ของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลาต่อการลักลอบทําประมงของเรือประมงพาณิชย์ในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่ง สามารถแบงออกได้เป็น 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 เริ่มตังแต่ทศวรรษ 2490 - . 2534 เป็นชวงของการก่อตัวของปัญหาผ่านนโยบายการพัฒนาการ ประมงของรัฐ โดยหลังจากปี 2530 เป็นต้นมาชาวประมงพื้นบ้านก็เริ่มประสบกบปัญหาการลักลอบ ทําประมงของเรืออวนรุน และอวนลาก ชาวประมงแก้ปัญหากันเองโดยใช้การเจรจาจนถึงการนํา เรือออกไปขับไล่ ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกบหมู่บ้านข้างเคียง ช่วงที่ 2 . 2535-2545 ปี 2535 เป็นปี แรกที่เรือคราดหอยลักลอบเข้ามาคราดหอย ชาวประมงแก้ปัญหาโดยการแจ้งไปยัง เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ไม่เป็นผลจึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ชาวประมงพื้นบ้านและประมงอวนรุน อวนลากรวมมือกันเนื่องจากได้ผลกระทบจากเรือคราดหอยโดยตรง โดยใช้วิธีชุมนุมประท้วงด้วย การปิดอ่าวและนําเรือขึ้นมาปิ ดถนน ช่วงที่ 3 . 2546ปัจจุบัน เรือคราดหอยลักลอบเข้ามาคราด อีกครั้งในปี 2550 ซึ่งชาวบ้านมีความเข้มแข็งมากขึ้นโดยก่อตั้งเป็นกลุ่มประมงพื้นบ้านกอนจะ รวมกนเป็นเครือขายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา มีการยื่นหนังสือถึงหน่วยงานของรัฐ ชุมนุม ประท้วงหนวยงานของรัฐ ก่อนที่จะรวมกับองค์การบริหารส่วนตําบลท่าศาลาและองค์กรอื่นๆจัดทํา ข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลได้สําเร็จและแก้ปัญหาได้ในที่สุด ในการจัดทําข้อบัญญัติท้องถิ่นทาง ทะเลพบว่าประชาชนมีส่วนร่วมใน 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่1 มีสวนร่วมในการวางแผนขั้น ที่2 มีส่วนร่วมในการดําเนินการขั้นที่3 มีสวนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์และขั้นที่4 มีสวนร่วมในการ ติดตามและประเมินผล สําหรับปัจจัยที่ทําให้เกิดความสําเร็จในการจัดทําข้อบัญญัตินี้คือ ) ดําเนินการถูกต้องตามหลักการการจัดทําข้อบัญญัติท้องถิ่น ) ภาครัฐมีกฎหมายและนโยบาย สนับสนุนในเรื่องสิทธิชุมชนและกระบวนการมีสวนร่วม 3) จิตสํานึกและประโยชน์ร่วมกัน ) หน่วยงานต่างๆสนับสนุน ) ผู้นําที่เข้มแข็ง 6)กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ) สื่อมวลชน และ ) องค์กรพัฒนาเอกชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011