การควบคุมหอพักนักเรียนนักศึกษาของเอกชนโดยทางราชการ
Publisher
Issued Date
1966
Issued Date (B.E.)
2509
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
135 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เชาวน์ อยู่จำรัส (1966). การควบคุมหอพักนักเรียนนักศึกษาของเอกชนโดยทางราชการ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/995.
Title
การควบคุมหอพักนักเรียนนักศึกษาของเอกชนโดยทางราชการ
Alternative Title(s)
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ผู้เขียนได้ศึกษาถึงปัญหา ความสำคัญของปัญหา ตลอดจนอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการบริหารงานของรัฐบาลในการควบคุมหอพักนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชนในพระนครและธนบุรี ตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงอุดมศึกษา ยกเว้นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียนราษฎร์พิเศษ เป็นการศึกษาในแง่บริหารสวัสดิการสังคมโดยเพ่งเล็งถึงการจัดสวัสดิการแก่นักเรียน นักศึกษา.
จากการศึกษาปรากฎว่าการดำเนินกิจการหอพักเอกชนยังมิได้เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร แม้ว่าทางการจะได้เข้าควบคุมดูแลเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพของนักเรียน การดำเนินการของทางราชการกลับเป็นการควบคุมมากกว่าส่งเสริม สำหรับผู้พักยังคงนิยมใช้บริการหอพักอยู่ สำหรับข้อบกพร่องของหอพักตามความเห็นของผู้พักคงเป็นข้อบกพร่องทางวัตถุ ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าเพื่อส่งเสริมกิจการหอพักของเอกชนให้เกิดผลดีต่อสวัสดิภาพของนักเรียนนักศึกษาทางการควรจะได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.-
1. ควรให้มีการสำรวจความต้องการในเรื่องที่อยู่อาศัยของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดพระนครและธนบุรี ก่อนสำรวจควรวางแผนเตรียมการสำรวจอย่างรอบคอบ.
2. ดำเนินการตามกฎหมายต่อหอพักที่ยังดื้อดึงไม่ยอมมาจดทะเบียน
3. พยายามใช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ โทรทัศน์เผยแพร่ให้ประชาชนทราบว่าการจัดตั้งหอพักต้องได้รับการจดทะเบียนจากทางการเสียก่อน
4. ทางการควรจัดหาเงินทุนก้อนหนึ่งเพื่อให้ผู้ประกอบการในเรื่องนี้ได้กู้ยืมในระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ ยืมไปดำเนินการปรับปรุงและขยายกิจการของตนให้ได้มาตรฐาน
5. ทางการควรส่งนักสังคมสงเคราะห์ออกเยี่ยมเยียนหอพักที่จดทะเบียนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแลสวัสดิภาพของนักเรียน นักศึกษา และเพื่อทราบปัญหาของผู้ดำเนินกิจการหอพัก
6. ทางเจ้าหน้าที่จะต้องเป็นสื่อกลางให้คำแนะนำติดต่อกับทางสถานศึกษา และผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษา อยู่เป็นประจำ เพื่อหาทางแก้ไขเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีขึ้น และจะทำให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงคุณค่าของบริการประเภทนี้มากขึ้น
7. ควรจะได้แก้ไข พ.ร.บ. หอพัก พ.ศ. 2507 และกฎกระทรวง โดยให้มีบทบัญญัติว่า หอพักจะต้องรับนักเรียน นักศึกษา เท่านั้น ห้ามรับผู้อื่นโดยเด็ดขาด และควรมีมาตราหนึ่งระบุถึงการอุดหนุนหอพักด้วยการให้เงินอุดหนุน หรือให้กู้ยืม นอกจากนี้ ควรบัญญัติห้ามการเสพสุรามึนเมาในหอพักและกำหนดลักษณะของอาคารที่พักของนักเรียน นักศึกษา ให้เป็นเอกเทศ ไม่ใช้ในกิจการอย่างอื่นที่ไม่สมควร.
จากการศึกษาปรากฎว่าการดำเนินกิจการหอพักเอกชนยังมิได้เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร แม้ว่าทางการจะได้เข้าควบคุมดูแลเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพของนักเรียน การดำเนินการของทางราชการกลับเป็นการควบคุมมากกว่าส่งเสริม สำหรับผู้พักยังคงนิยมใช้บริการหอพักอยู่ สำหรับข้อบกพร่องของหอพักตามความเห็นของผู้พักคงเป็นข้อบกพร่องทางวัตถุ ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าเพื่อส่งเสริมกิจการหอพักของเอกชนให้เกิดผลดีต่อสวัสดิภาพของนักเรียนนักศึกษาทางการควรจะได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.-
1. ควรให้มีการสำรวจความต้องการในเรื่องที่อยู่อาศัยของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดพระนครและธนบุรี ก่อนสำรวจควรวางแผนเตรียมการสำรวจอย่างรอบคอบ.
2. ดำเนินการตามกฎหมายต่อหอพักที่ยังดื้อดึงไม่ยอมมาจดทะเบียน
3. พยายามใช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ โทรทัศน์เผยแพร่ให้ประชาชนทราบว่าการจัดตั้งหอพักต้องได้รับการจดทะเบียนจากทางการเสียก่อน
4. ทางการควรจัดหาเงินทุนก้อนหนึ่งเพื่อให้ผู้ประกอบการในเรื่องนี้ได้กู้ยืมในระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ ยืมไปดำเนินการปรับปรุงและขยายกิจการของตนให้ได้มาตรฐาน
5. ทางการควรส่งนักสังคมสงเคราะห์ออกเยี่ยมเยียนหอพักที่จดทะเบียนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแลสวัสดิภาพของนักเรียน นักศึกษา และเพื่อทราบปัญหาของผู้ดำเนินกิจการหอพัก
6. ทางเจ้าหน้าที่จะต้องเป็นสื่อกลางให้คำแนะนำติดต่อกับทางสถานศึกษา และผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษา อยู่เป็นประจำ เพื่อหาทางแก้ไขเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีขึ้น และจะทำให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงคุณค่าของบริการประเภทนี้มากขึ้น
7. ควรจะได้แก้ไข พ.ร.บ. หอพัก พ.ศ. 2507 และกฎกระทรวง โดยให้มีบทบัญญัติว่า หอพักจะต้องรับนักเรียน นักศึกษา เท่านั้น ห้ามรับผู้อื่นโดยเด็ดขาด และควรมีมาตราหนึ่งระบุถึงการอุดหนุนหอพักด้วยการให้เงินอุดหนุน หรือให้กู้ยืม นอกจากนี้ ควรบัญญัติห้ามการเสพสุรามึนเมาในหอพักและกำหนดลักษณะของอาคารที่พักของนักเรียน นักศึกษา ให้เป็นเอกเทศ ไม่ใช้ในกิจการอย่างอื่นที่ไม่สมควร.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.