มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค: ศึกษากรณี ผลิตภัณฑ์แว่นกันแดด

dc.contributor.advisorปิยะนุช โปตะวณิชth
dc.contributor.authorช่อทิพย์ สุนทรวิภาตth
dc.date.accessioned2016-06-29T04:30:23Z
dc.date.available2016-06-29T04:30:23Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีการคุ้มครองผู้บริโภคและความรับผิด ในสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แว่นกันแดด นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงกฎหมายของประเทศไทยโดย เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ใน การปรับปรุงกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แว่นกันแดดให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่บังคับใช้กับการลงโทษผู้ผลิตแว่นกันแดดที่ ไม่ได้มาตรฐานอยู่หลายฉบับ มีทั้งกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติที่รับรองคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภค โดยกฎหมายสารบัญญัติ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่ทาให้ ผู้บริโภคทั่วไปได้รับการคุ้มครองเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ นาเข้าหรือนาออกวางจาหน่ายเป็นการทั่วไป และเป็นมาตรการโดยอ้อมที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้อง มีมาตรฐานในการผลิตและนาเข้าสินค้าที่ไม่ปลอดภัยเพื่อมาจาหน่ายแก่ผู้บริโภค และเป็นอีก มาตรการหนึ่งที่สามารถช่วยคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการฟ้องร้องให้ผู้ประกอบการต้องรับผิดใน สินค้าที่ไม่ปลอดภัยซึ่งตนได้จาหน่ายให้แก่ผู้บริโภคเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิแก่ผู้บริโภคที่ได้รับความ เสียหายในอันที่จะได้รับการเยียวยาความเสียหายได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ประมวลกฎหมาย อาญา ในประเด็นเรื่องของความผิดเกี่ยวกับการค้าตามมาตรา 271 และประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ในประเด็นการซื้อขาย ละเมิด และพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีการป้องกันหรือให้ความคุ้มครองผู้บริโภค แต่ยังมีปัญหาอีก หลายประการที่ไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างแท้จริงในการเลือกซื้อเลือกใช้แว่นกันแดดที่ จาหน่ายกันในท้องตลาด กล่าวคือ กฎหมายต่าง ๆ ยังมีข้อบกพร่องและไม่สามารถอานวยความ ยุติธรรมได้อย่างแท้จริงให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงมาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ ที่คุ้มครองผู้บริโภคและ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อผู้บริโภคยังไม่มีประเด็นที่แน่ชัดถึงความรับผิด อีกทั้งยังมี ข้อบกพร่องถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในกรณีต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นปัญหาหลายประการ ได้แก่ (4) ปัญหาเรื่องการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ปัญหาในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหาในการคุ้มครองผู้บริโภคตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดและ การซื้อขาย ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา ปัญหาการการคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก ปัญหาการ การคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมุ่งเน้นหา ทางแก้ไขและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริ จากปัญหาดังกล่าวผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้ 1. ผู้เขียนเห็นสมควรให้มีประกาศของคณะกรรมการว่าด้วยฉลากในเรื่องให้แว่นกันแดด เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 2. เนื่องจากประเทศไทยไม่มีประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือพระราชบัญญัติอื่นใด ที่กาหนดให้แว่นกันแดดต้องมีฉลากและปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในเรื่องของฉลากหน่วยงานต่าง ๆ ของต่างประเทศและมาตรฐานต่าง ๆ ที่ต่างประเทศได้กาหนดถึงมาตรฐานของแว่นกันแดด ได้แก่ มาตรฐานสินค้า CE ของสหภาพยุโรป American National Standards Institute (ANSI) ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Australian Competition and Consumer Commission (ACCC) ของประเทศออสเตรเลีย ได้กาหนดข้อมูลและข้อกาหนดในการติดฉลากของแว่นกันแดด ผู้เขียนเห็น ว่าประเทศไทยควรจะนามาเป็นแบบอย่างในการกาหนดมาตรฐานการติดฉลากของแว่นกันแดด 3. ผู้เขียนเสนอว่าให้ประเทศไทยมีการปิดฉลากโดยองค์กรของเอกชน นามาปรับใช้กับ ประเทศไทย หากว่าประเทศไทยมีองค์กรเอกชนที่ให้การรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ในการ กาหนดการติดฉลากของแว่นกันแดดโดยองค์กรเอกชนนั้น จะทาให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองมาก ขึ้น 4. ผู้เขียนเห็นควรให้ผลิตภัณฑ์แว่นกันแดดมีการกาหนดให้มีมาตรฐานบังคับในการกาหนด มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยหน่วยงานที่ควบคุมตรวจสอบในการรับรองมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ สานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 5. ผู้เขียนขอเสนอว่าสมควรให้ศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัยที่มีหน้าที่ทาการ ตรวจสอบ ทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าต่าง ๆ และเฝ้าระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภคจากสินค้า ต่าง ๆ และให้สานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทดสอบ เพื่อการกาหนดให้แว่นกันแดดมี มาตรฐานการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีการกาหนดถึงหลักเกณฑ์การ ทดสอบพิสูจน์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์แว่นกันแดด 6. ผู้เขียนเห็นว่าประเทศไทยควรใช้ระบบการดาเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) กับความ รับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยth
dc.format.extent179 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb185264th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3102th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectสิทธิผู้บริโภคth
dc.subjectการปรับปรุงกฎหมายth
dc.subjectแว่นกันแดดth
dc.subjectการปรับปรุงกฎหมายผลิตภัณฑ์แว่นกันแดดth
dc.subjectการดำเนินคดีแบบกลุ่มth
dc.subject.otherการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.th
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค: ศึกษากรณี ผลิตภัณฑ์แว่นกันแดดth
dc.title.alternativeLegal measures in consumer protection : A case study of sunglasses productsth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b185264.pdf
Size:
2.1 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections