การพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย
dc.contributor.advisor | สุวารี นามวงค์ | th |
dc.contributor.author | นันทวัชร ซื่อตรง | th |
dc.date.accessioned | 2023-01-16T10:21:42Z | |
dc.date.available | 2023-01-16T10:21:42Z | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง "การพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย" มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะของผู้สูงอายุชาวไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยแรงจูงใจภายในของผู้สูงอายุชาวไทยในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยแรงจูงใจภายนอกของผู้สูงอายุชาวไทยในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาผ่านกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) กับผู้สูงอายุชาวไทยที่เดินทางมาทำกิจกรรมการเพื่อท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 37 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ศึกษาและเก็บข้อมูลในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะในประเทศไทย และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้สูงอายุชาวไทยผ่านกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ผู้สูงอายุชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 22 คน และเพศชายจำนวน 15 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ถูกสัมภาษณ์ทั้งหมดมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ระหว่าง 60-78 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาได้แก่ ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาโท และสุดท้ายปริญญาเอก ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส อาชีพส่วนใหญ่เป็นข้าราชการบำนาญ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท สำหรับผลการศึกษาพฤติกรรมการทำกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะของผู้สูงอายุชาวไทย พบว่า กิจกรรมเชิงสุขภาวะที่ผู้สูงอายนุชาวไทยส่วนใหญ่ชื่นชอบคือ การเดิน เพราะเป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ง่ายและแทบจะไม่มีอันตราย โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะเพื่อความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ความถี่ในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะส่วนใหญ่อยู่ที่ 5 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะส่วนใหญ่เป็นช่วงเย็น เวลา 16.00 - 21.00 น. ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะส่วนใหญ่อยู่ที่ 1-2 ชั่วโมง โดยผู้สูงอายุจะรับรู้ข้อมูลกิจกรรมเชิงสุขภาวะมาจากหลากหลายช่องทาง อาทิ เพื่อน โซเชียลมีเดีย ชมรมผู้สูงอายุ และแพทย์ เป็นต้น มีเพื่อนเป็นผู้ร่วมเดินทางหลักในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ ทั้งนี้ หากพิจารณาในด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่ำกว่า 500 บาทต่อครั้ง ผลการศึกษาปัจจัยแรงจูงใจภายในของผู้สูงอายุชาวไทยในการทำกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 มิติ ประกอบด้วย 1) มิติทางด้านร่างกาย พบว่า ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงมากขึ้น 2) มิติทางด้านสังคม พบว่า ทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านสุขภาพกับเพื่อนใหม่ 3) มิติทางด้านอารมณ์ พบว่า ผู้สูงอายุสามารถควบคุมอารมณ์และจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) มิติทางด้านสติปัญญา พบว่า ทำให้ผู้สูงอายุมีสมาธิที่ดีขึ้น มีความคิดใจจดใจจ่อต่อสิ่งที่กำลังทำอยู่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ และสุดท้าย 5) ด้านจิตวิญญาณ พบว่า ในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะนั้นส่งผลทำให้รู้จักปล่อยวางและสงบมากขึ้น ยอมรับความผิดหวังและการสูญเสียได้มากขึ้น สำหรับผลการศึกษาปัจจัยแรงจูงใจภายนอกของผู้สูงอายุชาวไทยในการทำกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1) สิ่งดึงดูดใจของกิจกรรมเชิงสุขภาวะ (Activities Attractiveness) พบว่า กิจกรรมเชิงสุขภาวะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายและจิตใจมีความแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ (Facilities) พบว่า ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงเรื่องสถานที่ทำกิจกรรมต้องมีความสะอาด กว้างกว้างขวาง ตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสมและสะดวกในการเข้าถึง รวมถึงมีอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมที่ได้มาตราฐาน มีร้านอาหาร เครื่องดื่ม ที่จอดรถ และสิ่งที่มีความจำเป็นและยังมีไม่เพียงพอ ประกอบไปด้วย โต๊ะและเก้าอี้สำหรับพักผ่อนของผู้สูงอายุ รวมไปถึงห้องสุขา 3) ด้านความปลอดภัยในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ (Activities Safety) พบว่า ผู้สูงอายุชาวไทยส่วนใหญ่มองว่าการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะมีความปลอดภัย เนื่องจากได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ในกิจกรรม รวมถึงมีโรงพยาบาลใกล้เคียงบริเวณที่ทำกิจกรรม แต่ก็มีบางส่วนมองว่าการทำกิจกรรมยังไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากยังไม่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่ในบริเวณที่ทำกิจกรรม และสุดท้าย 4) ด้านการให้บริการของสถานที่ทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ (Service Provider) พบว่า มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมและมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีเมื่อเจอปัญหาขณะทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ จากผลการศึกษาผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย โดยจะต้องมีการพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะโดยคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ปัจจัยแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอกของผู้สูงอายุชาวไทยในการทำกิจกรรมเชิงสุขภาวะ โดยการพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุชาวไทยจะเป็นประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ 1) หน่วยงานภาครัฐ 2) หน่วยงานภาคเอกชน และ 3) สถาบันการศึกษา เพื่อนำผลศึกษาวิจัยในครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะหรือการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นๆในอนาคตได้เช่นกัน | th |
dc.description.abstract | The research subject "Wellness Tourism Activities Development for Thai Elderly" consists of 4 objectives : 1) To study about Thai elderly behavior to participate in wellness tourism activities. 2) To analyze the internal motivation of Thai elderly to participate in wellness tourism activities. 3) To analyze the external motivation of Thai elderly to participate in wellness tourism activities. 4) To guidelines for wellness tourism activities development for Thai elderly. This study was conduct with qualitative apporach through the data collection process for qualitative research by using Semi-Structure In-depth Interview technique to collect data with Thai elderly to participate in wellness tourism activity. The sample were a case study totally 37 people and using Snowball sampling. The researcher determined the area for study and data collection in wellness tourism area in Thailand. Afterwards, perform data analysis by using content analysis techniques. The results of Thai elderly demographic characteristics through in-depth interview technique revealed that the majority of Thai elderly were female 22 samples and the remaining male 15 samples. The average age is between 60-78 years. Most graduated of bechelor's degree, followed by below bechelor's degree, master's degree, and doctoral's degree respectively. Most of the samples were married and retirement people. And the average monthly income in 20,001 - 30,000 Baht. The study results of Thai elderly behaviors on wellness tourism activities revealed that the wellness activities that most Thai elderly are interested in is walking because it is an activity that can be done easily and conveniently and has almost no danger at all. The main purpose of the wellness activities is to strengthen the body and mind by doing five or more times a week in the evening, 04.00-09.00 pm. and spend time doing that activities for about 1-2 hours by receiving information about wellness activities through various channels such as friends, social media, elderly association, and physician. Most of them travel to do wellness activities with friends. The amount of expenditure average per time is less than 500 baht. The study results of Thai elderly intrinsic motivation factors for wellness tourism activities can be devided into 4 dimensions: 1) Physical appearance found that wellness tourism activities resulted in Thai elderly have a healthy body and mind. 2) Social interaction found that the majority was to meet and talk with new friends, exchange experience and knowledge with each other. 3) Emotional well-being found wellness tourism activities allows Thai elderly to know how to control and management their emotions consistesncy and effectively. 4) Intellectual found that it make Thai elderly be focus on what are they doing, they can do consentrate better in their daily life, understanding other s better and being resonable. 5) Spiritual retreat discovered that it make Thai elderly more acquaintances, to see more about the truth of their life, and accepting disappointment and loss. The study results of Thai elderly extrinsic motivation factors for wellness tourism activities can be classified into 4 categories, including 1) Activities Attractiveness found that wellness tourism activities that makes both physically, mentally healthy and not easy to get sick. 2) Facilities discovered that refers to wellness tourism activities area have to be clean, spacious, located in a suitable area and easily accessible, there was standard equipment that are safe and not damage, food and beverage outlets, parking spaces, including tables and chairs as well as toilets. 3) Acitivities Safety found most of Thai elderly stated that wellness tourism activities were very safe because the guidance of instructors can prevent accidents and have hospital and health care center nearby area. However, some opinion thinks it's unsafe because there were not security officers around the activity area for preventing danger or accident while doing wellness tourism activities and the CCTV cameras are not installed. Finally, 4) Service Provider found that there were experienced experts to guide how to do the activities and there were staff who can solve problems immediately while doing wellness tourism activities. From the finding of this study could be analyzed and transformed to be guidelines for developing wellness tourism activities for Thai elderly. There must be concerns about wellness tourism activities development such as motivation construct, including intrinsic and extrinsic motivation factors of Thai elderly in wellness tourism activities. The result of this study will benefit to all relevant stakeholder are involved for wellness tourism activities including 1) Public sectors 2) Private sectors and 3) Educational Institutions can apply the results of this study as guidelines for developing wellness tourism activities or other forms of tourism in the future as well. | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.identifier.other | b214925 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6079 | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | Motivation | en |
dc.subject | การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ | en |
dc.subject | ปัจจัยแรงจูงใจ | en |
dc.subject | e-Thesis | en |
dc.subject | e-Thesis | th |
dc.title | การพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย | th |
dc.title.alternative | Wellness tourism activity development for thai elderly | th |
dc.type | text--thesis--master thesis | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.department | International College | th |
thesis.degree.discipline | Management | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.level | Masters | th |
thesis.degree.name | Doctor of Philosophy | th |