การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งระดับหมู่บ้าน : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายประเทศไทยเเละสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
176 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba185726
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สีสุลัน จันดา (2014). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งระดับหมู่บ้าน : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายประเทศไทยเเละสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3345.
Title
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งระดับหมู่บ้าน : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายประเทศไทยเเละสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Alternative Title(s)
Mediate civil disputes at the village level : a comparison between the laws of Thailand and the laws of Lao P.D.R.
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เป็นที่ยอมรับกันเเล้วว่า สมาชิกในสังคมทุกคนไม่ว่าของชาติใด ย่อมมีความปราถนาที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขปราศจากข้อพิพาทบาดหมาง ต่อสภาพสังคมมนุษย์ที่เต็มไปด้วยผู้คนซึ่งมีลักษณะนิสัยพฤติกรรมแตกต่างกัน เเละเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาวะทางเศรษฐกิจที่รัดตัว ความยากจน เเละสภาพแวดล้อมอื่นๆ ทำให้คนซึ่งมาอยู่ร่วมกันเกิดการกระทบกระทั่ง ชอบเอารัดเอาเปรียบจนกลายเป็นข้อพิพาทในที่สุด เเละเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นนอกจากจะสร้างความเดือนร้อนความไม่สงบสุขแก่คู่กรณี เเละสังคมในหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นๆเเล้ว ยังสร้างปัญหาภาระให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในภาคส่วนอื่นๆ ไม่ว่าประเทศไทยหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป. ลาว) ได้ประสบปัญหาของการนำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นส่วนมากไประงับในศาล มีคดีค้างเป็นจำนวนมาก ผลของคำตัดสินหรือคำพิพากษาออกมา คู่ความฝ่ายที่เสียประโยชน์มักจะไม่ยอมรับเเละยังสร้างความแค้นซึ่งกันเเละกันต่อไป ดังนั้น ประเทศไทยเเละ ส.ป.ป ลาว จึงได้เพิ่มวิธีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่สามารถยอมความได้ที่เคยมีมาเเล้วซึ่งเป็นการระงับข้อพิพาทโดยทางอื่นที่ไม่ใช่การพิจารณาตามปกติของศาล โดยเฉพาะกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้าน เเละการไกลเกลี่ยตาใมกฎประเพณีของชนเผ่าต่างๆ ที่มีกฎระเบียบเฉพาะที่สามารถนำมาใช้ในการไกลเกลี่ยเพื่อยังให้เกิดการประนีประนอมยอมความ
ดังนั้นรัฐบาลไทยเเละรัฐบาล ส.ป.ป ลาว ได้มีโครงการยุติธรรมชุมชน เเละโครงการประนอมข้อพิพาทระดับหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการเสนอเเนวทางนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาองค์กรประาชาชนระดับหมู่บ้านให้มีความสามารถในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้านระหว่างประชาชนหรือราษฎรภายในหมู่บ้านตนเองให้ยุติลง โดยไม่จำเป็นต้องไปผ่านกระบวนการศาล วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ศึกษาถึงกระบวนการว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งระดับหมู่บ้านโดยศึกษาเปรียบเทียบตามกฎหมายของประเทศไทยเเละ ส.ป.ป. ลาว ซึ่งในอดีตสังคมทั้งสองประเทศมีความยึดมั่นในจารีตประเพณี อยู่ร่วมกันอย่างสังคมเครือญาติ มีความผูกพันในสายเลือดเเละถิ่นกำเนิด พึ่งพาอาศัยซึ่งกันเเละกัน เมื่อมีปัญหาหรือข้อพิพาทก็ได้แก้ไขกันในลักษณะแบบครอบครัว โดยหันหน้าเข้ามาพุดจากันหรือมอบหมายให้บุคคลซึ่งเคารพนับถือทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท เเละข้อพิพาทนั้นได้ยุติเป็นที่น่าพอใจเเละยอมรับของทุกฝ่าย
ผลการศึกษาวิจัยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่า การนำเอากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้านทั้งสองประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคมเศรษฐกิจในสมัยใหม่นับว่าเป็นการถูกต้อง ตรงความประสงค์ของประชาชนไทยเเละประชาชนลาว ตรงกับวัฒนธรรมประเพณีของชาติไทยเเละชาติลาวโดยแท้ ถึงเเม้ว่าวิธีการบางขั้นตอน บางเรื่องของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้านจะไม่เหมือนกันอยู่บ้างในรายละเอียด เเต่โดยภาพรวมเเล้วการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้านทั้งสองประเทศนั้นมีวัตถุประสงค์ คือ เเนะนำ เจรจา ต่อรองคู่ความเพื่อระงับข้อพิพาท การไกล่เกลี่ยจะช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงประนีประนอมยอมความกันในข้อพิพาทนั้น โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นผู้กระตุ้น เเนะนำ โน้มน้าว เสนอเเนะ แปลความ หรือชี้เเนะเเนวทางที่จะเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทให้แก่คู่ความ การเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยคู่ความต้องสมัครใจการที่คู่ความจะตกลงหรือไม่นั้นเป็นการตัดสินใจของคู่ความ ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจตัดสินข้อพิพาทเหมือนดังผู้พิพากษาเวลาพิจารณาคดีเพราะฉะนั้นผลของการศึกษาวิจัยจากหลักกฎหมายทั้งสองประเทศเห็นว่ากฎหมายมีเจตนารมย์ให้คู่กรณีระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยข่้อพิพาทระดับหมู่บ้านเพื่อยังให้เกิดการประนีประนอมยอมความกันมากกว่าที่จะให้ศาลพิพากษาตัดสินให้ฝ่ายหนึ่งแพ้เเละอีกฝ่ายชนะ เพราะว่าการแก้ไขปัญหายังมีทางเลือกอืนที่มีเเต่ผู้ชนะไม่มีผู้แพ้ นั่นก็คือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือการก่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคมเเละเป็นการระงับข้อพิพาทที่ดีที่สุด ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจในข้อตกลง เป็นการระงับข้อพิพาทที่เเท้จริงทั้งหมด ทั้งในอดีต ปัจจุบัน เเละในอนาคต ดังนั้นการไกลเกลี่ยข้่อพิพาททางแพ่งระดับหมู่บ้านจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการไกล่เกลี่ยที่บรรลุสู่ความยุติข้อพิพาทลงได้่ตามกฎหมายว่าด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความทั้งสองประเทศ
ดังนั้นรัฐบาลไทยเเละรัฐบาล ส.ป.ป ลาว ได้มีโครงการยุติธรรมชุมชน เเละโครงการประนอมข้อพิพาทระดับหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการเสนอเเนวทางนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาองค์กรประาชาชนระดับหมู่บ้านให้มีความสามารถในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้านระหว่างประชาชนหรือราษฎรภายในหมู่บ้านตนเองให้ยุติลง โดยไม่จำเป็นต้องไปผ่านกระบวนการศาล วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ศึกษาถึงกระบวนการว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งระดับหมู่บ้านโดยศึกษาเปรียบเทียบตามกฎหมายของประเทศไทยเเละ ส.ป.ป. ลาว ซึ่งในอดีตสังคมทั้งสองประเทศมีความยึดมั่นในจารีตประเพณี อยู่ร่วมกันอย่างสังคมเครือญาติ มีความผูกพันในสายเลือดเเละถิ่นกำเนิด พึ่งพาอาศัยซึ่งกันเเละกัน เมื่อมีปัญหาหรือข้อพิพาทก็ได้แก้ไขกันในลักษณะแบบครอบครัว โดยหันหน้าเข้ามาพุดจากันหรือมอบหมายให้บุคคลซึ่งเคารพนับถือทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท เเละข้อพิพาทนั้นได้ยุติเป็นที่น่าพอใจเเละยอมรับของทุกฝ่าย
ผลการศึกษาวิจัยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่า การนำเอากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้านทั้งสองประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคมเศรษฐกิจในสมัยใหม่นับว่าเป็นการถูกต้อง ตรงความประสงค์ของประชาชนไทยเเละประชาชนลาว ตรงกับวัฒนธรรมประเพณีของชาติไทยเเละชาติลาวโดยแท้ ถึงเเม้ว่าวิธีการบางขั้นตอน บางเรื่องของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้านจะไม่เหมือนกันอยู่บ้างในรายละเอียด เเต่โดยภาพรวมเเล้วการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้านทั้งสองประเทศนั้นมีวัตถุประสงค์ คือ เเนะนำ เจรจา ต่อรองคู่ความเพื่อระงับข้อพิพาท การไกล่เกลี่ยจะช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงประนีประนอมยอมความกันในข้อพิพาทนั้น โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นผู้กระตุ้น เเนะนำ โน้มน้าว เสนอเเนะ แปลความ หรือชี้เเนะเเนวทางที่จะเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทให้แก่คู่ความ การเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยคู่ความต้องสมัครใจการที่คู่ความจะตกลงหรือไม่นั้นเป็นการตัดสินใจของคู่ความ ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจตัดสินข้อพิพาทเหมือนดังผู้พิพากษาเวลาพิจารณาคดีเพราะฉะนั้นผลของการศึกษาวิจัยจากหลักกฎหมายทั้งสองประเทศเห็นว่ากฎหมายมีเจตนารมย์ให้คู่กรณีระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยข่้อพิพาทระดับหมู่บ้านเพื่อยังให้เกิดการประนีประนอมยอมความกันมากกว่าที่จะให้ศาลพิพากษาตัดสินให้ฝ่ายหนึ่งแพ้เเละอีกฝ่ายชนะ เพราะว่าการแก้ไขปัญหายังมีทางเลือกอืนที่มีเเต่ผู้ชนะไม่มีผู้แพ้ นั่นก็คือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือการก่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคมเเละเป็นการระงับข้อพิพาทที่ดีที่สุด ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจในข้อตกลง เป็นการระงับข้อพิพาทที่เเท้จริงทั้งหมด ทั้งในอดีต ปัจจุบัน เเละในอนาคต ดังนั้นการไกลเกลี่ยข้่อพิพาททางแพ่งระดับหมู่บ้านจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการไกล่เกลี่ยที่บรรลุสู่ความยุติข้อพิพาทลงได้่ตามกฎหมายว่าด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความทั้งสองประเทศ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557