ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ กับประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
Publisher
Issued Date
2019
Issued Date (B.E.)
2562
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
128 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b208796
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ต่อสกุล พุทธพักตร์ (2019). ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ กับประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5085.
Title
ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ กับประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
Nepotism in patronage system and the effectiveness of local administrative organization : a case study of the local administrative organization in Muang District of Nakhon Ratchasima Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในประเด็น “ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ กับประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง
ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา” โดยมีวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้
เพื่อศึกษาลักษณะการเมืองท้องถิ่นที่มีระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ และศึกษาประสิทธิผลของการทำหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บนพื้นฐานของการเมืองท้องถิ่นที่มีระบบความสัมพันธ์ดังกล่าวรวมทั้งศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติกับประสิทธิผลของการทำหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
วิธีการศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการดำเนินการตามแนวทาง “การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)” โดยใช้การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และการศึกษาภาคสนามที่ได้ข้อมูลจากการสังเกต (observation) กิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่ และการสัมภาษณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จากข้าราชการภายนอกหน่วยงาน ผู้นำชุมชน และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview) กับกลุ่มนักการเมือง ผู้บริหาร บุคลากรภายในหน่วยงาน และนำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดประเภทของข้อมูล และนำเสนอในลักษณะของการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
จากการศึกษาพบว่า ลักษณะการเมืองท้องถิ่นที่มีระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติในพื้นที่กรณีศึกษา คือ ระบบการเมืองท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในกลุ่มครอบครัวและเครือญาติ
โดยสายเลือดของกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างคงทนถาวรและทำให้การเมืองท้องถิ่นมีโครงสร้างอำนาจในลักษณะทฤษฎีชนชั้นนำ อำนาจอันเกิดจากสิทธิอำนาจตามประเพณีดั้งเดิม ประกอบกับอำนาจจากบารมี นำสู่อำนาจในทางกฎหมาย อยู่ที่กลุ่มคนกลุ่มเดียวที่อยู่เหนือของยอดพีระมิดระบบการเมือง ภายใต้วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าและวัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นแบบปรึกษาหารือของคนในพื้นที่
ในด้านประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ใช้วิธีการประเมินประสิทธิผลด้วยวิธีวัดการแข่งขันของค่านิยม (The Competing - Values Approach) โดยองค์กรปกครองท้องถิ่นกรณีศึกษามีจุดเด่นอยู่ที่ความมีเสถียรภาพทางการเมือง จึงให้ความสำคัญกับค่านิยมในมิติของการควบคุม (Control) ซึ่งมุ่งเน้นเสถียรภาพขององค์กรเป็นค่านิยมสำคัญในการประเมินประสิทธิผลโดยมิติการควบคุม (Control) สามารถแยกเกณฑ์การประเมินได้อีก 2 ด้านสำคัญ คือ หนึ่ง ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) มีการควบคุมและรวมอำนาจ (2) ลักษณะงานที่เป็นกิจวัตรและเป็นทางการ (3) ความมีเสถียรภาพทั้งทางการบริหารและเสถียรภาพทางการเมือง และ (4) สามารถทำนายผลการปฏิบัติหน้าที่ได้ และสอง คือ ด้านเป้าหมายเชิงเหตุผล (Rational Goal) ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) เป็นองค์การที่มุ่งเน้นที่งาน (2) มีเป้าหมายชัดเจน (3) มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องการลดระยะเวลาการทำงาน และ (4) มีศักยภาพ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก
นอกจากนั้น ยังพบความเกี่ยวข้องของระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ กับประสิทธิผลของการทำหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องใน 2 ด้าน 6 ปัจจัย คือ หนึ่ง
ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) มีผลต่อการควบคุมและรวมอำนาจภายในองค์การ (2) มีโดยตรงต่อเสถียรภาพขององค์การ และ (3) เอื้ออำนวยต่อการทำนายผลการปฏิบัติงานขององค์การ และสอง ด้านเป้าหมายเชิงเหตุผล (Rational Goal) 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) ส่งเสริมให้องค์การมีแนวนโยบาย และเป้าหมายที่ชัดเจน (2) มีส่วนช่วยให้การทำหน้าที่มีประสิทธิภาพ และ (3) ช่วยเพิ่มศักยภาพขององค์การ
The research deliberated on “Nepotism in patronage system and the effectiveness of local administrative organizations by the case study of those are in Muang district of Nakhon Ratchasima province.” It aims to study on local politic under nepotism patronage system which replicates to the work effectiveness of the organizations. The approach implemented under the conformations of “Qualitative Research” with text studies and the “Observation” for data from political activities in the area and the interview. The interview was completed in 2 conducts which are from the “in-depth interview” from external government officers and community leaders and the “informal interview” with politicians, directors and internal government officers. Then, all minutes were authenticated, examined, analyzed, categorized and presented as a “descriptive research”. The study initiates that the politic lies under Nepotism in patronage system concur to the local politic system that transmits to patronage system of family and relatives through the descendants of those local politicians. This relation remains invariably and reproduces to create local politic system. This system includes the power structures under “Elite Regime” where the power was shaped from traditions composing with the influential power which also has led to the lawful power of this group whom considered as the top of political pyramid. This power grows under the subject political culture and local deliberative political culture. The effectiveness of those local administrative organizations was dignified with “The Competing – Values Approach” to be implemented to those organizations with political stability. Therefore, these organizations emphasize the control value which generates the organizational stability as an outcome. The aspect of controls are divided by “Internal Process” which are composed of 4 factors, including (1) control and centralization of power, (2) usual routine and official works, (3) political and administrative stability and (4) predicable work’s outcomes and “Rational Goals” which also comes with 4 factors including (1) work-based focus organization, (2) solid target, (3) Efficiency on working hours and (4) potential organization from external and internal factors. Furthermore, it was also found that the nepotism in patronage system and the local administrative organization’s effectiveness concludes as 2 measures with 6 factors. First is internal process which includes 3 factors of (1) the influences of power control and centralization, (2) organization’s stability and (3) the effortlessness of organization’s implementation. Second is the rational goal which embrace 3 factors of (1) create solid policy and objective, (2) create effective work and (3) increase organization’s proficiency.
The research deliberated on “Nepotism in patronage system and the effectiveness of local administrative organizations by the case study of those are in Muang district of Nakhon Ratchasima province.” It aims to study on local politic under nepotism patronage system which replicates to the work effectiveness of the organizations. The approach implemented under the conformations of “Qualitative Research” with text studies and the “Observation” for data from political activities in the area and the interview. The interview was completed in 2 conducts which are from the “in-depth interview” from external government officers and community leaders and the “informal interview” with politicians, directors and internal government officers. Then, all minutes were authenticated, examined, analyzed, categorized and presented as a “descriptive research”. The study initiates that the politic lies under Nepotism in patronage system concur to the local politic system that transmits to patronage system of family and relatives through the descendants of those local politicians. This relation remains invariably and reproduces to create local politic system. This system includes the power structures under “Elite Regime” where the power was shaped from traditions composing with the influential power which also has led to the lawful power of this group whom considered as the top of political pyramid. This power grows under the subject political culture and local deliberative political culture. The effectiveness of those local administrative organizations was dignified with “The Competing – Values Approach” to be implemented to those organizations with political stability. Therefore, these organizations emphasize the control value which generates the organizational stability as an outcome. The aspect of controls are divided by “Internal Process” which are composed of 4 factors, including (1) control and centralization of power, (2) usual routine and official works, (3) political and administrative stability and (4) predicable work’s outcomes and “Rational Goals” which also comes with 4 factors including (1) work-based focus organization, (2) solid target, (3) Efficiency on working hours and (4) potential organization from external and internal factors. Furthermore, it was also found that the nepotism in patronage system and the local administrative organization’s effectiveness concludes as 2 measures with 6 factors. First is internal process which includes 3 factors of (1) the influences of power control and centralization, (2) organization’s stability and (3) the effortlessness of organization’s implementation. Second is the rational goal which embrace 3 factors of (1) create solid policy and objective, (2) create effective work and (3) increase organization’s proficiency.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562