GSHRD: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 170
  • Thumbnail Image
    Item
    ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความสุขในการทำงานและความผูกพันของแพทย์ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
    ภัทรธีรา แก้วกันหา; บุษกร วัชรศรีโรจน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)
    การวิจยัครั้งนี้มีวตัถุประสงคเ์พื่อศึกษา 1) ระดับความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อ โรงพยาบาลของแพทย์สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มี ความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อโรงพยาบาลของแพทย์สังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อ โรงพยาบาลของแพทย์สังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีและ4) ปัจจัยเชิงลึกที่ทำให้แพทย์ ไม่มีความสุขและความผูกพันต่อโรงพยาบาล วิธีวิจัยใช้แบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจยัเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ประชากรเป็นแพทย์สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีจำนวน 124 คน ได้รับแบบสอบถาม ที่ตอบสมบูรณ์กลับคืน จำนวน 115คน คิดเป็นร้อยละ 92.74 การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้างเป็นแพทย์จำนวน 15 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณใช้สถิติค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสุขในการทำงานของแพทยอ์ยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยที่ 3.62และรายด้านอยู่ในระดับ สูงคือ ด้านสุขภาพดีด้านสุขภาพเงินดีด้านน้ำใจดีด้านจิตวิญญาณดี และด้านใฝ่รู้ดีอยู่ในระดับ ปานกลางคือ ด้านสังคมดีด้านครอบครัวดีด้านการงานดีและด้านผ่อน คลายดีตามลำดับ ความผูกพันต่อโรงพยาบาลอยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยที่ 2.93 และรายด้านอยู่ ในระดับปานกลางคือ ด้านบรรทัดฐาน ด้านจิตใจและด้านการคงอยู่ตามลำดับ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน คืออายุสถานภาพสมรส ตำแหน่ง สาขา/ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ระยะเวลาปฏิบัติงาน แต่ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อโรงพยาบาล 3) ความสุขในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กบัความผูกพันต่อโรงพยาบาล 4) ปัจจัย เชิงลึกที่ทำให้แพทยไ์ม่มีความสุขในการทา งานและความผูกพันต่อโรงพยาบาล คือภาระงานหนัก เมื่อเทียบกับรายได้หรือค่าตอบแทน มีทางเลือกที่ดีกว่า เบื่อหน่ายระบบราชการขาดความสมดุล ระหว่างชีวิตกับ งาน การประเมินผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนระดับ ไม่ผ่าน ปัญหาการทำงานเป็นทีม และการย้ายติดตามครอบครัวหรือกลับภูมิลำเนา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ 1) คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล องค์กรแพทย์และ ผู้เกี่ยวข้อง นำผลการวิเคราะห์ใช้เพื่อวางแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมความสุขและความผูกพันด้านที่ อยู่ในระดับต่ำ ปานกลาง ให้สูงมากขึ้น ด้านที่อยู่ในระดับ สูงควรรักษาสภาพและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 2) ส่งเสริมให้แพทย์มีบทบาททางการบริหารเพื่อสร้างความผูกพันต่อโรงพยาบาล 3) สร้างขวัญ กำลังใจและเชิดชูเกียรติแพทย์ที่มีผลงานเด่นทั้งด้านการรักษาและวิชาการ สำหรับนักวิจัยในอนาคตนั้นควรศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างแพทยใ์นแต่ละช่วงอายุ (Generation) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ตัวแปรความสุข ความผูกพัน ที่มีความเหมาะสมทันยุคสมัย และสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนนายเรือ
    ธวัลพร มะรินทร์; ดาวิษา ศรีธัญรัตน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนนายเรือทั้งปัจจัยส่วนตัวนักเรียนและปัจจัยทางการศึกษา เพื่อให้ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนนายเรือ ทั้งในด้านเกรดที่ศึกษาและด้านภาวะผู้นําโดยทั้ง 2 ด้านนี้มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อนักเรียนนายเรือ เนื่องจากเป็ นการพัฒนาและปูพื้นฐานให้นักเรียนนายเรือทุกนายมีความรู้ คู่คุณธรรม เพื่อเป็ นกองกาลังที่เข้มแข็งของประเทศชาติและพัฒนา ํประเทศต่อไป โดยการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนนายเรือ ในครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากนักเรียนนายเรือที่ศึกษาประจําปี การศึกษา 2558 ตั้งแต่ชั้นปี ที่ 2ถึงชั้นปี ที่ 5จํานวน 282 นาย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนายเรือด้านเกรดเฉลี่ย คือ เกรดเฉลี่ยสะสมจากโรงเรียนเตรียมทหาร แรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ในการเรียน และปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนายเรือด้านภาวะผู้นํา คือ เจตคติของการเรียน และแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ในการเรียนผลการศึกษาบ่งชี้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนายเรือได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านตัวนักเรียน ทั้งปัจจัยภายนอก (เกรดเฉลี่ยสะสมจากโรงเรียนเตรียมทหาร) และปัจจัยภายใน(เจตคติของการเรี ยน และแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์) แต่กลับพบว่าปัจจัยด้านการจัดการศึกษา(ประกอบด้วย เนื้อหาหลักสูตร ครูผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน และสิ่งอํานวยความสะดวก) ไม่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนายเรือ ด้วยเหตุนี้เองเพื่อส่งเสริมคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนนายเรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรส่งเสริมปัจจัยด้านตัวนักเรียนนายเรือเอง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนายเรือให้เป็ นทรัพยากรของกองทัพเรือที่เข้มแข็งและปกครองประเทศต่อไป คําสําคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาวะผู้นํา นักเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือ
  • Thumbnail Image
    Item
    การสร้างกรอบการประเมินและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนพลาธิการ กรมพลาธิการทหารเรือ
    สุจริต พลแก้ว; ดาวิษา ศรีธัญรัตน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุองค์ประกอบของกรอบการประเมินผล เพื่อพัฒนา คุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนพลาธิการ กรมพลาธิการทหารเรือที่ไม่เพียงมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ของการดำเนินการ แต่ยังมุ่งเน้นกระบวนการดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การนำเสนอกระบวนการประเมิน และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนพลาธิการ กรมพลาธิการทหารเรือ การวิจัยคร้ังนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ระเบียบวิธีวิจัยแบบเดลฟายเทคนิค เป็นวิธีที่ใช้เพื่อหาแนวทางหรือข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในสายการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยมีขั้นตอนในการสรุปถึงความคิดเห็นของกลุ่มผูเ้ชี่ยวชาญ (นพวรรษ การะเกตุ, 2552: 24) จำนวน 21 ท่าน ผลการศึกษาทำให้ทราบองค์ประกอบของกรอบการประเมินที่เหมาะสมกับบริบทความเป็นทหาร แบ่งได้ 4 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านผู้เรียน เช่น ผู้เรียนมีความสามารถตามหลักสูตร มีคุณลักษณะทางทหาร 2) ด้านคุณภาพครูเช่น ครูมีความรู้ความสามารถตรงตามคุณสมบัติ 3) หลักสูตรการเรียน เช่น กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 4) องค์ประกอบอื่นๆ เช่น การส่งเสริมสนับสนุนศิลปะวัฒนธรรม และประเพณีทางทหารข้อจำกัดในงานวจิยั คือ 1) งานวจิยนี้เลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง ทำให้การนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้างจึงเป็นไปอย่างมีข้อจำกัดและด้วยเป็นงานเชิงคุณภาพจึงไม่สามารถหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างตัวแปรได้ข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้คือโรงเรียนพลาธิการกรมพลาธิการทหารเรือควรให้ความสำคัญ ในการสร้างกรอบการประเมินและพัฒนาการเรียน การสอนนักเรียน เพื่อให้มีองค์ประกอบของกรอบการประเมินไปใช้พัฒนาได้ตรงความต้องการของโรงเรียนพลาธิการและกรมพลาธิการทหารเรืออย่างแท้จริง และสำหรับข้อเสนอแนะงานวิจัยในอนาคต เนื่องด้วยกรอบการประเมินในงานวิจัยนี้ถือเป็นการสร้างคร้ังแรกงานวิจยัต่อไปควรทำการพัฒนาต่อยอดกรอบการประเมินในด้านการทหารให้มากขึ้น รวมถึงควรมีเรื่องของค่านิยมหรือความเป็นทหารอาชีพอีกด้วย
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาแนวทางการจัดหางานให้คนไร้บ้านหน้าใหม่ในกรุงเทพมหานคร
    อณัสษร ฤกษ์อุดม; จุฑามาศ แก้วพิจิตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับไปมีงานทำของคนไร้บ้านหน้าใหม่ รวมถึงศึกษา วิเคราะห์ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะและจัดหางานให้คนไร้บ้านหน้าใหม่ในกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสารเพื่อออกแบบแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มที่คัดเลือกมาแบบเจาะจง ได้แก่ ตัวแทนจากอดีตคนไร้บ้านหน้าใหม่ ตัวแทนจากองค์กรภาครัฐ ตัวแทนจากองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และตัวแทนจากสถาบันการศึกษาหรือนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 17 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาถอดเทปคำต่อคำเพื่อวิเคราะห์แบบเนื้อหาสาระสำคัญ คัดเลือกข้อความหรือประโยคสำคัญมาสังเคราะห์เป็นแก่นสาระของเรื่องด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย แล้วจึงนับความถี่เพื่อหาร้อยละประกอบการสรุปผลการวิจัยเชิงพรรณนา จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการกลับไปมีงานทำของคนไร้บ้านหน้าใหม่ คือ ปัจจัยด้านครอบครัว ความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ ทัศนคติ และอายุ ในขณะที่ปัจจัยภายนอกคือปัจจัยด้านทัศนคติของคนรอบข้างหรือคนในสังคม ทุนหรือทำเลในการประกอบอาชีพ และการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนแนวทางการพัฒนาทักษะให้คนไร้บ้านแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ทักษะทางสังคม เช่น การออมเงิน การวางแผนการใช้ชีวิต การอาศัยหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งสามารถพัฒนาได้จากการอยู่อาศัยร่วมกับคนในที่พักหรือชุมชน ถัดมาคือทักษะที่ใช้ในการทำงาน พบว่าควรใช้วิธีการพัฒนาไปพร้อมกับการทำงานและควรเป็นการฝึกฝนในงานที่ทำแล้วได้ค่าตอบแทนทันที เพื่อนำไปต่อยอดการทำงานในวันต่อไป โดยส่วนใหญ่แล้วงานที่คนไร้บ้านหน้าใหม่ทำได้เลยหรือมีทักษะเดิมอยู่แล้ว ได้แก่ งานประกอบอาหาร งานค้าขาย งานทำความสะอาด งานรักษาความปลอดภัย และงานด้านการเกษตร อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกของการทำงานอาจจัดหาพี่เลี้ยงเพื่อให้คำปรึกษา ควบคุมคุณภาพงาน และแก้ปัญหาไปพร้อมกับคนไร้บ้าน สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะและจัดหางานให้คนไร้บ้านหน้าใหม่ในกรุงเทพมหานคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการลงพื้นที่สำรวจและสอบถามความต้องการคนไร้บ้าน โดยเฉพาะกลุ่มคนไร้บ้านหน้าใหม่ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไม่เกิน 1 ปี ซึ่งสามารถฟื้นฟูได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น ก่อนนำไปสู่การจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว การพัฒนาทักษะ การจัดหางาน และการติดตามสถานะหลังการทำงาน ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในแง่ของนโยบาย ทรัพยากร งบประมาณ การจัดหาที่พักราคาถูกหรือการนำอาคารทิ้งร้างมาใช้เป็นที่พักชั่วคราว รวมถึงการสร้างทัศนคติอันดีในประเด็นคนไร้บ้านเพื่อให้คนในสังคมเปิดโอกาสและยอมรับกลุ่มคนดังกล่าวมากขึ้น ประกอบกับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ธุรกิจเพื่อสังคม และองค์กรไม่แสวงผลกำไร ซึ่งอาจปรากฏในรูปแบบของการสนับสนุนด้านงาน ที่พัก อาหาร และทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อสนับสนุนกลุ่มคนไร้บ้านให้สามารถกลับไปมีงานทำและกลับสู่สังคมได้อย่างยั่งยืน
  • Thumbnail Image
    Item
    The Moderating Effect of Job Satisfaction on the Relationship between Innovative Leadership, Perceived Organizational Support, and Employees’ Innovative Work Behavior
    อรนลิน ลิ่วรุ่งโรจน์; วิชัย อุตสาหจิต (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความพึงพอใจในงานของพนักงานองค์การเอกชนด้านธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างแห่งหนึ่งของไทย 2) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน 3) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน 4) ศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจในงานที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน 5) ศึกษาการเป็นตัวแปรกำกับของความพึงพอใจในงาน ในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และ 6) ศึกษาการเป็นตัวแปรกำกับของความพึงพอใจในงาน ในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน การศึกษานี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงชั้น และทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพนักงานในองค์การเอกชนด้านธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างแห่งหนึ่งของไทย จำนวน 358 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการศึกษาพบว่าพนักงานในองค์การมีระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับสูงมาก รองลงมา คือ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับสูง 2) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) ความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรกำกับ ในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และ 6) ความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรกำกับ ในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาบทบาทและปัจจัยความสำเร็จของผู้บริหารภาครัฐในการดูแลรักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ
    สิริกัลยา เอนกอนันต์; จุฑามาศ แก้วพิจิตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารภาครัฐในการดูแล รักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดูแลรักษาและพัฒนา กำลังคนคุณภาพในกำกับกระทรวงการคลัง การศึกษาเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับต้น การเจ้าหน้าที่ และกำลังคนคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการ HIPPS ซึ่งเป็นข้าราชการจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมสรรพากรและ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รวมทั้งสิ้น 9 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างเฉพาะเจาะจง วิธีการเก็บ ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประมวลเอกสารทางวิชาการ และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ กึ่งโครงสร้าง โดยนำข้อมูลที่ได้รับจากข้อมูลทั้ง 2 ประเภท มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปประเด็น ผลการศึกษาพบว่าบทบาทของผู้บริหารภาครัฐในการดูแลรักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การปรับหลักคิด (Mindset) ให้เหมาะสมกับลักษณะของกำลังคนคุณภาพ 2) การแสดงบทบาทของผู้บริหารในด้านที่เกี่ยวกับการดูแล รักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ ได้แก่ การกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ การออกแบบกรอบสั่งสมประสบการณ์ การออกแบบลักษณะงาน การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการพัฒนา ระบบพี่เลี้ยง ผลการศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดูแลรักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ พบว่ามี 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านงานที่สร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม 2) ปัจจัยด้านนโยบาย และ 3) ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา