GSHRD: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 167
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาแนวทางการจัดหางานให้คนไร้บ้านหน้าใหม่ในกรุงเทพมหานคร
    อณัสษร ฤกษ์อุดม; จุฑามาศ แก้วพิจิตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับไปมีงานทำของคนไร้บ้านหน้าใหม่ รวมถึงศึกษา วิเคราะห์ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะและจัดหางานให้คนไร้บ้านหน้าใหม่ในกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสารเพื่อออกแบบแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มที่คัดเลือกมาแบบเจาะจง ได้แก่ ตัวแทนจากอดีตคนไร้บ้านหน้าใหม่ ตัวแทนจากองค์กรภาครัฐ ตัวแทนจากองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และตัวแทนจากสถาบันการศึกษาหรือนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 17 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาถอดเทปคำต่อคำเพื่อวิเคราะห์แบบเนื้อหาสาระสำคัญ คัดเลือกข้อความหรือประโยคสำคัญมาสังเคราะห์เป็นแก่นสาระของเรื่องด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย แล้วจึงนับความถี่เพื่อหาร้อยละประกอบการสรุปผลการวิจัยเชิงพรรณนา จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการกลับไปมีงานทำของคนไร้บ้านหน้าใหม่ คือ ปัจจัยด้านครอบครัว ความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ ทัศนคติ และอายุ ในขณะที่ปัจจัยภายนอกคือปัจจัยด้านทัศนคติของคนรอบข้างหรือคนในสังคม ทุนหรือทำเลในการประกอบอาชีพ และการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนแนวทางการพัฒนาทักษะให้คนไร้บ้านแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ทักษะทางสังคม เช่น การออมเงิน การวางแผนการใช้ชีวิต การอาศัยหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งสามารถพัฒนาได้จากการอยู่อาศัยร่วมกับคนในที่พักหรือชุมชน ถัดมาคือทักษะที่ใช้ในการทำงาน พบว่าควรใช้วิธีการพัฒนาไปพร้อมกับการทำงานและควรเป็นการฝึกฝนในงานที่ทำแล้วได้ค่าตอบแทนทันที เพื่อนำไปต่อยอดการทำงานในวันต่อไป โดยส่วนใหญ่แล้วงานที่คนไร้บ้านหน้าใหม่ทำได้เลยหรือมีทักษะเดิมอยู่แล้ว ได้แก่ งานประกอบอาหาร งานค้าขาย งานทำความสะอาด งานรักษาความปลอดภัย และงานด้านการเกษตร อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกของการทำงานอาจจัดหาพี่เลี้ยงเพื่อให้คำปรึกษา ควบคุมคุณภาพงาน และแก้ปัญหาไปพร้อมกับคนไร้บ้าน สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะและจัดหางานให้คนไร้บ้านหน้าใหม่ในกรุงเทพมหานคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการลงพื้นที่สำรวจและสอบถามความต้องการคนไร้บ้าน โดยเฉพาะกลุ่มคนไร้บ้านหน้าใหม่ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไม่เกิน 1 ปี ซึ่งสามารถฟื้นฟูได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น ก่อนนำไปสู่การจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว การพัฒนาทักษะ การจัดหางาน และการติดตามสถานะหลังการทำงาน ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในแง่ของนโยบาย ทรัพยากร งบประมาณ การจัดหาที่พักราคาถูกหรือการนำอาคารทิ้งร้างมาใช้เป็นที่พักชั่วคราว รวมถึงการสร้างทัศนคติอันดีในประเด็นคนไร้บ้านเพื่อให้คนในสังคมเปิดโอกาสและยอมรับกลุ่มคนดังกล่าวมากขึ้น ประกอบกับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ธุรกิจเพื่อสังคม และองค์กรไม่แสวงผลกำไร ซึ่งอาจปรากฏในรูปแบบของการสนับสนุนด้านงาน ที่พัก อาหาร และทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อสนับสนุนกลุ่มคนไร้บ้านให้สามารถกลับไปมีงานทำและกลับสู่สังคมได้อย่างยั่งยืน
  • Thumbnail Image
    Item
    The Moderating Effect of Job Satisfaction on the Relationship between Innovative Leadership, Perceived Organizational Support, and Employees’ Innovative Work Behavior
    อรนลิน ลิ่วรุ่งโรจน์; วิชัย อุตสาหจิต (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความพึงพอใจในงานของพนักงานองค์การเอกชนด้านธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างแห่งหนึ่งของไทย 2) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน 3) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน 4) ศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจในงานที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน 5) ศึกษาการเป็นตัวแปรกำกับของความพึงพอใจในงาน ในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และ 6) ศึกษาการเป็นตัวแปรกำกับของความพึงพอใจในงาน ในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน การศึกษานี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงชั้น และทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพนักงานในองค์การเอกชนด้านธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างแห่งหนึ่งของไทย จำนวน 358 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการศึกษาพบว่าพนักงานในองค์การมีระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับสูงมาก รองลงมา คือ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับสูง 2) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) ความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรกำกับ ในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และ 6) ความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรกำกับ ในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาบทบาทและปัจจัยความสำเร็จของผู้บริหารภาครัฐในการดูแลรักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ
    สิริกัลยา เอนกอนันต์; จุฑามาศ แก้วพิจิตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารภาครัฐในการดูแล รักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดูแลรักษาและพัฒนา กำลังคนคุณภาพในกำกับกระทรวงการคลัง การศึกษาเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับต้น การเจ้าหน้าที่ และกำลังคนคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการ HIPPS ซึ่งเป็นข้าราชการจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมสรรพากรและ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รวมทั้งสิ้น 9 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างเฉพาะเจาะจง วิธีการเก็บ ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประมวลเอกสารทางวิชาการ และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ กึ่งโครงสร้าง โดยนำข้อมูลที่ได้รับจากข้อมูลทั้ง 2 ประเภท มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปประเด็น ผลการศึกษาพบว่าบทบาทของผู้บริหารภาครัฐในการดูแลรักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การปรับหลักคิด (Mindset) ให้เหมาะสมกับลักษณะของกำลังคนคุณภาพ 2) การแสดงบทบาทของผู้บริหารในด้านที่เกี่ยวกับการดูแล รักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ ได้แก่ การกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ การออกแบบกรอบสั่งสมประสบการณ์ การออกแบบลักษณะงาน การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการพัฒนา ระบบพี่เลี้ยง ผลการศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดูแลรักษาและพัฒนากำลังคนคุณภาพ พบว่ามี 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านงานที่สร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม 2) ปัจจัยด้านนโยบาย และ 3) ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา
  • Thumbnail Image
    Item
    สมรรถนะของหัวหน้างานและผู้บริหารระดับกลางสายสนับสนุนที่จำเป็นต่อการพัฒนาหน่วยงานสู่มาตรฐานสากลตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
    ธนินท์รัฐ ประสารชัยมนตรี; ดาวิษา ศรีธัญรัตน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    การศึกษาคร้ังนี้มีจุดประสงค์มุ่งเน้นที่จะระบุสมรรถนะที่จำเป็นของหัวหน้างานและ ผู้บริหารระดับกลางสายสนับสนุนในสถาบันการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์โครงการนำเกณฑ์คุณภาพ การศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในจากวิถีปฏิบัติที่ เป็นเลิศ (Best Practices) ที่เป็นข้อได้เปรียบในการพัฒนาองค์การของตนเองในสถาบันการศึกษา ประเทศไทย การศึกษาแบ่งออกได้เป็น 3ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม โดยเก็บข้อมูลจากให้ผู้ข้อมูลจำนวน 17 ท่าน ตามเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ในระเบียบวิธี 2) การบูรณาการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 35 เรื่อง 3) ระเบียบวิธี แบบเดลฟายโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลจากทั้ง 2 ขั้นตอนก่อนหน้าในการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 ท่าน ผลการศึกษาพบพบชุดสมรรถนะในหมวดค่านิยมทั้งสิ้น 22 สมรรถนะ ดังต่อไปนี้ 1) เป็น ผู้ที่สามารถมองภาพรวมองค์การได้ และมีความสามารถในการเชื่อมโยง 2) มีวิสัยทัศน์และแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน 3) ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ 4) สามารถสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 5) เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน 6) รับฟังและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า 7) สามารถจูงใจ รักษาขวัญกำลังใจ บุคลากรในการทำงานให้เกิดความสุขและความผูกพันได้ 8) ความสามารถในการติดต่อและประสานงาน 9) ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำงานร่วมกัน 10 ) มีแผนการพัฒนาบุคลากร 11) ทักษะในการให้คำแนะนำและปรึกษา 12) เข้าใจในกระบวนการทำงานในสายงานของตน 13) สามารถบริหารจัดการเวลาได้ 14) สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มได้ด้วยตนเอง 15) เปิดรับเรียนรู้สิ่งใหม่16) มีความรู้ในการจัดการคุณภาพ 17) ทัศนคติบวกกับงานประกัน คุณภาพ หรือ Quality Assurance 18) สามารถรวบรวมข้อมูลและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ 19) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประเมิน และแปลผลข้อมูล 20) มีธรรมาภิบาล 21) มีจรรยาบรรณ วิชาชีพ 22) มีความรับผดิชอบต่อสิ่งที่ได้ดำเนินการ ภายหลังการสรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เพิ่มวิธีเปรียบเทียบสมรรถนะที่เป็นผลสรุปกับ สมรรถนะจากการศึกษาในหัวข้อการพัฒนาภาวะผู้นำในประเทศไทย (Leadership Development in Thailand) โดยใช้การศึกษาดังกล่าวเป็นตัวคัดกรองสมรรถนะเพื่อความเป็นเลิศเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งาน ผลพบชุดสมรรถนะทั้งสิ้น 4 สมรรถนะ ดังต่อไปนี้ 1) ทัศนคติบวกกับงานประกันคุณภาพ หรือ Quality Assurance 2) สามารถรวบรวมข้อมูลและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ 3) เป็ นผู้ที่สามารถมองภาพรวมองค์การได้ และมีความสามารถในการเชื่อมโยง 4) รับฟังและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ชุดสมรรถนะดงักล่าวที่เป็นผลการศึกษาในคร้ังนี้คาดว่าจะมีประโยชน์ในการช่วยผลักดัน องค์กรให้สามารถนำเกณฑ์ EdPEx มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์การอย่างเป็นรูปธรรม โดย ตระหนักถึงความสำคัญของสมรรถนะที่หัวหน้างานจำเป็นจะต้องฝึกฝนพัฒนาและผลการศึกษา จากงานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปแปลงเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกหรือแมก้ระทั่งนำไปสร้างเป็นรายการการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อกำหนดเงื่อนไขของบุคคลที่จะมอบหมายงานในการขับเคลื่อนองค์การตามแนวทางของเกณฑ์อีกด้วย
  • Thumbnail Image
    Item
    ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ความสุขในการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาในระดับสากลของ WASC
    ภาณุมาศ พิลาจันทร์; วิชัย อุตสาหจิต (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงความสุขในการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาในระดับสากลของ WASC ในด้านรูปแบบความสัมพนัธ์และอำนาจในการทำนายร่วมกัน โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ บุคลากรกลุ่ม Faculty และกลุ่ม Classified Staff โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา จำนวน 244คน การ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 แบบสอบถาม ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง แบบสอบถามความสุขในการทำงาน และ แบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาในระดับสากลของ WASC ผลการวิจยัพบว่า ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุขใน การทำงาน ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการทำงานตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาในระดับสากลของ WASC ความสุขในการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาในระดับสากลของ WASC และพฤติกรรม การทำงานตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาในระดับสากลของ WASC สามารถทำนายได้โดยภาวะ ผู้นำ แห่งการเปลี่ยนแปลงและความสุขในการทำงาน ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในคร้ังนี้คือโรงเรียนควรมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่การ จัดทำแผนการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียน การจัดหาช่องทางให้บุคลากรได้ ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การพัฒนาบุคลากร การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียน การให้ความสำคัญกับความสุขในการทำงานของพนกังาน และ ควรมีการพัฒนารูปแบบการศึกษาเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาองค์การตัวอย่างต่อไป
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาเปรียบเทียบการรับบทบาทในเกม MOBA กับรูปแบบภาวะผู้นำ
    ชยาภพ เหล่าภูมิแจ้ง; ดาวิษา ศรีธัญรัตน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การศึกษาเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการรับบทบาทในเกม MOBA กับรูปแบบภาวะผู้นำ ” เป็นการวจิยัเชิงทดลอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการเล่นเกม MOBA กับรูปแบบของภาวะผู้นำโดยมุ่งศึกษาผ่านกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เล่นเกม League of Legends ในระดับเลเวล30อายุระหว่าง 20 - 30 ปีและมีประสบการณ์ในการทำงานต้งัแต่2 ปีขึ้นไป ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 10 คน กลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน ดำเนินตามแผนการทดลองแบบวดัก่อนหลัง (Pretest –Posttest Design) โดยสิ่งทดลองที่กลุ่ม ทดลองที่ 1 ได้รับคือการให้เล่นเกมในบทบาทที่ตนเองไม่ถนัด และสิ่งทดลองที่กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับคือการไม่อนุญาตให้เล่นเกมประเภท MOBA ทุกเกม และกลุ่มควบคุม ให้เล่นเกมตามปกติ ใช้เวลาทดลองทั้งหมด 21 วัน ตัวแปรหลักที่มุ่งศึกษาคือ 1) บทบาทในเกม MOBA ประกอบด้วยฝ่ายสร้างความเสียหาย ฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายลอบโจมตี 2) รูปแบบภาวะผู้นำประกอบด้วยผู้นำแบบรวมอำนาจ ผู้นำแบบ ประชาธิปไตย และผู้นำแบบเสรีนิยม โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นข้อมูลส่วนบุคคลและส่วนที่สองเป็นแบบประเมินรูปแบบภาวะผู้นำสถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดย กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ .05 ผลการวจิยัพบว่า 1)การรับบทบาทให้เล่นในตำแหน่งฝ่ายสร้างความเสียหายส่งผลต่อภาวะ ผู้นำแบบรวมอำนาจ 2) การรับบทบาทให้เล่นในตำแหน่งฝ่ายสนับสนุนส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบ ประชาธิปไตย 3)การรับบทบาทให้เล่นในตำแหน่งฝ่ายลอบโจมตีไม่ส่งผลต่อภาวะผู้นำในทุก รูปแบบ 4)การงดให้เล่นเกมไม่มีผลต่อภาวะผู้นำในทุกรูปแบบ 5)ไม่มีบทบาทใดในเกมที่ส่งผลต่อ ภาวะผู้นำแบบเสรีนิยม ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจยัในคร้ังต่อไป 1) ควรเพิ่มความหลากหลายของลักษณะ ประชากรในการวจิยั เช่น การศึกษาในเพศหญิง 2)ควรทำวิจิยเชิงคุณภาพเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาปัจจัยอื่น ๆ หรือคำอธิบายเชิงลึกเพิ่มเติม 3)ควรเพิ่มการทดสอบเรื่องอาการติดเกม เข้าไปในแผนการทดลอง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมการทดลองจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจากการทดลอง โดยควร วัดทั้งก่อน ระหว่างและหลังจบการทดลอง