Browsing by Subject "บอร์ดเกม"
Now showing 1 - 2 of 2
- Results Per Page
- Sort Options
Item การพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองด้วยบอร์ดเกมผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการเรียนรู้ปราง เกียรติสูงส่ง; จุฑามาศ แก้วพิจิตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา และศึกษาการใช้กระบวนการเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างชายอายุ 17-20 ปีจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแผนการดำเนินงานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ กระบวนการวิจัยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ทักษะชีวิตของกลุ่มตัวอย่างเพื่อค้นหาว่าทักษะใดเป็นทักษะที่กลุ่มตัวอย่างมีน้อยที่สุด จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าทักษะด้านการตระหนักรู้ในตนเองและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นทักษะที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุด เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตต่ำ ขาดความกล้าตัดสินใจในเรื่องต่างๆ และมักจะลดทอนคุณค่าของตนเองให้ต่ำกว่าคนทั่วไป เมื่อได้องค์ประกอบหลักแล้วจึงดำเนินการตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อไปจนได้ตัวต้นแบบซึ่งเป็นบอร์ดเกมที่มีกลไกการเล่นไม่ซับซ้อนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะดังกล่าว ผลการทดสอบตัวต้นแบบพบว่าการเล่นบอร์ดเกมช่วยให้กลุ่มตัวอย่างตระหนักรู้ทักษะชีวิตเบื้องต้นได้ดี แต่การพัฒนาทักษะนั้นไม่สามารถอาศัยเพียงบอร์ดเกมอย่างเดียวได้ต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรู้อื่นๆ เข้ามาร่วมด้วยจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ดีข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรมีการศึกษาการใช้บอร์ดเกมร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบอื่นๆ และศึกษาทักษะชีวิตด้านการตระหนักในตนเองและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในศูนย์ฝึกและสถานพินิจต่างๆ ให้มากขึ้นItem เกมมิฟิเคชันเพื่อการรู้เท่าทันข่าวปลอมโดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบลลิดา วาระเพียง; บุหงา ชัยสุวรรณ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)การสื่อสารในปัจจุบัน ทุกคนสามารถเป็นทั้งผู้รับสาร ผู้ส่งสาร และแชร์สารได้ จึงยากที่ต่อการที่จะจัดการกับ “ข่าวปลอม” วิจัยเล่มนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมที่ช่วยพัฒนาความรู้เท่าทันข่าวปลอม พร้อมทั้งให้ความรู้ในด้านลักษณะของข่าวปลอม และวัดประสิทธิภาพของเกมผ่านการประเมินความพึงพอใจและความคิดเห็นหลังการเล่นเกม งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ และกระบวนการออกแบบบอร์ดเกม โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อข่าวปลอม ระยะที่ 2 การออกแบบรูปแบบ การสร้าง และการพัฒนาเกม และระยะที่ 3 การทดลองและศึกษาผลการใช้เกมเพื่อพัฒนาระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคคลทั่วไปที่สนใจในบอร์ดเกม ดำเนินการวิจัยโดยการสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวปลอมและเกมเพื่อการศึกษา จากนั้นพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย คือ เกมต้นแบบเพื่อการรู้เท่าทันข่าวปลอม และประเมินผลด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจและความคิดเห็นของผู้เล่น ผลวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการออกแบบบอร์ดเกมจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) การวิจัยและกำหนดเป้าหมาย (2) แนวคิดและธีมของเกม (3) กลไกที่ใช้ในเกม (4) แบบจำลองและผลตอบรับ (5) การทดสอบและปรับปรุง ผลการใช้เกมต้นแบบเพื่อการรู้เท่าทันข่าวปลอม พบว่า ในภาพรวมผู้เล่นมีความพึงพอใจในระดับมาก และสะท้อนให้เห็นว่าบอร์ดเกมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก บอร์ดเกมเพื่อการรู้เท่าทันข่าวปลอมมีจุดเด่นที่โทนสี ความสวยงามของเกมที่สามารถดึงดูดให้กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจ ด้านความคิดเห็นของผู้เล่นที่มีต่อบอร์ดเกม พบว่า บอร์ดเกมเพื่อการรู้เท่าทันข่าวปลอมมีส่วนช่วยเพิ่มความรู้ด้านข่าวปลอมมากขึ้น รวมถึงบอร์ดเกมเพื่อการรู้เท่าทันข่าวปลอมมีส่วนช่วยเพิ่มความรู้เท่าทันข่าวปลอมมากขึ้น