• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

by จินดาภา กลิ่นเมือง

Title:

แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Guidelines for tourism management a case study : cultural attraction Klong Bang Luang community Phasi Charoen Bangkok

Author(s):

จินดาภา กลิ่นเมือง

Advisor:

แสงแข บุญศิริ

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคนในชุมชน ที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และเพื่อนําเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ มีจํานวน 400 คนแบ่งเป็นประชากรในชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครจํานวน 250 คนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จํานวน 150 คนคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจํานวน 5 คน เพื่อสรุปเป็นแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองบางหลวงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในช่วงปริญญาตรี มีสถานะสมรส ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท 2) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวคลองบางหลวงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี มีระดับการศึกษาในช่วงปริญญาตรี สถานะสมรส ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีระดับรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร 3) ความคิดเห็นของคนในชุมชนที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบทางการท่องเที่ยวการจัดการด้านสิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวได้รับค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4) ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว การจัดการด้านสิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว ได้รับค่าเฉลี่ยมากที่สุด 5) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้อํานวยการเขตภาษีเจริญ ประธานชุมชนกําแพงทองพัฒนา ประธานชุมชนวัดคูหาสวรรค์ ผู้ประกอบการที่พักแรม และร้านขายสินค้าพบว่า 1) ควรปรับปรุงป้ายสื่อความหมาย ป้ายอธิบายข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว หรือป้ายบอกทางให้มีความทันสมัย เข้าใจง่าย และมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) ควรจัดทําแผนเชิงกลยุทธ์การท่องเที่ยวของชุมชนคลองบางหลวงประจําปี 3) ควรจัดทําคู่มือสําหรับนักท่องเที่ยวของชุมชนคลองบางหลวง 4) ควรมีการจัดเวทีสัมมนาเพื่อประชุม สรุป และทําการประเมินผลงานอย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงานด้านการท่องเที่ยว 5) ควรมีการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างสมํ่าเสมอ 6) ควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมงานในด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาดให้มีความชัดเจน 7) ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว และจัดรูปแบบการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น โดยมุ่งเน้นการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์และควรให้ความสําคัญกับปราชญ์ท้องถิ่นในการถ่ายทอดภูมิปัญหาสู่คนรุ่นหลัง 8) ควรทําแผนผังแสดงเส้นทางของการเดินทางท่องเที่ยวในชุมชนคลองบางหลวง ตามตรอก ซอกซอยต่างๆ 9) ควรสร้างจิตสํานึกและความรับผิดชอบต่อการรักษาวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม โดยที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวของชุมชนคลองบางหลวง 10) รักษาความสะอาดนํ้าในคลองบางหลวงและรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเรือนที่อยู่ริมสองฝั่งคลองบางหลวง

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

กรุงเทพ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

136 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3714
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b189633.pdf ( 5,221.94 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [129]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×