ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ดูแลคนพิการ
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
172 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b204589
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศุภพิชญ์ ศุขโกเมศ (2017). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ดูแลคนพิการ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4496.
Title
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ดูแลคนพิการ
Alternative Title(s)
Factors affecting the level of work engagement and organization engagement in working as people with disabilities caregiver
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่องาน 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การ และ 5) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 266 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 8 ตอน ประกอบด้วย แบบสอบคุณลักษณะทั่วไป, แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล, แบบสอบถามปัจจัยลักษณะงาน, แบบสอบถามปัจจัยประสบการณ์ในงานที่รับผิดชอบ, แบบสอบถามปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน, แบบสอบถามปัจจัยลักษณะองค์การ, แบบสอบถามความผูกพันต่องาน และแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่องาน 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การ และ 5) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 266 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 8 ตอน ประกอบด้วย แบบสอบคุณลักษณะทั่วไป, แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล, แบบสอบถามปัจจัยลักษณะงาน, แบบสอบถามปัจจัยประสบการณ์ในงานที่รับผิดชอบ, แบบสอบถามปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน, แบบสอบถามปัจจัยลักษณะองค์การ, แบบสอบถามความผูกพันต่องาน และแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันต่องานของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าองค์ประกอบพบว่าบุคลากรมีความผูกพันกับงานด้านความทุ่มเทอุทิศตัวสูงที่สุด รองลงมาคือความขยันขันแข็ง และความจดจ่ออยู่กับงานอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าองค์ประกอบด้านการกล่าวถึงองค์การในทางที่ดีมีระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านการช่วยเหลือสนับสนุนองค์การ และองค์ประกอบด้านการคงอยู่กับองค์การอยู่ในระดับปานกลาง 3) ความผูกพันต่องานโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การโดยรวมในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = .695) 4) ปัจจัยที่สามารถทำนายความผูกพันต่องาน ได้แก่ ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงานและปัจจัยประสบการณ์ในงานที่รับผิดชอบ ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่องานได้ร้อยละ43.5 และปัจจัยที่สามารถทำนายความผูกพันต่อองค์การ ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยลักษณะองค์การ ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 46.8
The research aimed to: 1.) study the level of work engagement 2.) study the level of organization engagement 3.) study the relations between work engagement and organization engagement 4.) study the factors affecting the level of work engagement and organization engagement, and 5.) make suggestions to enhance work engagement and organization engagement. The sample group was 266 disabilities caregivers in Bangkok Metropolitan Region. Data were collected by questionnaires including eight factors: general characteristics, personal characteristics, job characteristics, assignment experiences, work environment, organization characteristics, work engagement, and organization engagement. Statistical data analysis techniques consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, independent sample T-test, one- way ANOVA, Pearson’s correlation coefficient, and multiple regression analysis. The findings were found as follow. 1.) The overall level of work engagement was high. When considering individual element, dedication was higher than vigor. Absorption was at a moderate level. 2.) The level of organization engagement was generally high. When considering individual element, the Say element was found to be higher than the Strive. The Stay was at a moderate level. 3.) Work engagement yielded highly positive correlation with organization engagement at the 0.01 level of significance (r = .695) 4.) Factors that could predict work engagement included personal characteristic, work environment, and assignment experiences. The three factors could predict work engagement at 43.5 percent. In addition, factors that could predict organization engagement were work environment, personal characteristics, and organization characteristics. The three factors could predict organization engagement at 46.8 percent.
The research aimed to: 1.) study the level of work engagement 2.) study the level of organization engagement 3.) study the relations between work engagement and organization engagement 4.) study the factors affecting the level of work engagement and organization engagement, and 5.) make suggestions to enhance work engagement and organization engagement. The sample group was 266 disabilities caregivers in Bangkok Metropolitan Region. Data were collected by questionnaires including eight factors: general characteristics, personal characteristics, job characteristics, assignment experiences, work environment, organization characteristics, work engagement, and organization engagement. Statistical data analysis techniques consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, independent sample T-test, one- way ANOVA, Pearson’s correlation coefficient, and multiple regression analysis. The findings were found as follow. 1.) The overall level of work engagement was high. When considering individual element, dedication was higher than vigor. Absorption was at a moderate level. 2.) The level of organization engagement was generally high. When considering individual element, the Say element was found to be higher than the Strive. The Stay was at a moderate level. 3.) Work engagement yielded highly positive correlation with organization engagement at the 0.01 level of significance (r = .695) 4.) Factors that could predict work engagement included personal characteristic, work environment, and assignment experiences. The three factors could predict work engagement at 43.5 percent. In addition, factors that could predict organization engagement were work environment, personal characteristics, and organization characteristics. The three factors could predict organization engagement at 46.8 percent.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560