การประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกเพื่อพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำในชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านแม่คองซ้าย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
by ปริวัตร เปลี่ยนศิริ
Title: | การประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกเพื่อพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำในชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านแม่คองซ้าย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ |
Other title(s): | The application of appreciative inquiry for succession planning process development of the leaders in ethnic identity community : a case study of Ban Mae Kong Zai, Chiang Dao District, Chiang Mai Province |
Author(s): | ปริวัตร เปลี่ยนศิริ |
Advisor: | วาสิตา บุญสาธร, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ |
Degree department: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2012 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2012.34 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาชุมชนเพื่อประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกในการเสนอแผนพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นําที่พึงประสงค์ในชุมชนตนแบบอนุรักษ์ป่าที่มีอัตลกษณ์ทางชาติพันธุ์ “รางวัลลูกโลกสีเขียว” จากบริษัท ปตท. จํากดั (มหาชน) วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะผู้นําชุมชน ต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ 2) เพื่อศึกษาลักษณะผู้นําชุมชนที่พึง ประสงค์ในการอนุรักษ์ป่าของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ 3) เพื่อเสนอแผนพัฒนากระบวนการ สืบทอดตำแหน่งผู้นําที่พึงประสงค์ในชุมชนตนแบบอนุรักษ์ป่าที่มีอัตลกษณ์ทางชาติพันธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วม (PAR: Participatory Action Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography) ระยะเวลา 1 เดือน โดยใช้กรอบสุนทรียสาธก (AI : Appreciative Inquiry) เป็นแนวทางใน การพัฒนาองค์กรเชิงบวกและเสนอแผนสืบทอดตำแหน่งผู้นําชุมชน (Succession Planning) แบบมีส่วน ร่วมกับชุมชน ในบริบทของ “ภูมิสังคม” (Geo social) ชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ (Ethnic Identity Community) ศึกษาจากกลุ่มชาติพันธุ์ปกากะญอในชุมชนบ้านแม่คองซ้ายจำนวน 115 คน เลือกผู้มีส่วน ร่วมแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยวิธีการลูกโซ่ (Snowball Sampling) ได้ผู้มีส่วนร่วม 7 คน เครืองมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่1 ) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แผนพัฒนาองค์กร 3) แบบบันทึกภาคสนาม สร้างความความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Trustworthiness) ด้วยความเชื่อถือได้ (Credibility) จากการตรวจสอบสามเส้าด้านบุคคลผู้ให้ข้อมูล (Data Triangulation) ตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) วิเคราะห์ตีความแบบอุปนัย (Analytic Induction) ตรวจสอบความตรงของข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล (Member Checking) เพื่อยืนยัน ข้อสรุปของผู้วิจัยจากข้อมูลของชุมชนที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี (Confirmability) และส่ง มอบแผนให้ผู้รับผิดชอบไปปฏิบัติใช้จริงผลการศึกษา เสนอแผนด้วย 4 ขั้ นของการทํา AI (Appreciative Inquiry: 4D) คือ 1) Discovery พบว่ากิจกรรม “ทําแนวกันไฟได้ส่งผ่านเรื่องราวความสำเร็จของ ชุมชน ทําให้ทราบถึงลักษณะผู้นําชุมชนต้นแบบและลักษณะผู้นําชุมชนที่พึงประสงค์ในการ อนุรักษ์ป่าของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์พบแก่นแห่งความสำเร็จ (Positive Core) ว่าผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นําชุมชน (Successor) เป็นผู้มีคุณลักษณะส่วนบุคคลและคุณลักษณะในการทำงาน ที่พัฒนาขึ้นจากผู้ดํารงบทบาทเป็นนักประสาน หรือ ผู้เชื่อมโยง และปัจจัยบริบทของชุมชนที่สนับสนุนการพัฒนาภาวะผู้นําและชุมชนจนประสบความสำเร็ จประกอบด้วย 1) กาสื่อสารของ ชุมชน 2) อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และ 3) การเข้าร่วมกับเครือข่าย 2) Dreamโดยการพัฒนาทุกคนในชุมชนให้เป็นผู้ประสานด้วยการถามแบบสอนงาน (Coaching) และให้ชุมชนเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learning) เพื่อสร้างความตระหนักในการต้องทำการเปลี่ยนแปลง (Sense of Urgency) ให้เกิดกับชุมชน ด้วยการยกตัวอย่างงานวิจัยจากชุมชนที่ประสบ ความสำเร็จ (Research Case Study) แล้วให้ผู้นําชุมชนเป็นแกนนำหลักในการดำเนินการ ส่วนผู้วิจัย มีบทบาทเป็นผู้อํานวยความสะดวก (Facilitator) 3) Design จัดทาโครงการ 2C “Connector Community : ชุมชนนักประสาน ” ใช้ กลยุทธุ์ “Too See” ค้นหาผู้รู้ : ในชุมชน นอกชุมชน สู่ชุมชนนกประสาน มีเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร (Intervention Tools) คือการสร้างเครือข่าย (Networking) และการสื่อสาร (Communication) สอนด้วยการตั้งคำถามแบบสอนงาน (Coaching) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learning) เป็น การพัฒนาสมาชิกในชุมชนให้เป็นนักประสานที่ค้นหาผู้รู้เป็น มีประโยชน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืนนด้วยการลดการพึ่งพิงผู้นําเพียงคนเดียว มาเป็นการพึ่งพิงเครือข่ายของผู้ประสานในชุมชน 4) Destiny ส่งมอบโครงการให้ชุมชนดำเนินการด้วยการแต่งตั้งผู้มีจิตอาสาเป็นผู้ เชื่อมต่อของเครือข่าย “HUB” ได้ผู้มีจิตอาสา 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ซึ่งมีบทบาทในการ สื่อสารและสร้างเครือข่ายทั้งในชุมชนและนอกชุมชน หากผู้นําติดภารกิจให้ประสานขอความ ช่วยเหลือจาก HUB เป็นหลักผู้ประสานทุกคนสามารถพัฒนาตนเองด้วยการสร้างบรรยากาศของ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ 1) การจัดการและอนุรักษ์ป่าทั้งในและนอกชุมชน 2) การให้ข้อมูลชุมชนแก่ผู้มาศึกษาชุมชน 3) การศึกษาดูงาน 4) การเข้าร่วมกับ เครือข่าย 5) การสื่อสารความรู้แก่คนในชุมชนและนอกชุมชน ทั้งนั้นผู้ประสานทุกคนสามารถ พัฒนาตนเองเป็นทายาทผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นําชุมชน (Successor) และเป็นผู้นําที่พึงประสงค์ของชุมชนได้เป็นการพัฒนาภายใต้บริบท “ภูมิสังคม” อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชุมชนที่สามารถ ปฏิบัติได้จริง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012 |
Subject(s): | ผู้นำชุมชน -- ไทย -- เชียงใหม่ -- เชียงดาว -- ชุมชนบ้านแม่คองซ้าย
ภาวะผู้นำ |
Keyword(s): | ชุมชนบ้านแม่คองซ้าย (เชียงใหม่) |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 13, 259 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/623 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|