การให้และรับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด
Publisher
Issued Date
2011
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
13, 254 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อัญญา เปี่ยมประถม (2011). การให้และรับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/630.
Title
การให้และรับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด
Alternative Title(s)
Feedback giving and receiving impacting on employees performance : a case study of Siam Cement (Kaeng Khoi) Co, Ltd
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษา วิจัย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการให้ข้อมูลป้อนกลับในช่วงการ ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีระหว่างหัวหน้างานและพนักงาน ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย ) จำกัด 2) เพื่อศึกษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลป้อนกลับในช่วงการประเมินผลการ ปฏิบัติงานประจำปีที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน จากปัจจัยทำนาย ได้แก่ ปัจจัยส่วน บุคคล รูปแบบภาวะผู้นำของผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับ พฤติกรรมการจัดการข้อมูลป้อนกลับ ทัศนคติต่อ การให้และรับข้อมูลป้อนกลับ และประสิทธิภาพของข้อมูลป้อนกลับ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางใน การปฏิบัติแก่หัวหน้างานและพนักงาน เมื่อต้องให้และรับข้อมูลป้อนกลับ เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับ นั้นนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้างานและพนักงานของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จ ากัด ทั้งหมดจำนวน 370 คน โดยแบ่งเป็น หัวหน้างานจำนวน 38 คน และพนักงานจำนวน 332 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย T-test, One-Way ANOVA, Pearson Correlation Coefficients, Multiple Regression Analysis (Stepwise) ผลการศึกษาพบว่า (1) หัวหน้างานส่วนใหญ่ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่พนักงาน โดยข้อมูล ป้อนกลับที่ให้นั้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง และหัวหน้างานมีทัศนคติทางบวกต่อการ ให้ข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งทัศน คติต่อการให้ข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้างานมีความสัมพันธ์ในทิศทาง ด้วยกันกับประสิทธิภาพของข้อมูลป้อนกลับที่หัวหน้างานให้แก่พนักงาน โดยมีความสัมพันธ์อยู่ใน ระดับปานกลางและปัจจัยทัศนคติต่อการให้ข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้างานและรูปแบบภาวะผู้นำ แบบมุ่งความสำเร็จเป็นปัจจัยทำนายประสิทธิภาพของข้อมูลป้อนกลับ ส่วนพนักงานนั้นส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากหัวหน้างาน โดยประสิทธิภาพของข้อมูลป้อนกลับที่หัวหน้างานให้ตาม ความเห็นของพนักงานนั้นอยู่ในระดับปานกลาง และพนักงาน มีทัศนคติทางบวกต่อการรับ ข้อมูล ป้อนกลับ ซึ่งทัศนคติ ต่อการรับข้อมูลป้อนกลับของ พนักงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางด้วยกันกับ ประสิทธิภาพของข้อมูลป้อนกลับที่หัวหน้างานให้ ตามความเห็นของ พนักงาน พนักงานมี พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลป้อนกลับปานกลาง และมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงข้อมูลป้อนกลับ ต่างและปัจจัยทัศนคติต่อการรับข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้างานและพฤติกรรมการแสวงหา ข้อมูล ป้อนกลับเป็นปัจจัยทำนายประสิทธิภาพของข้อมูลป้อนกลับ (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานเรียงตามลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไป หาปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัย พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงข้อมูลป้อนกลับ ปัจจัย ประสิทธิภาพข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้างาน ปัจจัยทัศนคติต่อการให้ข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้า งาน ปัจจัยรูปแบบภาวะผู้นำแบบชี้นำและปัจจัยระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของพนักงาน ซึ่งพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานได้ ร้อยละ 18.3 (3) แนวทางการให้และรับข้อมูล ป้อนกลับที่ควรปฏิบัติ คือ หัวหน้างาน จะต้องมีความจริงใจ มุ่งมั่น ให้ความสำคัญและเอาใจใส่ใน กระบวนการให้ข้อมูลป้อนกลับ มีการเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการให้ข้อมูลป้อนกลับ ข้อมูล ป้อนกลับนั้นต้องถูกต้อง เป็นความจริง มีเหตุผลและสามารถนำไปปฏิบัติได้ พร้อมทั้งเปิดโอกาส ให้พนักงานได้ชี้แจงและให้ข้อเสนอแนะด้วย พนักงาน จะต้องเปิดใจรับข้อมูลป้อนกลับ ไม่ป้องกัน ตนเอง เห็นความสำคัญของข้อมูลป้อนกลับ และนำข้อมูลป้อนกลับเหล่านั้นไปปฏิบัติ พร้อมทั้ง แสวงหาข้อมูลป้อนกลับเป็นประจำด้วย ส่วนข้อมูลป้อนกลับที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมีความ เฉพาะเจาะจง มีตัวอย่างประกอบชัดเจน เน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและเป็นสิ่งที่พนักงาน สามารถปฏิบัติตามได้ ข้อเสนอแนะสำหรับองค์การ คือ องค์การควรจัดให้มีการให้ข้อมูลป้อนกลับในช่วงการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง องค์การควรจัดให้มีการฝึกอบรมหัวหน้างานใน หัวข้อการให้ข้อมูลป้อนกลับ การปรับทัศนคติของตนเองในการให้ข้อมูลป้อนกลับ และในส่วนของ พนักงานควรจัดอบรมเรื่องการแสดงออกถึงพฤติกรรมและทัศนคติต่อการรับข้อมูลป้อนกลับ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010