การวิเคราะห์ความจำเป็นและการสร้างกรอบหลักสูตรฝึกอบรมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Publisher
Issued Date
2005
Issued Date (B.E.)
2548
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
252 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b150088
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จิตติมา บุญวิทยา, 2514- (2005). การวิเคราะห์ความจำเป็นและการสร้างกรอบหลักสูตรฝึกอบรมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/693.
Title
การวิเคราะห์ความจำเป็นและการสร้างกรอบหลักสูตรฝึกอบรมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Alternative Title(s)
Analysis of training needs and curriculum design for the Office of the National Counter Corruption Commission
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์ความจำเป็นและการสร้างกรอบหลักสูตรฝึกอบรมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์
ความจำเป็นในการฝึกอบรม และการสร้างกรอบหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับสำนักงาน ป.ป.ป.ช. ใน 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือกลุ่มเจ้าพนักงาน ป.ป.ช สายงานหลัก ได้แก่ สายปราบปรามการทุจริต สายตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน และสายป้องกันการทุจริต และกลุ่มที่สอง คือกลุ่มผู้บริหารระดับสูง
ได้แก่ รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ และผู้อำนวยการสำนักต่าง ๆ ในสำนักงาน ป.ป.ช.
รูปแบบการวิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. 3 คน รองเลขาฯ และผู้ช่วยเลขาฯ ผู้อำนวยการสำนักฯ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอนุกรรมการ ป.ป.ช. เจ้าพนักงาน ป.ป.ช. ระดับ 7-8 เจ้าหน้าที่ฝ่ายกองการเจ้าหน้าที่ และผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องของสำนักงาน ป.ป.ช. รวม 55 คน
ผลการศึกษาพบว่า
1. การระบุความจำเป็นในการฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน ป.ป.ป.ช. จะแบ่งออกเป็นความจำเป็นในการฝึกอบรมที่เร่งด่วนและที่ไม่เร่งด่วน สรุปความจำเป็นในการฝึกอบรม สำหรับของสำนักงาน ป.ป.ช. เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1.1 ความจำเป็นในการฝึกอบรมสำหรับเจ้าพนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งได้แก่ 1) ความจำเป็นในการฝึกอบรมระดับพื้นฐานสำหรับเจ้าพนักงาน ป.ป.ช. ที่บรจุใหม่ 2) ความจำเป็นใน
การฝึกอบรมในแต่ละสายงานหลักสำหรับเจ้าพนักงาน ป.ป.ช. ระดับ 3-8 และ 3) ความจำเป็นในการฝึกอบรมสำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน (ระดับ /-8) ของสำนักงาน ป.ป.ช.
1.2 ความจำเป็นในการฝึกอบรมสำหรับผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ 1) ความจำเป็นในการฝึกอบรมผู้อำนวยการสำนักฯ และ 2) ความจำเป็นในการฝึกอบรมผู้บริหารระดับรองเลขาฯ ผู้ช่วยเลขาฯ ของสำนักงาน ป.ป.ป.ช.
2. กรอบหลักสูตรฝึกอบรมของสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งระบุเกี่ยวกับกลุ่มหลักสูตร วิชาวัตถุประสงค์ กลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรม ประเด็น/หัวข้อการฝึกอบรม และระยะเวลาฝึกอบรม โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักสูตรคือ หลักสูตรปฐมนิเทศน์เจ้าพนักงาน ป.ป.ช. ที่บรรจุใหม่ หลักสูตรพัฒนาสายงานหลัก หลักสูตรพัฒนาสายงานบริหารและหลักสูตรทันกระแส/หลักสูตรเฉพาะกิจ
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยนี้มีหลายประการ คือ
1. ผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. ควรมีวิสัยทัศน์และให้ความสำคัญกับการพัฒนาเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ให้มากขึ้น
2. การจัดตั้งหน่วยฝึกอบรมขึ้นมาดำเนินงานฝึกอบรมขึ้นมาอย่างชัดเจน
3. การพัฒนาผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรม ให้มีความสามารถจัดฝึกอบรมอย่างมืออาชีพ
4. การให้ผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรมควรมีบทบาทในฐานะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมด้วย
5. การกำหนดเป้าหมายและแนนวทางจัดฝึกอบรม ควรมีทิศทางการพัฒนาบนฐานการเพิ่มความชำนาญและเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานสายอาชีพ และบนฐานการพัฒนาความใช้เทคโนโลยีในงานต่อต้านการทุจริตควบคู่กัน
6. การแสวงหาและสร้างความร่วมมือในการจัดฝึกอบรมร่วมกับหน่วยงานภายนอก
7. การพัฒนาระบบแผนงานการพัฒณาบุคลากรด้านต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยงกัน ทั้งการฝึกอบรม การเตรียมคนเข้าประจำการ การกำหนดมาตรฐานตำแหน่งงานและหน้าที่ในงาน การ
ประเมินผลการปฏิบัติงาน การวางแผนอาชีพในอนาคต และการให้ค่าตอบแทน
8. การพัฒนาให้หัวหน้ากลุ่มงานหรือเจ้าพนักงาน ป.ป.ช. ระดับ 7-8 ที่เชี่ยวชาญ ให้มีส่วนพัฒนาหรือฝึกอบรมทีมงานหรือรุ่นน้องผ่านการทำงาน
9. การสำรวจความคาดหวังและละความต้องการของกลุ่มผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องของสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อจัดฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความคาดหวังและความต้องการของกลุ่มผู้มี
ผลประโยชน์เกี่ยวข้องและความต้องการของสำนักงาน ป.ป.ช. ควบคู่กัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2548