การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมของนักวิชาการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Publisher
Issued Date
2003
Issued Date (B.E.)
2546
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
142 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b125290
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วันวิสาข์ สุวิกรม (2003). การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมของนักวิชาการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/700.
Title
การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมของนักวิชาการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Alternative Title(s)
Need analysis of educational specialist of National Institute of Development Administration
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง "การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมของนักวิชาการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์" มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ 1) ศึกษาสภาพความเป็นจริงของการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ 2) ค้นหาลักษณะที่เหมาะสมของหลักสูตรการฝึกอบรมให้แก่นักวิชาการศึกษาที่เป็นที่ต้องการของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักวิชาการศึกษาของสถาบัน ผู้บังคับบัญชาของนักวิชาการศึกษา และบุคคลทั่วไปที่เคยใช้บริการของนักวิชาการศึกษา ทำการเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์รายบุคคล
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพความเป็นจริงของการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษา ปัญหาของนักวิชาการศึกษาที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรม คือ ปัญหาในการติดต่อ
ประสานงานกับอาจารย์ นักวิชาการศึกษาไม่แม่นยำกฎระเบียบ ข้อบังคับ ขาดทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการ ขาดความสามารถในการร่างหนังสือทางราชการ การเขียนรายงาน ควรมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สนับสนุนการทำงาน ควรสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการฟังและพูด เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงการทำงานและบริการ ควรมีความสามารถในการติดตามผล วิเคราะห์ปัญหา วางแผนและปรับปรุงระบบงาน และนักวิชาการศึกษาต้องทำประกันคุณภาพการศึกษา 2) หลักสูตรฝึกอบรมที่เหมาะสมกับนักวิชาการศึกษา มีทั้งหมด 11 หลักสูตร
(1) หลักสูตรนักวิชาการศึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่นักวิชาการศึกษา
(2) หลักสูตรการพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับนักวิชาการศึกษา
(3) หลักสูตรปฏิสัมพันธ์และการประชาสัมพันธ์สำหรับนักวิชาการศึกษา
(4) หลักสูตรเทคนิคการเขียนหนังสือทางราชการ
(5) หลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิชาการศึกษา 1
(6) หลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิชาการศึกษา 2
(7) หลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิชาการศึกษา 3
(8) หลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับนักวิชาการศึกษา
(9) หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยสำหรับนักวิชาการศึกษา
(10) หลักสูตรกลยุทธ์การทำงานและการวางแผนโครงการ
(11) หลักสูตรการทำประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับนักวิชาการศึกษา
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ 1) ควรมีการศึกษาความจำเป็นในการฝึกอบรมอีก ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อทำให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและสามารถตอบสนองปัญหาความต้องการของนักวิชาการศึกษาได้เป็นอย่างดี 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดฝึกอบรมตามประเด็นความเร่งด่วน
เพื่อให้การทำงานของนักวิชาการศึกษา ได้รับการพัฒนาและสามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ผู้บังคับบัญชาของนักวิชาการศึกษาควรมีการทำความเข้าใจใจในงานของนักวิชาการศึกษา 4) สำนักฝึกอบรม มีความสามารถในการจัดการฝึกอบรมได้แทบทุกหลักสูตรที่สถาบัน
ต้องการ ส่งผลให้ประหยัดเวลา คำใช้จ่าย มีความสะดวกสบาย และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไปคือ 1) ควรมีการวิเคราะห์ความจำเป็นของหน่วยงานจากผู้ผ่านการอบรมว่าประสบปัญหาอื่นใดอีกบ้าง เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และ 2) ควรมีการศึกษาความจำเป็นในการฝึกอบรมของบุคลากรในหน่วยงานอื่นๆ ของสถาบันฯ เพราะจะทำให้ทราบถึงแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของแต่ละหน่วยงานในสถาบันฯ ทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2546