ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายแก้ไขแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี
Publisher
Issued Date
2002
Issued Date (B.E.)
2545
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
200 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b124637
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิรุณศิริ อารยวงศ์ (2002). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายแก้ไขแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/711.
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายแก้ไขแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี
Alternative Title(s)
Factors influencing successful implementation of policy on illegal migrant labour in Ratburi Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายแก้ไขแรงงานต่างด้าว ไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการคือ (1) ปัจจัยทางด้านภาครัฐที่มีผลต่อการนำนโยบายแก้ไขแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ (2) ปัจจัยทางด้านประชาชนที่มีผลต่อการนำนโยบายแก้ไขแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ และ (3) ปัจจัยทางด้านสถานประกอบการที่มีผลต่อการนำนโยบายแก้ไขแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ โดยพิจารณาการบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายด้านการมีงานทำของแรงงานไทยที่เกี่ยวกับปัจจัยในแต่ละระดับ ดังนี้ (1) ระดับการบรรจุ
แรงงานไทยทดแทนแรงงานต่างด้าว ในปัจจัยทางด้านภาครัฐ (2) ความพึงพอใจใจในโครงการแก้ไขแรงงานต่างด้าว สำหรับปัจจัยทางด้านประชาชน และ (3) อัตราการใช้แรงงานไทยทดแทนแรงงานต่างด้าว ในส่วนของปัจจัยทางด้านสถานประกอบการ
ทั้งนี้ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติของฝ่ายแรงงานและฝ่ายป้องกันและปราบปราม การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามจากประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการแก้ไขแรงงานต่างด้าว จำนวน 262 คน กลุ่มแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ 127 คน ตลอดจนเจ้าของสถานประกอบการหรือนายจ้าง รวมทั้งสิ้น 52 คน
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติทางด้านภาครัฐมีการบรรจุแรงงานไทยทดแทนแรงงานต่างด้าวได้น้อยไม่เป็นไปดามเป้าหมายที่ได้วางไว้ เนื่องจากแนวทางปฏิบัติตามนโยบายมีความเป็นไปได้ต่ำในการแก้ไขแรงงานต่างด้าว และเจ้าหน้าที่ขาดการยอมรับนโยบายที่รัฐกำหนดไว้ว่าคุ้มค่า มีประโยชน์สามารถปฏิบัติได้จริง อย่างไรก็ดีในส่วนของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในโครงการค่อนข้างสูง โดย
มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 6.8 และ 7.1 จากคะแนนเต็ม 10 ตามลำดับ แม้รัฐบาลไทยจะมีมาตรการแก้ไขแรงงานต่างด้าว โดยการผลักดันแรงงานด่างด้าวออกนอกราชอาณาจักรก็ตาม
แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ยังคง ยืนยันว่าจะไม่กลับประเทศภูมิลำเนา โดยจะหางานอื่นทำใน
ประเทศไทย ทางด้านสถานประกอบการเมื่อรัฐบาลมีมาตรการแก้ไขแรงงานต่างด้าว โดยให้ใช้
แรงงานไทย สถานประกอบการหรือนายจ้างส่วนใหญ่มิได้ดำเนินการใช้แรงงงานไทยตามนโยบาย
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากภาครัฐ ประชาชนและสถานประกอบการ จำนวน 9 ประเด็น คือ (1) นโยบาย (2) เจ้าหน้าที่ภาครัฐ (3) แรงงานไทย (4) สถานประกอบการหรือนายจ้าง (5) อิทธิพลทางการเมือง (6) ระบบการควบคุมการเข้าเมืองไม่ดี (7) การประชาสัมพันธ์ (8) การสนับสนุนภาครัฐ และการไม่สนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ และ (9) ระบบข้อมูลข่าวสาร
นอกจากนั้น พบว่า ปัจจัยทางด้านนภาครัฐในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้าน (1) แนวทางการปฏิบัติตามนโยบาย (2) การยอมรับนโยบายของผู้ปฏิบัติ และ (3) ความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรม มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลกับการมีงานทำของแรงงานไทย ในระดับการบรรจุแรงงานไทยทดแทนแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นผลสำเร็จของโครงการ โดย
การยอมรับนโยบายของผู้ปฏิบัติ จะส่งผลทางตรง นอกนั้นจะส่งผลในทางอ้อม โดยมีการสนับสนุนจากรัฐบาลและตัวการสำคัญ เป็นปัจจัยหนุนที่มีผลต่อแนวทางปฏิบัติตามนโยบายและความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมอันส่งผลต่อระดับการบรรจุแรงงานไทยทดแทนแรงงานต่างด้าว
เมื่อพิจารณาด้านประชาชน พบว่า ประชาชนคิดเห็นต่อแรงงานต่างด้าวในประเทศว่าการจับแรงงานต่างด้าวราคาถูกทำให้ไม่พัฒนาฝีมือคนไทย และต้องการให้แรงงานต่างด้าวออกไปให้หมด เพื่อต้องการเข้าทำงานทดแทนแรงงานต่างด้าว ยังผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในโครงการ กลุ่มผู้ไม่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีความคิดเห็นว่าการจ้างแรงงาน
ต่างด้าวราคาถูกทำให้ไม่พัฒนาฝีมือคนไทย และแรงงานต่างด้าวเป็นพาหะโรคระบาด ทำให้รัฐ
สูญเสียค่ารักษาพยาบาล และมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
เมื่อรับรู้ว่ามีโครงการแก้ไขแรงงานด่างด้าว จึงทำให้เกิดความพึงพอใจใจโครงการ ในด้านสถานประกอบการ พบว่า ความต้องการใช้แรงงานไทยและการปรับสภาพการจ้างงาน มีผลทางตรงต่ออัตราการใช้แรงงานไทยทดแทนแรงงานต่างด้าว
มาตรการแก้ไขแรงงานต่างด้าว เมื่อพิจารณาถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและเศรษฐกิจแล้วควรค่าแก่การนำไปปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ด้วยการปรับปรุงแก้ไขแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขแรงงานต่างด้าว
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2545