การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน : การนำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ
Publisher
Issued Date
2000
Issued Date (B.E.)
2543
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
223 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b104862
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ขจิตขวัญ กิจวิสาละ (2000). การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน : การนำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/714.
Title
การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน : การนำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ
Alternative Title(s)
The evaluation of Village Welfare Assistance center : the policy implementation process
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง "การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน: การนำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ" มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล และความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการดำเนินงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
ในด้านระเบียบวิธีนั้นประกอบด้วยระเบียบวิธีเชิงปริมาณ และระเบียบวิธีเชิงคุณภาพซึ่งถูกใช้ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
ผลจากการศึกษาพบว่า (1) ความรู้ความเข้าใจของคณะกรรมการศูนย์ฯ เกี่ยวกับศูนย์ฯ (2) ทัศนคติของคณะกรรมการศูนย์ฯ ต่อลักษณะของหน่วยปฏิบัติ และ (3) ทัศนคติของ
คณะกรรมการศูนย์ฯ ต่อเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคม และการเมือง เป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความเข้มแข็งของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ขณะที่ (4) ความเพียงพอของทรัพยากรและ (5) ทัศนคติของคณะกรรมการศูนย์ฯ ต่อกิจกรรมเพื่อให้การบังคับใช้มีผลเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบ
ต่อความเข้มแข็งของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
ในส่วนของการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านพบว่าการได้รับบริการจากศูนย์ฯ เป็นปัจจัยซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ ในขณะที่รายได้ครัวเรือน สถานภาพการดำรงตำแหน่งในชุมชน ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับศูนย์ฯ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานของศูนย์ฯ เป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยอ้อมต่อ
ความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านนั้น เกิดขึ้นทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คณะกรรมการศูนย์ฯ และประชาชน โดยปัญหาซึ่งเกิดขึ้นในระดับเจ้าหน้าที่ ได้แก่ การขาดการสนับสนุนและการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และการขาดแคลนบุคลากรในระดับพื้นที่ ในระดับคณะกรรมการศูนย์ฯ ได้แก่ การที่คณะกรรมการศูนย์ฯ หวังพึ่งพิงความช่วยเหลือจากรัฐมากเกินไป การขาดความรู้ ความเข้าใจอย่างพอเพียง การ
ขาดประสบการณ์ในการดำเนินงานในลักษณะขององค์กรประชาชน และการขาดผู้นำที่มีความเสียสละและสนใจในการดำเนินงานของศูนย์ฯ อย่างจริงจัง และปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับของประชาชน ได้แก่ การที่ประชาชนไม่รู้จักศูนย์ฯ และหวังพึ่งพิงความช่วยเหลือจากรัฐในลักษณะให้เปล่า
มากกว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์ฯ
เพื่อพัฒนาศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นควรมีการปรับปรุงการดำเนินงานของศูนย์ฯ ดังต่อไปนี้ (1) ควรมีการศึกษาชุมชนเสียก่อนเพื่อทราบความต้องการและแนวทางแก้ไขของชุมชนที่แท้จริง โดยอาศัยรากฐาน ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของชาวบ้าน (2) การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ควรกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (3) การส่งเสริมการดำเนินงานของศูนย์ ควรให้ความสำคัญในด้านการบริหารจัดการ (4) ควรให้
องค์กรบริหารส่วนตำบลเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมงานสวัสดิการสังคมแก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน (5) การส่งเสริมการดำเนินงานของศูนย์ฯ ควรเน้นหลักการพัฒนาคนสู่การพัฒนางาน และ (6) ควรส่งเสริมให้ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านเป็นที่รู้จักของประชาชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2543