ความขัดแย้งในบทบาทและความคลุมเครือในบทบาทที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาบุคลากรฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่

dc.contributor.advisorปริญญ์ ปราชญานุพร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorศุภนันทา โมคกุลth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:11:59Z
dc.date.available2014-05-05T09:11:59Z
dc.date.issued1997th
dc.date.issuedBE2540th
dc.descriptionMethodology: ANOVA, T test, Chi square test, Pearson R Correlationth
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องความขัดแย้งในบทบาทและความคลุมเครือในบทบาท ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาบุคลากรฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความขัดแย้งในบทบาท ความคลุมเครือในบทบาทและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน (2) ความขัดแย้งในบทบาท ความคลุมเครือในบทบาท ตัวแปรด้านภูมิหลัง (เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งงาน) แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันหรือไม่ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความขัดแย้งในบทบาท ความคลุมเครือในบทบาท ตัวแปรด้านภูมิหลังกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน / การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษากลุ่มประชากรทั้งหมดในทุกส่วนงานของบุคคลากรฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ จำนวน 175 คน โดยใช้แบบสอบถามแยกเป็น 3 ชุด คือ (1) แบบสอบถามเรื่องตัวแปรด้านภูมิหลัง (2) แบบวัดเรื่องความขัดแย้งในบทบาทและความคลุมเครือในบทบาท (3) แบบสอบถามความถึงพึงพอใจในการปฏิบัติงาน จากนั้นนำมาวิเคราะห์โดยใช้ ONE-WAY ANOVA และ T-Test ทดสอบความแตกต่าง PERRSON R CORRELATION และ CH-SQUARE ทดสอบความสัมพันธ์ ซึ่งกรอบแนวความคิดตัวแปรต้น เป็น ความขัดแย้งในบทบาท ความคลุมเครือในบทบาท ตัวแปรด้านภูมิหลังและตัวแปรตามเป็น ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน / ผลการศึกษาปรากฎสาระสำคัญตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ 1. บุคลากรที่มีความคลุมเครือในบทบาทแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10 / 2. บุคลากรที่มีตัวแปรด้านภูมิหลัง (วุฒิการศึกษา) แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10 / ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ / 1. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมในหน่วยงาน จัดกิจกรรมการกีฬาให้พนักงาน สนองตอบความต้องการด้านสวัสดิการ จัดประชุมปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอและเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น / 2. ความขัดแย้งในบทบาท ความคลุมเครือในบทบาท ผู้บริหารควรให้พนักงานมีส่วนในการกำหนดและรับทราบนโยบายแนวทางปฏิบัติงานอย่างชัดเจน จัดให้มีระบบการสื่อสารที่ดีเพื่อให้ได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนและส่วนงานth
dc.description.abstractThe purposes of this thesis are as follows: (1) To identify the level of role conflict, role ambiguity and job satisfaction of the employees of the Bangkok Bank's Foreign Exchange Services Department; (2) To identify whether the different levels of role confict and role ambiguity among the employees with different backgrounds have any significant effects on their job satisfaction; / (3) To examine whether role conflict, role ambiguity, and the background of employess have any significant correlations with their job satisfaction. / The study convered the total population of 175 employees of the Foregin Exchange Services Department. The following three rets of questions were used / Question 1 : Personal Background of the respondents / Question 2 : Level of role confict and role ambiguity / Question 3 : Level of job satisfaction / Statistional analysis employed in this study included ONE-WAY ANOVA, T-TEST, PEARSON R CORRELATION, and CHI-SQUARE, The independent variables were role conflict, role ambiguity, and the respondents' background, while job satisfaction was the dependent variable. / Major findinges of the study were : / 1. There were significant differences in job satisfaction among respondents with different level of role ambiguity (p=0.10)th
dc.description.abstractThere were significant differences in job satisfaction among respondents with different levels of education (p=0.10) / Implication for administrators were summarized in the followings: / 1. Administrators should create conducive working environments, including the arrangement of certain activities responsive to employees' needs, interests, and welfare as well as a weekly meeting to provide a venue for employess to voice their opinions. / 2. Administrators should promote more participation at the policy formulation level and be assured that employess are well informed of the policy. They should also improve the communication system within the organization to enable greater accessibility of clear and correct information related to their works and duties at both the individual and organizational levels.th
dc.format.extent13, 121 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1997.23
dc.identifier.isbn9742310491th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/674th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHF 5549.5 .J63 ศ46th
dc.subject.otherความพอใจในการทำงาน -- ไทยth
dc.subject.otherพนักงานธนาคาร -- ความพอใจในการทำงาน -- ไทยth
dc.titleความขัดแย้งในบทบาทและความคลุมเครือในบทบาทที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาบุคลากรฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่th
dc.title.alternativeThe impacts of role conflict and ambiguity on job satisfaction : a case study of the foreign exchange services department of the Bangkok Bank (Public Co, Ltd), head officeth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th
thesis.degree.disciplineการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b75155.pdf
Size:
2.13 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections