ปัญหาการตีความอีโมจิภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560
dc.contributor.advisor | อัญธิกา ณ พิบูลย์ | |
dc.contributor.author | กฤตยชญ์ เสริมวัฒนากุล | |
dc.date.accessioned | 2025-03-26T07:55:00Z | |
dc.date.available | 2025-03-26T07:55:00Z | |
dc.date.issued | 2024 | |
dc.date.issuedBE | 2567 | |
dc.description | การค้นคว้าอิสระ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2567 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการตีความอีโมจิ (Emoji) ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 โดยเน้นการศึกษาในทางกฎหมายและแนวโน้มของการนำอีโมจิมาใช้เป็นหลักฐานในคดีความทางกฎหมาย และมุ่งเน้นศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยรวบรวมข้อมูลจากกฎหมาย ข่าว บทความ งานวิจัย และกรณีศึกษาในต่างประเทศ เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาในการตีความอีโมจิว่าเป็น “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือไม่ และผลกระทบของการตีความอีโมจิที่แตกต่างกันในบริบทต่าง ๆ จนเกิดเป็นปัญหาความลักลั่นในการตีความอีโมจิขึ้น ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ยังไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับอีโมจิ ทำให้เกิดปัญหาในการตีความความหมายของอีโมจิในกระบวนการพิจารณาคดี ซึ่งอาจนำไปสู่ความลักลั่นในการบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มรายละเอียดตรงนี้หน่อยค่ะว่าส่งผลกระทบทางลบต่อใคร อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ แนวโน้มของศาลในต่างประเทศเริ่มมีการนำอีโมจิมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการพิจารณาคดี โดยพิจารณาร่วมกับบริบทของการใช้ ซึ่งเป็นแนวทางที่อาจถูกนำมาปรับใช้ในประเทศไทย ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาจากการศึกษานี้คือ ควรมีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายดังกล่าวให้รองรับการตีความอีโมจิอย่างชัดเจน รวมถึงกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสำหรับการพิจารณาความหมายของอีโมจิในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดปัญหาความไม่แน่นอนทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การกำหนดนิยามของอีโมจิในบริบทต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยประกอบการตีความอีโมจิในบริบทต่าง ๆ | |
dc.description.abstract | This thesis aims to study the issue of emoji interpretation under the Computer-Related Crime Act B.E. 2550 (2007) and its amendment in B.E. 2560 (2017), focusing on legal aspects and the emerging trend of using emojis as evidence in legal proceedings. The research primarily adopts a documentary research method by gathering data from laws, news articles, academic papers, research studies, and case studies from other countries. The objective is to understand whether emojis can be considered "computer data" under the Computer-Related Crime Act and to analyze the legal implications of differing interpretations in various contexts, which may lead to inconsistencies in emoji interpretation. The findings indicate that the Computer-Related Crime Act lacks explicit provisions regarding emojis, leading to challenges in interpreting their meaning in legal proceedings, which may result in inconsistencies in law enforcement. Additionally, courts in other countries have increasingly accepted emojis as significant evidence, considering their contextual usage, a practice that could potentially be adapted in Thailand. Given these findings, the author proposes that the law should be revised and developed to explicitly address emoji interpretation. Furthermore, standardized guidelines should be established for interpreting emojis in the judicial process to ensure fairness and reduce legal uncertainties in the future. For instance, defining the meanings of emojis in various contexts to aid in the interpretation of emojis within those contexts. | |
dc.format.extent | 2 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/123456789/7082 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.subject | พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 | |
dc.subject | Emoji | |
dc.subject.other | คอมพิวเตอร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | |
dc.title | ปัญหาการตีความอีโมจิภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 | |
dc.title.alternative | Challenges in the interpretation of emojis under the computer-related crime Act B.E. 2550 (2007) and its amendment B.E. 2560 (2017) | |
dc.type | text::report::research report | |
mods.genre | Independent Study | |
thesis.degree.department | คณะสถิติประยุกต์ | |
thesis.degree.discipline | การจัดการความเสี่ยงความมั่นคงทางไซเบอร์ | |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | |
thesis.degree.level | Master's | |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Files
License bundle
1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
- Name:
- license.txt
- Size:
- 1.71 KB
- Format:
- Item-specific license agreed upon to submission
- Description: