กระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย : กรณีศึกษาร้านขนมที่ดำเนินธุรกิจระดับยืนได้มั่นคง ณ เสรีมาร์เก็ต
dc.contributor.advisor | จิรประภา อัครบวร | th |
dc.contributor.author | ปรัชญา คณาภูเศรษฐ์ | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:11:53Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:11:53Z | |
dc.date.issued | 2006 | th |
dc.date.issuedBE | 2549 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2549 | th |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มี มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย ร้านขนมระดับยืนได้มั่นคง 2) ภูมิความรู้ความชำนาญ กรณีศึกษาร้านขนมช่อ ม่วงซึ่งเป็นวิสาหกิจรายย่อยที่ดำเนินการได้ระดับยืนได้มั่นคง และ 3) สร้างกระบวนการพัฒนาตนเองของผู้ประกอบการในวิสาหกิจรายย่อย โดยใช้กรอบ The Theoretical Model of the Functioning of Action Strategy" ในการวิเคราะห์หาปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย ร้านขนมระดับยืนได้มั่นคง และใช้แนวคิดการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ภูมิความรู้ความชำนาญ กรณีศึกษาร้านชนมช่อม่วง แล้วจึงนำผลการศึกษาปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการวิลาหกิจรายย่อยและภูมิความรู้ความชำนาญ กรณีศึกษาร้านขนมช่อม่วง มาสร้างกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในหลาย ๆ วิธีประกอบกัน โดยเฉพาะวิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านขนมที่ดำเนินธุรกิจระดับยืนได้มั่นคง ณ เสรีมาร์เก็ตจำนวน 5 ร้าน และร้านขนมช่อม่วงซึ่งผู้ศึกษาเป็นผู้ประกอบการอีก 1 ร้าน ผลการศึกษาผู้ประกอบการร้านขนมที่ดำเนินธุรกิจระดับยืนได้มั่นคง ณ เสรีมาร์เก็ตจำนวน 5 ร้าน และร้านขนมช่อม่วงซึ่งผู้ศึกษาเป็นผู้ประกอบการอีก 1 ร้าน พบว่าปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย ระดับยืนได้มั่นคง ดังนี้ 1) เนื้อหากลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการร้านขนมที่ดำเนินธุรกิจระดับยืนได้มั่นคง ณ เสรีมาร์เก็ต ใช้ดำเนินกิจการ คือ (1) คุณภาพสินค้า (2) ความหลากหลายของสินค้า และ (3) ทำเลที่ตั้ง มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จ 2) กลยุทธ์ในการดำเนินงานทั้ง 4 แบบ คือ (1) กลยุทธ์การวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์ (2) กลยุทธ์การวางแผนเฉพาะสิ่งสำคัญ (3) กลยุทธ์การแสวงหาโอกาส และ (4) กลยุทธ์การตั้งรับ ไม่สามารถสรุปได้ว่ามีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จ 3) ผู้ประกอบการร้านขนมที่ดำเนินธุรกิจระดับยืนได้มั่นคง ณ เสรีมาร์เก็ต มีคุณลักษณะผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Orientation) เพียง 5 ด้าน จาก 6 ด้าน คือ (1) ลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) (2) ลักษณะความมีนวัตกรรม (Innovationness) (3) ลักษณะความกล้าเสี่ยง (Risk Taking) (4) ลักษณะมีความสม่ำเสมอและใฝ่ใจในการเรียนรู้ (Stability and Learning Orientation) และ (5) ลักษณะความใฝ่ใจในความสําเร็จ (Achievement Orientation) มี ความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จ และ 4) ความชำนาญในอาชีพ มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จ 2) ภูมิความรู้ความชำนาญ กรณีศึกษาร้านขนมช่อม่วงซึ่งเป็นวิสาหกิจรายย่อยที่ดำเนินการได้ระดับยืนได้มั่นคง พบว่า ความรู้ในด้านความชำนาญในอาชีพ ประกอบด้วยการ เลือกทำเล เจรจาต่อรองสัญญา การตกแต่งร้านค้า การจัดเรียงสินค้า การผลิตสินค้า การคิดเลือกสินค้า การตั้งราคา การกำหนดเงื่อนไขฝากชาย การบรรจุสินค้า การประมาณการขาย การวางแผนการผลิต ตรวจสอบคุณภาพ การจัดหาวัตถุดิบ การขนส่ง และ การทำบัญชีรับ-จ่าย 3) การสร้างกระบวนการพัฒนาตนเองของผู้ประกอบการในวิสาหกิจรายย่อยประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม คือ การประเมินคุณลักษณะผู้ประกอบการ และการดำเนินกิจการ ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1) ภาครับควรมีการจัดตั้งหน่วยงานวิสาหกิจรายย่อยอย่างเป็นทางการ 2) หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนวิสาหกิจรายย่อย ควรเพิ่มการ สนับสนุนวิสาหกิจรายย่อยในด้านการดำเนินธุรกิจ เหมือนกับที่ให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดย่อม 3) สถาบันการศึกษา ควรเพิ่มหลักสูตรที่มีเนื้อหาของการสร้างคุณลักษณะผู้ประกอบการและความชำนาญในอาชีพ โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกงานกับวิสาหกิจรายย่อยระดับยืนได้มั่นคง ที่ผู้เรียน สนใจ ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคต ควรมีการศึกษาวิจัยเรื่อง 1) ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการในวิสาหกิจรายย่อย ในธุรกิจประเภทอื่น 2) กระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการในวิสาหกิจรายย่อย ในธุรกิจประเภทอื่น และ 3) การวิจัยประเมินผล การนำกระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการในวิสาหกิจรายย่อยที่สร้างขึ้น ไปใช้เป็นหลักสูตรในการศึกษาและฝึกอบรม | th |
dc.format.extent | 152 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.identifier.other | b150089 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/650 | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | ธุรกิจขนาดย่อม -- ไทย | th |
dc.subject.other | ขนม | th |
dc.subject.other | การบริหารธุรกิจ | th |
dc.title | กระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย : กรณีศึกษาร้านขนมที่ดำเนินธุรกิจระดับยืนได้มั่นคง ณ เสรีมาร์เก็ต | th |
dc.title.alternative | Self-development process for becoming the micro-entrepreneur : a case study of the snack shop on the later growth level at Seri-Market | th |
dc.type | text--thesis--master thesis | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.department | โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ | th |
thesis.degree.discipline | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.level | Masters | th |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | th |
Files
Original bundle
1 - 1 of 1
- Name:
- nida-ths-b150089.pdf
- Size:
- 5.34 MB
- Format:
- Adobe Portable Document Format
- Description:
- Full Text