Health communication innovation for depression prevention and surveillance

dc.contributor.advisorOusa Bigginsth
dc.contributor.authorArpassorn Aonvisetth
dc.date.accessioned2022-02-28T07:34:52Z
dc.date.available2022-02-28T07:34:52Z
dc.date.issued2020th
dc.date.issuedBE2563th
dc.descriptionThesis (Ph.D (Communication Arts and Innovation))--National Institute of Development Administration, 2020th
dc.description.abstractThe research entitled, “Health Communication Innovation for Depression Prevention and Surveillance,” is aimed to study the pattern, content, and methods of health communication for preventing depression through social media and to explore the needs of LINE application on health communication for depression prevention, including altering health communication patterns related to depression prevention to reach general receivers more widely with no sex and age limit, nor regardless of their mental condition. The findings are expected to enable easy and convenient accessibility to depression information and to change the perception of health communication towards a more positive attitude through the use of online media as a communication innovation that responds to the lifestyles of people increasingly. Moreover, the findings are expected to yield a new channel for studying and applying preventive health communication information for self-nurturing and surveillance. The developed communication model will emphasize timely depression screening and quick examination and evaluation of the level of depression severity for proper assistance. The study was conducted with 15 samples aged 20-65 years old in Bangkok, by dividing the samples into three groups: Group 1 consisted of the samples aged 20-30 years old, Group 2 older than 30 to 40 years old, and Group 3 older than 40 up to 65 years old. The research was qualitative, conducted by documentary research through the analysis of information on websites, YouTube, applications, Facebook, and Twitter to examine the patterns and content of health communication related to depression, including communication methods used via social media. Besides, an in-depth interview was conducted with 15 samples twice. The first interview was conducted before the design of the instrument for studying the needs of the Line application for depression prevention communication. The findings then were collected to design a tool called "m-Mental Health" and a platform of health communication innovation to let the samples assess them. The second interview was conducted with the same group for assessing their satisfaction and expected benefits from the Line application. From the study, the findings were as follows: 1) The patterns and content of health communication related to depression prevention on five types of social media were found. For websites, the screens are full of infographics, focusing on beauty and attraction with some gimmicks among graphic cartoons. YouTube shares health care and disseminates information through audio-visual systems. Users can read and share the information. Application is divided into a free and paid application for handling users' anxiety and stress, functioning as 24-hour online therapists. Facebook, both Thai and foreign, is not a sphere for health promotion. On the contrary, it can cause users too much anxiety, leading to stress and mental problems. Twitter of foreign countries is found to support useful knowledge about depression, and present a more positive and preventive approach for dealing with depression. However, Twitter in Thailand is quite a scary sphere as it can induce other users to imitate and may lead to suicide eventually. Thus, Twitter in Thailand might yield more harm than usefulness. However, from the content analysis of all five types of social media, not so many differences were found in most of their content. Mostly, the content displayed the prevalence of the depression condition for stimulating awareness and giving knowledge for health care, providing health care consultancy and listening to users’ problems, recommended hospitals and institutes of depression treatment, and provided information for depression remedy and reduction. 2) The methods used in communicating depression prevention of five types of social media were found to be different. Websites use both one-way and two-way communication through articles, journals, studies, and infographics for promoting prevention and preventing mental health. YouTube uses one-way communication in the form of videos and interviews with experienced physicians with simple language.  Applications use diverse patterns. They perform as a tool for collecting information, disseminating and sharing information, communicating between the governmental agencies and people, coping with and reducing depression. Both Twitter and Facebook use two-way communication by functioning as a sphere for information exchanges, emphasizing experiential sharing in the form of statements, videos of knowledge and treatment guidelines like talking to medical experts that helps to increase relaxation and feeling at ease. 3) Regarding the need for using the LINE Official Account concerning depression prevention, it was found that the level of the users’ needs is at the high level, especially the group of 20-30 years old have the highest needs. All samples perceive it as easy to use and access. Besides, they prefer having information presented in the form of statements, images, infographics, and videos. Some recommendations of the presentation methods are (1) having several kinds of media for choosing to follow, (2) keeping updating the news, (3) being able to communicate via this channel, (4) being able to connect with other websites. Among all methods, infographics and videos are rated by the samples at the highest level, especially 20-30 years old. 4) For the design of the content on the LINE Official Account for communicating depression prevention, the samples want to have an explanation about depression screening and assessment form, self-care and self-surveillance of mental health, channels for contacting hospitals and treatment institutes at the highest level, followed by causes of or factors leading to depression and recommended hospitals and institutes at the high level, and the content about the definition of depression and severity level at the moderate level respectively. 5) For the test of the tool in the Line application, all samples had the highest level of satisfaction. They were satisfied the most with the modernity of the channel and the convenience in answering the depression assessment form. Regarding the benefits gained from the use of Line application as health Communication Innovation for Depression Prevention and Surveillance, all samples evaluated the usefulness of the information at the highest level, especially for mental health care and guidelines for coping with depression, followed by its usefulness in creating social interaction, sharing with other people, and applying in daily life, including advising other people, respectively.th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง” มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษารูปแบบและเนื้อหา วิธีการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวังผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อดูความต้องการในการใช้แอปพลิเคชั่น LINE การสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง ทั้งนี้เพื่อมีความต้องการที่จะเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารสุขภาพในประเด็นโรคซึมเศร้าให้เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารทั่วไปได้แพร่หลายมากขึ้น ไม่จำกัดเพศวัย ไม่จำกัดว่ามีความเสี่ยงหรืออยู่ในสภาวะปกติ อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงข้อมูลในประเด็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาโดยการสื่อสารสุขภาพในรูปแบบนี้จะต้องไม่น่าเบื่ออีกต่อไปเพราะได้นำสื่อสังคมออนไลน์มาเป็นนวัตกรรมการสื่อสารโรคซึมเศร้าในรูปแบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคมมากขึ้นอยากสร้างช่องทางใหม่ในการสำรวจและเป็นช่องทางการสื่อสุขภาพแนวใหม่เพื่อช่วยในการดูแลตนเองของคนในสังคมโดยทำการสื่อสารสุขภาพในเชิงส่งเสริมการเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรค ในกระบวนการนี้จะเน้นการคัดกรองค้นหาผู้ ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ทันท่วงทีพร้อมให้การวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของอาการซึมเศร้าที่ถูกต้อง เพื่อให้แนวทางการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษานวัตกรรมการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง กับกลุ่มผู้รับสารที่เป็นประชากรวัยทำงานอายุ 20 - 65 ปีในกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง คือกลุ่มอายุ 20-30 ปี กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้นไปจนถึง 40 ปี กลุ่มที่สาม คือกลุ่มที่อายุ 40 ปีขึ้นไปจนถึง 65 ปี ผูวิจัยไดใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อันประกอบไปดวยการวิจัยเชิงเอกสารไดดําเนินการศึกษาและวิเคราะหขอมูลจากหน้าเว็บไซต์ ยูทูบ แอปพลิเคชั่น เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้า รวมถึงศึกษาวิธีการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการสัมภาษณเจาะลึก ในสวนนี้ได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 15 คน โดยสัมภาษณ์ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 สัมภาษณ์ก่อนออกแบบเครื่องมือเพื่อศึกษาความต้องการที่จะใช้แอพพลิเคชั่น LINE มาสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง หลังจากที่ได้ข้อมูลแล้วมารวบรวมเพื่อออกแบบเครื่องมือนวัคกรรมสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าตามที่กลุ่มตัวอย่างสนใจ โดยสร้างออกมาบเป็น Platform เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเห็นภาพรวมของเครื่องมือและครั้งที่ 2 สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเดิมเพื่อศึกษาความพึงพอใจและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากแอพพลิเคชั่น LINE โดยผู้วิจัยตั้งชื่อเครื่องมือนี้ว่า m-Mental Health ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวังผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5 ประเภท ได้แก่ เว็บไซต์ทั้งหน้าเต็มไปด้วยรูปภาพกราฟิก เน้นความสวยงาม มีความน่าอ่าน ดึงดูดความสนใจมีลูกเล่นสลับกันระหว่างกราฟิกการ์ตูน ภาพบุคคล ยูทูบ แชร์เทคนิคการดูแลสุขภาพ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้วยระบบสี เสียง การเคลื่อนไหวแบบวีดิโอ ผู้ใช้สามารถดูและแชร์วิดีโอเพื่อแบ่งปันข้อมูลได้ แอปพลิเคชั่น แบ่งออกเป็นแบบใช้ฟรี กับแบบมีค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการกับความวิตกกังวลและความเครียดของผู้ใช้ทำหน้าที่เป็นนักบำบัดออนไลน์ใช้งานได้ตลอดเวลา แต่เฟซบุ๊กทั้งในไทยและต่างประเทศพบว่าเฟซบุ๊กยังไม่ใช่พื้นที่ในการส่งเสริมสุขภาพแต่กลับเป็นพื้นที่ที่อาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดความวิตกกังวลมากเกินไปจนอาจส่งผลให้เกิดความเครียด และปัญหาสุขภาพจิตตามมา ในทางกลับกันทวิตเตอร์ในต่างประเทศพบว่าทวิตเตอร์เป็นพื้นที่สนับสนุนความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า นำเสนอเนื้อหาเชิงบวกเน้นการป้องกันรักษา แต่บในประเทศไทยทวิตเตอร์เป็นพื้นที่ที่น่ากลัวและอาจเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ เพราะสามารถทำให้ผู้อื่นกระทำเลียบแบบได้จนอาจกลายเป็นแรงจูงใจในการฆ่าตัวตายในที่สุด ทวิตเตอร์ในประเทศไทยอาจเป็นสื่อที่ส่งผลร้ายมากกว่าการสร้างประโยชน์ สำหรับศึกษาเนื้อหาพบว่าสื่ออนไลน์ทั้ง 5 ประเภท มีการนำเสนอเนื้อหาไม่แตกต่างส่วนใหญ่ก็เพื่อรายงานอุบัติการณ์ความชุกของโรคซึมเศร้า เพื่อให้ความรู้สร้างความตระหนักและให้วิธีการดูแลสุขภาพ เพื่อให้คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพและรับฟังปัญหา เพื่อแนะนำโรงพยาบาลและสถาบันที่ให้การรักษาโรคซึมเศร้า และสุดท้ายเพื่อให้ข้อมูลในการบำบัดรักษาและช่วยลดภาวะโรคซึมเศร้า 2) วิธีการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวังผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5 ประเภท มีความแตกต่างกันออกไป ได้แก่ เว็บไซต์มีวิธีการสื่อสารแบบทางเดียว (One way Communication) และแบบสองทาง (Two way Communication) มีทั้งบทความ วารสาร งานวิจัย สื่ออินโฟกราฟฟิคที่ส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต วิธีการสื่อสารผ่านยูทูบเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว (One way Communication) นำเสนอแบบวีดิโอ บทสัมภาษณ์ จากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญถือเป็นช่องทางดูแลสุขภาพ มีการใช้ภาษาที่ดูเรียบง่าย ฟังเข้าใจง่าย ส่วนวิธีการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นมีหลากหลายรูปแบบทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล/ใช้ในการเผยแพร่แบ่งปันข่าวสาร/ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงรัฐกับประชาชน/ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการโรคซึมเศร้าให้ลดลง วิธีการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์มีวิธีการสื่อสารแบบสองทาง (Two way Communication) เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เน้นการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ทั้งในรูปแบบข้อความ เสียงและวิดีโอช่วยทำให้เกิดความผ่อนคลายและช่วยให้รู้สึกมีความสบายใจ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มาให้ความรู้และให้แนวทางการรักษา 3) ความต้องการในการใช้แอปพลิเคชั่น LINE Official Account มาสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง ผู้ใช้มีความต้องการอยู่ในระดับมาก พบมากสุดในกลุ่มอายุ 20-30 ปี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีเหตุผลที่ทำให้สนใจ คือ การใช้งานง่าย/เข้าถึงง่ายมากที่สุด อยากให้มีการนำเสนอข่าวสารในแบบข้อความ รูปภาพ อินโฟกราฟฟิคและวิดีโอ และมีวิธีการนำเสนอ อันได้แก่ (1) มีสื่อหลากหลายรูปแบบให้เลือกติดตาม (2) มีข่าวสารที่ทันสมัย Update อยู่เสมอ (3) สามารถติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางนี้ได้ (4) สามารถเชื่อมโยงไปยัง Website อื่นได้ และให้ความสนใจต่อวิธีการนำเสนอแบบอินโฟกราฟฟิค และแบบวิดีโอ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยในกลุ่มอายุ 20-30 ปี มีความสนใจต่อวิธีการนำเสนอแบบอินโฟกราฟฟิคและแบบวิดีโอ อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ออกแบบเครื่องมือแอปพลิเคชั่น LINE Official Account ที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง กลุ่มตัวอย่างอยากให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแบบคัดกรองและแบบประเมินโรคซึมเศร้า แนะนำวิธีการดูแลสุขภาพจิตด้วยตนเองแนะนำวิธีการป้องกันเฝ้าระวัง และแนะนำช่องทางการติดต่อโรงพยาบาล/สถาบันที่รับบัดรักษาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ สาเหตุปัจจัยการเกิดโรคซึมเศร้าและแนะนำโรงพยาบาล สถาบันต่างๆ อยู่ในระดับมาก และท้ายสุดต้องการให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความหมายของโรคซึมเศร้า และอาการระดับความรุนแรงของโรคซึมเศร้า อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 5) การทดสอบเครื่องมือแอปพลิเคชั่น LINE ที่ใช้ในการสื่อสาร พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านความทันสมัยของช่องทางและความสะดวกในทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า สำหรับการใช้ประโยชน์พบว่าส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์มากที่สุดในด้านข้อมูลข่าวสารสามารถนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ในการดูแลสุขภาพจิตใจและเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้ รองลงมาใช้ประโยชน์ด้านสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสนทนาแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น และการใช้ประโยชน์ด้านการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมีการนำไปดูแลแนะนำบุคคลอื่น ตามลำดับth
dc.format.extent323 leavesth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2020.88
dc.identifier.otherb212213th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5590th
dc.language.isoength
dc.publisherNational Institute of Development Administrationth
dc.rightsThis work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherPopulation surveillanceth
dc.subject.otherCommunity health servicesth
dc.subject.otherDepressive disorderth
dc.subject.otherCommunication in medicineth
dc.titleHealth communication innovation for depression prevention and surveillanceth
dc.title.alternativeนวัตกรรมการสื่อสารสุขภาพเพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationNational Institute of Development Administration. Library and Information Centerth
thesis.degree.departmentThe Graduate School of Communication Arts and Management Innovationth
thesis.degree.disciplineCommunication Arts and Innovationth
thesis.degree.grantorNational Institute of Development Administrationth
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameDoctor of Philosophyth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b212213.pdf
Size:
5.8 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: