การพัฒนาธุรกิจค้าปลีกผลไม้ ด้วยการปรับปรุงห่วงโซ่คุณค่า
dc.contributor.advisor | บุษกร วัชรศรีโรจน์ | th |
dc.contributor.author | สิริเพ็ญ ไทยตรง | th |
dc.date.accessioned | 2022-05-25T06:35:06Z | |
dc.date.available | 2022-05-25T06:35:06Z | |
dc.date.issued | 2017 | th |
dc.date.issuedBE | 2560 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่คุณค่าและการส่งมอบคุณค่าอันนำไปสู่แนว ทางการสร้างกลยุทธ์ทางการแข่งขัน เชิงได้เปรียบของธุรกิจค้าปลีกผลไม้แบบดั่งเดิม ทำการศึกษา กับผู้ประกอบการร้านค้าปลีกผลไม้แบบดั่งเดิมจำนวน 43คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวม ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ความสัมพันธ์ของห่วงโซ่คุณค่าและการส่งมอบคุณค่าด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจดา้นคุณค่าที่ ได้รับระหว่างผู้ใช้บริการร้านค้าปลีกผลไม้แบบดั่งเดิมกับผู้ใช้บริการซูเปอร์มาร์เก็ตระดับกลาง และไฮเอนด์โดยจำแนกตามแนวคิดการส่งมอบคุณค่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้าน ราคา คุณภาพ ความพร้อม ความหลากหลาย การบริการ การเป็นพันธมิตร และตราสินค้า รวมไปถึง การศึกษาหาความสัมพนัธ์ระหวา่งปัจจัยส่วนบุคคลกับประเภทร้านค้าปลีก ทำการศึกษากับผู้ซื้อ ผลไม้สัดที่อาศยัหรือทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 400คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวม ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาชุดเดียวกับการศึกษาผู้ประกอบการและทดสอบการเปรียบเทียบความ แตกต่างระหว่างตัวแปร 2กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples t Test) รวมทั้งทดสอบการ หาความสัมพันธ์โดยวิธี Pearson’s Chi-Square | th |
dc.description.abstract | ผลการศึกษาผู้ประกอบการร้านค้าปลีกผลไม้แบบดั่งเดิมพบว่า ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจมา 16 -20 ปี มีพนักงาน 1 -3คน และเปิดให้บริการในช่วงเช้าถึงเย็น มีความพึงพอใจในความสามารถ ด้านการบริหารห่วงโซ่คุณค่าโดยรวมอยู่ในระดับกลาง โดยมีความพึงพอใจด้านการผลิต (ปฏิบัติการ) มากที่สุด ในขณะที่มีความพึงพอใจด้านการพัฒนาเทคโนโลยีน้อยที่สุด ในส่วนของ ความพึงพอใจในความสามารถด้านการส่งมอบคุณค่า พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากโดยพึงพอใจในการส่งมอบคุณค่าด้านความหลากหลายมากที่สุด ขณะที่การส่งมอบคุณค่าด้าน ราคาได้น้อยที่สุด | th |
dc.description.abstract | ผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่ากิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าด้านการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับการส่งมอบคุณค่าด้านคุณภาพในทิศทางเดียวกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิตินอกจากนี้กิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าด้านการขนส่งขาออกมีความสัมพันธ์ใน ทิศทางเดียวกันกับการส่งมอบคุณค่าถึง 4 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประกอบด้วยด้านคุณภาพ ความหลากหลาย การเป็นพันธมิตร และตราผลิตภัณฑ์ | th |
dc.description.abstract | ด้านผลการศึกษาผู้ใช้บริการ พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุ18 - 29 ปี เป็นเพศหญิง ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน มีรายได้เฉลี่ย 20,000 - 30,000 บาทต่อเดือน ซื้อผลไม้ เดือนละ 1 - 2คร้ัง ด้วยจำนวนเงินเฉลี่ยในการซื้อต่ำกว่า 1,000 บาท ซื้อในช่วงเวลา 18.00 - 21.59 นาฬิกา เลือกซื้อจากร้านค้าปลีกผลไม้แบบดั่งเดิม มากกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตระดับกลางและไฮเอนด์ ซึ่งผู้ซื้อกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการท็อปส์มาร์เก็ต ส่วนผู้ซื้อในกลุ่มร้านค้าปลีกผลไม้แบบ ดั่งเดิมส่วนมากเลือกซื้อในย่านเยาวราช ผู้ใช้บริการส่วนมากเดินทางโดยรถยนต์และจักรยานยนต์ ส่วนบุคคลและมีวัตถุประสงค์คือซื้อเพื่อรับประทาน ทั้งนี้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในคุณค่าที่ ได้รับโดยรวมอยู่ในระดับพอใจมาก โดยพึงพอใจด้านคุณภาพมากที่สุด และพึงพอใจด้านตรา ผลิตภณัฑ์ น้อยที่สุด เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบหาความแตกต่างด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทั้ง 2กลุ่ม พบว่ามีความพึงพอใจแตกต่างกัน ในด้านราคาและความพร้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจยัส่วนบุคคลและประเภทร้านค้า พบว่าระดับ การศึกษาและช่วงเวลาในการซื้อมีผลต่อการเลือกประเภทร้านค้าปลีกผลไม้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิต | th |
dc.description.abstract | ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ที่มีต่อผู้ประกอบการร้านค้าปลีกผลไม้แบบดั่งเดิม ประกอบด้วย 1) ควรมุ่งเพิ่มความสามารถในห่วงโซ่คุณค่าด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการ ขนส่งขาออกเนื่องจากจะส่งผลเชิงบวกไปยังการส่งมอบคุณค่าด้านคุณภาพ ความหลากหลาย การ เป็นพันธมิตร และตราผลิตภัณฑ์ 2) ควรปรับปรุงกิจกรรมห่วงโซ่คุณค่าด้านการพฒันาเทคโนโลยี 3) ควรใหค้วามสำคัญด้านราคาและความพร้อมเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ 4) ควรปรับเวลา ทำการให้ครอบคลุมในช่วงเวลา 18.00 -21.59 นาฬิกา เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผู้ซื้อผลไม้ใช้บริการ มากที่สุด 5) ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง พร้อมกับให้ความสนใจเรื่องการกำหนดราคาให้ต่ำ กว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งการได้เปรียบทางการแข่งขัน และความยั่งยืนของธุรกิจ | th |
dc.format.extent | 227 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.identifier.doi | 10.14457/NIDA.the.2017.173 | |
dc.identifier.other | b201084 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5828 | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | ธุรกิจการค้าปลีก | th |
dc.subject.other | การค้า -- การพัฒนา | th |
dc.subject.other | อุตสาหกรรมการค้าปลีก | th |
dc.title | การพัฒนาธุรกิจค้าปลีกผลไม้ ด้วยการปรับปรุงห่วงโซ่คุณค่า | th |
dc.title.alternative | Development of Fruit Retail Business by Value Chain Improvement | th |
dc.type | text--thesis--master thesis | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.department | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ | th |
thesis.degree.discipline | เทคโนโลยีการบริหาร | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.level | Masters | th |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | th |