Browsing by Subject "การแพร่กระจายนวัตกรรม"
Now showing 1 - 2 of 2
- Results Per Page
- Sort Options
Item การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม : กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมวุฒิพงษ์ ภักดีเหลา; จิรประภา อัครบวร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011)การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรมที่สะท้อนบริบท ทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์การ โดยเป็นการศึกษาวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ (Interview) ผู้เชี่ยวชาญจาก สำนัก งานนวัตกรรมแห่งชาติ นักวิชาการจากหลักสูตรการศึกษาและหน่วยงานด้านนวัตกรรมของ สถาบันการศึกษา และนักปฏิบัติในองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม และใช้การศึกษาแบบ กรณีศึกษา (Case Study) โดยทำการศึกษาจากบริษัทที่ได้รับ รางวัลสุดยอดบริษัทนวัตกรรม (Thailand Most Innovative Company) จำนวน 5 องค์การ ได้แก่ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์ เนชันแนล จำกัด(มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) การศึกษาครั้งนี้ได้ให้ความหมายขององค์การนวัตกรรมไว้ว่า องค์การนวัตกรรม หมายถึง องค์การที่มีขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ ปรับปรุง หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการหรือการบริหารจัดการให้ดีขึ้น โดยมีระบบต่างๆ ภายในองค์การที่ส่งเสริมและ สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สร้างมูลค่าเพิ่มและความ ได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผลการศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม พบว่า คุณลักษณะขององค์การ นวัตกรรมประ กอบด้วย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์และเป้าหมาย โครงสร้างองค์การ การบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ การให้รางวัลและการยอมรับ การสื่อสาร การจัดการความรู้และข้อมูล ข่าวสาร ทรัพยากร การประเมินและการลำเลียงความคิด ผู้นำบุคลากร เครือข่าย วัฒนธรรม และค่านิยมร่วมข้อเสนอแนะสำหรับองค์การในการนำไปปฏิบัติคือ คุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์การที่ต้องการมุ่งไปสู่การเป็นองค์การนวัตกรรม แต่ การที่องค์การจะนำไปปรับใช้นั้นยังขึ้นอยู่กับบริบทที่แตกต่างกันไปของแต่ละ องค์การ บางองค์การอาจไม่จำเป็นต้องมีคุณลักษณะบางประการตามผลการวิจัย ทั้งนี้อาจเป็น เพราะคุณลักษณะขององค์การที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของธุรกิจ ขนาดองค์การ เป็นต้น ซึ่ง ในส่วนขององค์การที่กำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้นสร้างองค์การนวัตกรรมให้มุ่งเน้นที่การสร้าง วัฒนธรรม องค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรม และผู้นำที่เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์การควรให้ ความสำคัญกับนวัตกรรมและมุ่งมั่นในการสร้างองค์การนวัตกรรมอย่างจริงจังItem การสร้างสรรค์รูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารแนวคิดธุรกิจประเภทเทศกาลดนตรีในประเทศไทย: เป๊ปซี่ พรีเซ้นท์ เอสทูโอ สงกรานต์ มิวสิคเฟสติวัล 2016ภัตติมา สืบสายสิงห์; วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์แนวคิดเทศกาลดนตรีตะวันตกสำหรับการสร้างสรรค์ธุรกิจงานเทศกาลดนตรีสากลในประเทศไทย รวมถึงรูปแบบการสื่อสารแนวคิดธุรกิจงานเทศกาลดนตรี Pepsi S2O ที่สามารถส่งผลต่อผู้ประกอบการและผู้สนับสนุน วิธีการศึกษาเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมุ่งศึกษางานเทศกาลดนตรีเป๊ปซี่ พรีเซ้นท์ เอสทูโอ สงกรานต์ มิวสิคเฟสติวัล 2016 โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาจากเอกสาร, วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ และสัมภาษณืเชิงลึกกับบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผลวิจัยพบว่า ทางผู้จัดงานเทศกาลดนตรีได้มีการเปิดรับและยอมรับนวัตกรรม คือ งานเทศกาลดนตรีและแนวดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์มิวสิค (EDM) จากวัฒนธรรมตะวันตก อีกทั้งยังมีการประยุกต์ให้เข้ากับบริบทสังคมไทยผ่านประเพณีสงกรานต์ โดยมีการใช้น้ำมาเป็นตัวกลางในการสื่อสารผ่านการจัดงานเทศกาลดนตรีเป๊ปซี่ พรีเซ้นท์ เอสทูโอ สงกรานต์ มิวสิคเฟสติวัล ซึ่งนับเป็นการส่งต่อและแพร่กระจายนวัตกรรมไปยังสมาชิกในสังคม ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าเป็นกระบวนการสร้างสรรค์รูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารเครือข่ายงานเทศกาลดนตรีโดยอิงอาศัยจากแนวดนตรี EDM ผนวกกับงานเทศกาลดนตรีและแนวคิดเชิงประชาสัมพันธ์นั้นเป็นกระบวนการ 3AC โดยย่อมาจาก การเปิดรับ (Adopt), การยอมรับ (Accept), การประยุกต์ (Apply), และการสร้าง (Create) นอกจากนี้ยังพบว่า ในปีพ.ศ. 2561 รูปแบบการสื่อสารแนวคิดธุรกิจงานเทศกาลดนตรี Pepsi S2O นั้นยังส่งผลด้านบวกต่อผู้ประกอบการในการต่อยอดทางธุรกิจที่สามารถขายลิขสิทธิ์โมเดลทางธุรกิจในการจัดงานเทศกาลดนตรี S2O ให้กับผู้ประกอบการในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ผู้สนับสนุนของงานเทศกาลดนตรี Pepsi S2O ได้แก่ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ได้รับประโยชน์ทางด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าและทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำตราสินค้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย