dc.contributor.advisor | ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | สัญญา เจริญศรีวงษ์ | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:17:05Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:17:05Z | |
dc.date.issued | [1988] | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1040 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2531. | th |
dc.description.abstract | การพัฒนาชนบทในประเทศไทย แม้ว่าจะได้กระทำกันมาเป็นเวลานาน และเป็นที่กล่าวขวัญถึงตลอดมามิขาดสาย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในอดีต มักจะมองชนบทในแง่ที่มีความสำคัญเป็นอันดับรอง มุ่งเห็นความเจริญเติบโตโดยส่วนรวมเป็นอันดับสูง ทรัพยากรที่จัดสรรให้แก่การพัฒนาชนบทมักจะเป็นส่วนที่เหลือจากการพัฒนาด้านอื่น ๆ แล้ว นอกจากนั้นการพัฒนาชนบทยากจน ยังถูกมองในทำนองการประชาสงเคราะห์ เป็นเหตุให้การพัฒนาชนบทเท่าที่เป็นมา กระทำกันในรูปของการสงเคราะห์(full subsidy) หยิบยื่นให้แก่ชาวบ้านเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีเป้าหมายระยะยาวที่จะให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองในที่สุด หมู่บ้านในชนบทคอยแต่จะรับความช่วยเหลือไม่คิดพึ่งตนเอง เมื่อหน่วยงานต่าง ๆ หมดงบประมาณหมดวาระก็ถอนตัวออกไป โครงการต่าง ๆ ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการเหลียวแล | th |
dc.description.abstract | การพัฒนาชนบทตามแนวใหม่ มาเริ่มขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 โดยที่การพัฒนามุ่งยึดหลักการเข้าไปยกระดับความสามารถของคนเพื่อให้เขาได้ช่วยเหลือตนเอง (self reliance) มากขึ้น การให้ก็จะมีลักษณะ Share in aid คือ การช่วยเหลือที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างถาวร เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชน "เข้าใจเข้าร่วม และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างถาวร" เมื่อประชาชนได้เข้าใจ เข้าร่วม และเป็นประโยชน์แก่เขาแล้ว เขาจะมีความรักหวงแหน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของขึ้นมา การที่จะทำให้เกิดการพัฒนาในลักษณะเช่นนี้ได้จำเป็นที่จะต้องมีองค์กร ๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นของประชาชนในชนบทเอง องค์กรนี้ก็จะต้องบริหารและดำเนินการโดยคนในชนบท และเพื่อคนในชนบท องค์กรเช่นว่านี้ก็ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรเป็นการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นของสมาชิกผู้ร่วมกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา สมาชิกควบคุมการดำเนินงานของสหกรณ์ ผลประโยชน์ที่เกิดแก่สหกรณ์ก็ตกอยู่กับสมาชิกซึ่งหมายถึงการเกษตรในชนบททุกคน การดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรก่อให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ขึ้นในชนบท คือ การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สหกรณ์การเกษตรมีบทบาทในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเรื่อง การให้สินเชื่อเพื่อผลิตและการลงทุนในทรัพย์สินการเกษตร การจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิกการตลาดผลิตผลการเกษตร การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสหกรณ์การเกษตรมีบทบาทในการพัฒนาหรือก่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในสังคมในเรื่อง การกระจายรายได้ การเสียภาษีอากร การกระจายบริการขั้นพื้นฐาน การกระจายบริการสังคม การจ้างแรงงาน การเสริมสร้างค่านิยมที่ดีทางสังคมในชนบท นอกจากนั้นสหกรณ์การเกษตรยังมีบทบาทในการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครองโดยที่เป็นการสร้างหรือก่อให้เกิดความสำนึกความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ให้แก่ประชาชนในชนบท แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังปรากฏว่ามีอีกหลาย ๆ สหกรณ์การเกษตรที่ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กล่าวข้างต้น สาเหตุที่ทำให้สหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ เหล่านั้นดำเนินงานไม่ประสบผลตามที่ตั้งไว้ก็เนื่องมาจากสมาชิกขาดความรู้ ความเข้าใจ ความสำนึกในบทบาทหน้าที่ที่มีต่อสหกรณ์การเกษตร และนโยบายพร้อมทั้งการปฏิบัติของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรยังมีความไม่แน่นอนชัดเจนและจริงจัง. | th |
dc.description.abstract | ดังนั้น การที่เราจะพัฒนาชนบทในรูปของกระบวนการระยะยาว กล่าวคือมีการดำเนินการที่สืบเนื่องตลอดไป เราก็ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการสหกรณ์ และควรที่จะให้การพัฒนาสหกรณ์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชนบท เนื่องจากว่า การพัฒนาที่จะมีผลสืบเนื่องตลอดไปได้จะต้องประกอบด้วยการมีส่วนร่วม (Participation) และความร่วมมือของผู้ที่ได้รับการพัฒนา การพัฒนาที่แท้จริงจะต้องเป็นการพัฒนาคนพร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาวัตถุ การสหกรณ์ถ้ามองไปในแง่ที่เป็นกระบวนการให้การศึกษาที่ทำให้คนรู้จักทำงานร่วมกัน เพื่อปรับปรุงฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองร่วมกันรู้จักร่วมกันแก้ปัญหา และวางแผนร่วมกันแล้ว การสหกรณ์ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคน ฉะนั้นจึงเป็นการสมควรแล้วหรือที่เราจะไม่ให้ความสำคัญหรือสนใจกับองค์กรของเกษตรกรที่ใหญ่ที่สุดและมีปัจจัยต่าง ๆ ที่จะรองรับการพัฒนาได้มากที่สุดอีกทั้งเป็นองค์กรที่ทั่วโลกเขายอมรับกันว่าเป็นองค์กรธุรกิจที่เรียกกันว่า สหกรณ์การเกษตรเป็นองค์กรที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาชนบท. | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2014-05-05T09:17:05Z (GMT). No. of bitstreams: 2
nida-ths-b7172.pdf: 4314916 bytes, checksum: 2fb5c5080829bd5706510f0c8f594df8 (MD5)
nida-ths-b7172ab.pdf: 91450 bytes, checksum: ce3e3ee451988997ff46494ebfd0a8b3 (MD5)
Previous issue date: null | th |
dc.format.extent | 211 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.lcc | HD 1491 .T5 ส113 | th |
dc.subject.other | สหกรณ์การเกษตร -- วิจัย | th |
dc.subject.other | การพัฒนาชนบท -- ไทย | th |
dc.title | การบริหารงานสหกรณ์การเกษตรกับการพัฒนาชนบท | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | th |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | th |