GSPA: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 308
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาการกระจายผลประโยชน์ของเงินอุดหนุนหลักประกันสุขภาพและความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการทางการแพทย์ กรณีศึกษา: ผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น
    ณัชพล เมธเมาลี; พลภัทร บุราคม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการกระจายผลประโยชน์ของเงินอุดหนุนประกันสุขภาพผ่านสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC) และสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า/บัตรทอง (UCS) ในกลุ่มผู้สูงอายุที่แตกต่างกันไปตามระดับรายได้ (2) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้สูงอายุหลังจากที่ได้เข้ารับบริการทางการแพทย์ และ (3) เพื่อศึกษาถึงผู้สูงอายุที่มีความแตกต่างกันไปตามระดับรายได้ ลักษณะภูมิลำเนา และประเภทของสิทธิ์ว่ามีระดับความพึงพอใจหลังรับบริการทางการแพทย์แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร โดยการศึกษานี้พยายามหาคำตอบในเรื่องของความเป็นธรรมจากการจัดสรรเงินอุดหนุนประกันสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น ด้วยการวิเคราะห์การกระจายผลประโยชน์ (Benefit Incidence Analysis) และการศึกษาความพึงพอใจผู้สูงอายุที่มีต่อคุณภาพของการบริการทางการแพทย์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณที่มีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่สร้างจากแนวความคิด SERQUAL ของ Parasuraman, Zeithaml, & Berry (1985) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการจัดสรรเงินอุดหนุนผ่านหลักประกันสุขภาพยังคงสร้างความไม่เป็นธรรมแก่กลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่นอยู่ จากผลการวิเคราะห์การกระจายผลประโยชน์แสดงให้เห็นว่าการจัดสรรเงินอุดหนุนของแต่ละสิทธินั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เนื่องมาจากรูปแบบการบริหารการเบิกจ่ายที่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองสิทธิ เมื่อพิจารณาในภาพรวมของผลประโยชน์จากเงินอุดหนุนแล้ว พบว่า เงินอุดหนุนส่วนใหญ่ตกอยู่กับกลุ่มที่เป็นมีฐานะรายได้สูงสุด (ควินไทล์ 5) ถึงร้อยละ 46.94 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มข้าราชการบำนาญ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในเรื่องของการศึกษาความพึงพอใจที่ผู้สูงอายุมีต่อบริการทางการแพทย์กลับพบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ใช้สิทธิทั้ง 2 แบบ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ไม่มีความแตกต่างกันมากนักจึงทำให้ผู้สูงอายุได้รับบริการที่ไม่แตกต่างกัน ขณะที่มิติความแตกต่างของภูมิลำเนา กลับพบว่า มีความแตกต่างของความพึงพอใจที่ผู้สูงอายุมีต่อบริการทางการแพทย์อย่างชัดเจน โดยที่ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทมีพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ที่น้อยผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากเรื่องความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของแพทย์ โดยหากวิเคราะห์สัดส่วนจำนวนประชากรต่อบุคลากรทางการแพทย์ 1 คน ร่วมกับคะแนนความถึงพอใจที่ได้จากการสำรวจจะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ส่วนทางกัน โดยยิ่งจำนวนที่ผู้ป่วยต่อบุคลากรทางการแพทย์มากเท่าไรผู้ป่วยก็จะยิ่งได้รับบริการที่ไม่พึงพอใจมากเท่านั้น ดังนั้นการที่แพทย์ 1 คนต้องรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยในจำนวนที่ไม่เท่ากันของแต่ละพื้นที่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำมาซึ่งคุณภาพการบริการที่ไม่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในหนุนอุดหนุนผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ในอนาคตควรมีการควบรวมการบริหารจัดการเงินอุดหนุนหลักประกันสุขภาพให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้การกระจายเงินอุดหนุนมีความเป็นธรรมและเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการบริการระหว่างเมืองและชนบทการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรทางการแพทย์ควรนำเรื่องของความรับผิดชอบของแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากรมาร่วมพิจารณาด้วย เพื่อที่ภาระการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้ไม่ตกอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และบุคลากรทางการแพทย์จะสามารถให้บริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันในทุกพื้นที่
  • Thumbnail Image
    Item
    โครงสร้างและประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
    กิตติยา เหล็กมั่น; ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    วัตถุประสงคข์องการศึกษาวิจัยครั้งนี้มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการโครงสร้าง องค์การ บริษทั การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างโครงสร้าง องค์การกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์เทคโนโลยีคน/วัฒนธรรมองค์การและการจัดการของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญได้แก่กลุ่มคณะกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น พนักงาน ท้งัอดีตและปัจจุบนัของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มผู้บริหาร หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับดูแล บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รวม จำนวนทั้งหมด 21 คน ผลการศึกษาพัฒนาการของโครงสร้างองค์การ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พบว่า นับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัท ฯ ในปีพ.ศ. 2502-2559 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะที่1 ระหว่าง ปี พ.ศ. 2502-2533 ช่วงการก่อตั้งบริษัท ฯ และเริ่มมีโครงสร้างองค์การอย่างง่าย สายบังคับ บัญชาไม่ซับซ้อน ส่วนระยะที่2 ระหว่างปีพ.ศ. 2534-2549 เป็นช่วงเวลาของการดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทมหาชน จำกัด อย่างเต็มตัวโดยระยะนี้บริษัท ฯ มีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการ มีโครงสร้างที่ขยายขนาด การจัดลำดับขั้น สายบังคับบัญชามีความซับซ้อนและมุ่งเน้นระเบียบใน การดำ เนินงานอย่างเคร่งครัดส่งผลให้โครงสร้างมีลักษณะแบบราชการ โดยจำนวนหน่วยงาน ภายในโครงสร้างองค์การระหว่าง ปีพ.ศ. 2543-2548 ตั้งแต่ระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปมีจำนวน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 24.08 โดยเฉพาะจำนวนหน่วยงานในปี พ.ศ. 2548 มีมากที่สุด ถึง 1,175 หน่วยงาน ซึ่งลักษณะโครงสร้างองค์การดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความอิสระคล่องตัวใน การดำเนินงาน และระยะที่3คือ พ.ศ. 2550-2559 บริษัท ฯ ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนตามแผนปฏิรูปบริษัทฯ ปีพ.ศ. 2558-2560 อย่างไรก็ ตาม บริษัทฯ ได้ดำเนินนโยบายการปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชาเป็นกลุ่มงานและปรับปรุงโครงสร้างองค์การสายงานรวมถึงฝ่ายงานต่างๆ ทำให้จำนวนหน่วยงานในโครงสร้างองค์การลดลง แต่หากพิจาณาโครงสร้างองค์การในปี พ.ศ. 2559 กลับพบว่าฝ่ายงานต่างๆ และตำแหน่งผู้บริหาร หน่วยงานระดับสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนมากเกินความจำเป็น ผลการศึกษาความความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างองค์การกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรมองค์การ และการจัดการของบริษทั การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปีพ.ศ. 2550-2559 พบว่าสิ่งแวดล้อมไม่คงที่และวุ่นวายมากกลยุทธ์เป็นแบบเชิงรับ ด้านเทคโนโลยีมีความซับซ้อนมาก ความหลากหลายของงานสูง คน/วัฒนธรรม บุคลากรบริษัทฯ ยังมี มากเกินความจำเป็น การทำงานของบุคลากรส่วนใหญ่มุ่งเน้นเงินเดือน โบนัสและตำแหน่งงาน มากกว่าความสำเร็จของงานรวมไปถึงความแข็งแกร่งของระบบอุปถัมภ์ในองค์การ โครงสร้าง องค์การเป็นโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักร มุ่งเน้นกฎระเบียบ ลำดับขั้นสายบังคบบัญชามีความซับซ้อน และการจัดการ อำนาจการตัดสินใจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูง ส่งผลให้การ กระจายอำนาจอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้เมื่อนำปัจจัยทั้งหมดมาพิจารณาตามกรอบแนวคิดทฤษฎี โครงสร้างตามสถานการณ์(Structural Contingency Theory) ของ Gareth Morgan สามารถสรุปได้ ว่า ตำแหน่งของปัจจัยต่างๆ ไม่มีความสอดคล้องกันส่งผลทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลองค์การ เท่าที่ควรรวมไปถึงการศึกษาประสิทธิผลของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปีพ.ศ. 2550-2559 พบว่าด้านความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนดำเนินงาน สำหรับภาพรวม สามารถดำเนินการตามแผนงานได้ประมาณร้อยละ 50-60 ด้านผลประกอบการบริษัทฯ ประสบ ปัญหาการขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจัดอันดับสายการบินโดยสถาบันสกายแทรกซ์ (Skytrax) บริษัท ฯ ไม่ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 10 สายการบินที่ดีที่สุดในโลกนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 โดย ภาพรวมสามารถสรุปได้ว่า บริษัท ฯ ยังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุประสิทธิผลได้ ข้อเสนอแนะของการศึกษาคร้ังนี้คือ วางแนวทางการปรับโครงสร้างองค์การให้ชัดเจน และปฏิบัติได้จริง เน้นการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน ปรับสายบังคับบัญชาให้มีความกระชับและไม่ซับซ้อน ลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานในองค์การ สนับสนุนให้มีระบบการ ประสานงานระหว่างหน่วยงาน ในลักษณะร่วมคิด ร่วมทำร่วมรับผิดชอบ ตลอดจนการส่งเสริม การทำงานเป็นทีม จะช่วยให้การปรับปรุงโครงสร้างองค์การประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน : กรณีศึกษาแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า โรงงานผลิตอาหาร อาหารกระป๋อง และอาหารแช่แข็ง จังหวัดสมุทรสาคร
    เสริมขวัญ วงศ์ตลาดขวัญ; ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยระดับคุณภาพชีวิดการทำงาน และวิจัยความสัมพันธ์ ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ โดยทำการวิจัยแรงานต่างด้าวสัญชาติ พม่าที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานอย่างถูกล้องดามกฎหมาย และทำงานอยู่ในโรงงานผลิต อาหาร อาหารกระป้อง และอาหารแช่แข็ง จังหวัดสมุทรสาครทั้งสิ้น 7 โรงงาน จำนวน 375 คน ใช้ การสัมภาษณ์และแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ด้านคุณลักษณะของ ผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน 6 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าตอบแทนที่ เพียงพอและยุติธรรม สภาพการทำงานที่ปลอดภัย โอกาสในการเพิ่มและพัฒนาขีดความสามารถ ในการทำงาน การทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สิทธิและเสรีภาพในการทำงาน ความสมดุระหว่างานกับชีวิดส่วนตัว และด้านความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน 3 ด้าน ซึ่ง ประกอบไปด้วย ความระลึกและกล่าวถึงองค์การในเชิงบวก ความปรารถนาเป็นสมาชิกของ องค์การต่อไป และความทุ่มเทในการทำงาน นำข้อมูลที่ไห้ประมวลผลและวิเคราะห์ผลด้วย โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ในการบรรยายข้อมูลเบื้องต้นผู้วิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ((Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ((Standard Deviation: S.D.) และใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi- square Test) เป็นสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ในการทคสอบสมมติฐานที่ ได้ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมแรงานต่างด้าวสัญชาติพม่ามีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ใน ระดับพึงพอใจมาก โดยมีระดับความพึงพอใจมากเกือบทุกด้าน สำหรับระดับความพึงพอใจมาก ที่สุดคือด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัย โดยมีค่าเฉลี่ย 2.87 รองลงมาคือด้านสิทธิเสริภาพในการทำงาน โดยมีค่าเฉลี่ย 2.83 และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิดส่วนตัว โคยมีค่าเฉสี่ย 2.78 ยกเว้นค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุดิธรรมเพียงด้านเดียวที่มีความพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมี ค่าเฉลี่ย 2.26 สะท้อนให้เห็นว่าในภาพรวม (Total Compensation) แรงงานพม่าล้วนพึงพอใจมาก กับสวัสดิการและคำตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า สถานประกอบการ สามารถบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างตัวเรื่องคำตอบแทนให้มีความ เพียงพอและยุดิธรรมได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อพิจารณาผลการวิจัยในมิติฐานเงินเดือน (Base Salary) พบว่า แรงานพม่ายังมีความกังวลในเรื่องของเงินล่วงเวลา (OT) ที่น้อยลง และค่าครองชีพใน ประเทศไทยที่สูงขึ้น ส่งผลให้การเก็บออมรายได้บางส่วนเพื่อใช้จ่ายในอนาคตไม่เพียงพอ ด้วยเหตุ นี้จึงทำให้ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมมีระดับความพึงพอใจปานกลาง ฉะนั้นการปรับ ขึ้นค่าแรงจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด แต่ควรปรับค่าครองชีพให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ รายได้ ประกอบกับสถานประกอบการควรมีสวัสดิการให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายประเภทอื่น ๆ ที่ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของแรงงานด้วย เช่น อาหารกลางวัน ที่พักพนักงาน รถรับส่ง เป็น ต้น เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตการทำงานด้านคำตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมดียิ่งขึ้น สำหรับการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของแรงานต่างด้าวพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 6 ด้านน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อ องค์การของแรงานต่างด้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้ง ไว้ทั้ง6 ข้อ นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบว่า หากคุณภาพชีวิตในการทำงานดีย่อมส่งผลให้แรงงาน ต่างด้าวเกิดความผูกพันต่อองค์การ ทำให้มีความปรารถนาเป็นสมาชิกขององค์การต่อไป มีความ ระลึกถึงองค์การเสมอ อยากมีส่วนร่วมต่อองค์การและปฏิบัติดามกฎระเบียบขององค์การ ตลอดจน กล่าวถึงองค์การในเชิงบวกและมีความทุ่มเทในการทำงานมากขึ้น ฉะนั้นองค์การควรศึกษา พฤติกรรมหนักงาน เพื่อเข้าใจความต้องการ เข้าถึงความรู้สึก และนำไปสู่การพัฒนาพนักงานและ องค์การ เพื่อวางกรอบแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานให้มีประสิทธิภาท สามารถสนอง ความต้องการของพนักงานได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้เพื่อให้รูปแบบการสร้างคุณภาพชีวิดในการ ทำงานมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของพนักงานแต่ละฝ่ายหรือแผนก ตลอดจน เหมาะสมกับคำนิยมวัฒนธรรมองค์การ องค์กรควรเข้าไปศึกษาพฤติกรรมพนักงานในฝ่ายนั้นๆ ไม่ควรวางกรอบแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานภาพเดียวเพื่อเป็นสูตรสำเร็จ แล้วใช้ พัฒนากับทุกฝ่ายขององค์การ
  • Thumbnail Image
    Item
    การประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรณีศึกษา : สถาบันระดับอุดมศึกษา
    ธนภณริทธิ์ ธนภัทร์เศวตโชติ; พลภัทร บุราคม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การศึกษาวิจัยในคร้ังนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาผู้กู้ยืม เงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อหลกัเกณฑ์การให้กู้ยืม 3) เพื่อศึกษาการกระจายผลประโยชน์ ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาผู้กู้ยืมในระดับอุดมศึกษา ว่าครัวเรือนที่ยากจน สามารถเข้าถึงผลประโยชน์ของกองทุนได้มากน้อยเพียงใด และ 4) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยได้ใช้การศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method Research)โดยใช้ข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลเชิง คุณภาพที่ได้จากการศึกษาทบทวนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวขอ้ง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาของรัฐ และสถาบันการศึกษาในกำกับของรัฐผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษา พบว่าการกำหนดเกณฑ์รายได้ของผู้มีสิทธิกู้ยืมที่สูงเกินไปทำให้กองทุนเงินให้กูย้มืเพื่อ การศึกษาไม่สามารถเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้มีรายได้ต่ำได้อย่างแท้จริงการที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้อำนาจสถานศึกษาในการดำเนินงานให้กู้ยืมมากเกินไป โดยที่ขาดกลไกกำกับ ดูแลและตรวจสอบจากกองทุนฯ ทำให้เกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์จากเงินให้กู้ยืมของ สถานศึกษา การขาดกลไกในการตรวจสอบการจัดสรรเงินกู้ยืม การขาดกลไกการติดตามชำระหนี้คืนที่มีประสิทธิภาพ การขาดกลไกในการติดตามและประเมินผลทำให้การดำเนินงานของกองทุนฯ ผิดพลาด และไม่สามารถประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างตรงเป้าหมาย 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อ หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคร้ังนี้มีความพึงพอใจต่อหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม เงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากทุกด้าน ซึ่งด้านการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินคืน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการกำหนดเงื่อนไขกระบวนการขอกู้ยืมเงิน ด้านการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้กู้ยืม และด้านการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตวงเงินให้กู้ยืมกลุ่มตวัอย่างมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ด้านการกำหนดเงื่อนไขการ ชำระเงินคืน มีความเหมาะสมและมีความเป็นธรรมที่จะช่วยให้คนที่ยากจนสามารถมีสิทธิเข้าถึง การกู้ยืมเงินของกองทุน ในขณะที่ด้านการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตวงเงินให้กู้ยืม ยังไม่มีความเหมาะสมกบัครัวเรือนที่ยากจน และค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษายังไม่เพียงพอ สำหรับการเรียนของคนที่ยากจน จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม พบว่า นักศึกษาผู้กู้ยืมในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และ นักศึกษาผู้กู้ยืมในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์มีความคิดเห็นว่า หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่มหาวิทยาลัยของรัฐและ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีความคิดเห็นว่า หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาผู้กู้ยืมในระดับอุดมศึกษา พบว่า ผลประโยชน์ตกกับครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางมากกว่า ครัวเรือนที่ยากจนที่สุด ทำ ให้โอกาสในการเข้าถึงผลประโยชน์ของกองทุนของครัวเรือนที่ยากจนไม่สามารถ เข้าถึงได้อย่างแท้จริง ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า การกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีการจัดสรรเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ไม่มีความเป็นธรรม 4) ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ได้แก่1) นโยบายการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ผู้มีสิทธิกู้ยืมจากเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่ำ 2) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษาควรมีกลไกการตรวจสอบหรือกำกับดูแลจากกองทุนฯ ในการจัดสรรเงินกู้ยืมเพื่อให้การดำเนินงานให้กู้ของสถานศึกษาในสังกัดมีการให้กู้มีที่ถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง
  • Thumbnail Image
    Item
    ประเด็นปัญหาการจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
    สิริพงษ์ เทยสงวน; อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การวิจัยในครั้งนี้เริ่มจากคำถามวิจัยที่ว่า ประเด็นปัญหาในจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในมุมมองขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงคืออะไร มีหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้อง และจะ มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร เนื่องจากในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ก็ยังคงพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งยังไม่ได้รับการ กระจายอำนาจ โดยเฉพาะในมิติของการจัดสรรงบประมาณยังคงไม่ทั่วถึง ซึ่งในบางพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญและสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล แต่งบประมาณที่กลับคืนสู่ท้องถิ่นหรือชุมชนนั้น ยังไม่เพียงพอและทั่วถึงทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่น รายได้ สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยชิ้นนี้คือ เพื่อศึกษาถึงประเด็นปัญหาใน จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมุมมองขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงคือ อะไร เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลในเชิงลึก และอาจจะนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหาให้กับพื้นที่ที่ผู้วิจัยศึกษาได้ อย่างตรงจุด
  • Thumbnail Image
    Item
    การนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา : สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
    ณัฐธิดา เอื้อประเสริฐ; พลอย สืบวิเศษ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพ กำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา: สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่ มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ งานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยได้ใช้การศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็น หลัก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอยางบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครทั้ง 13แห่ง จำนวน 309 ตัวอย่าง และเสริมด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงผู้บริหาร ระดับต้น ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ข้าราชการบำนาญที่ปรึกษาประจำกลุ่มนโยบายและ แผนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและแผน รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 ท่าน เพื่อทำให้การศึกษาในครั้งนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 1) สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เป็ นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และเกิดจากการรวมตัวของของสถานศึกษาทั้ง 13แห่ง เพื่อเข้าร่วมเป็นสถาบัน ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ซึ่งมีหน้าที่หลักใน การมุ่งสร้างและผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาทั้ง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เมื่อได้รับนโยบายมาแล้วนั้น สถาบันได้ทำการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันการ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อให้ตรงกับบริบทของสถาบัน สถานศึกษาในสังกัดและชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งยึดเป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตามแนวนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกาลังคนอาชีวศึกษา 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไป ปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา โดยรวมอยูในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน 6 ด้าน พบว่า (1) ปัจจัยด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ระดับความคิดเห็นของ บุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (2) ปัจจัยด้านทรัพยากรองค์การ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยูในระดับมาก แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (3) ปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างองค์การ ระดับ ความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (4) ปัจจัยด้านลักษณะขององค์การที่นำไปปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรใน สถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ (5) ปัจจัยด้านเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่า อยูในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ และ (6) ปัจจัยด้านความร่วมมือและการ ตอบสนองของผู้ปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบวาอยู่ ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ตามลำดับ