dc.contributor.advisor | ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | สุมน เบญญศรี | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:17:10Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:17:10Z | |
dc.date.issued | 1966 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1060 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509. | th |
dc.description.abstract | คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2504 คณะกรรมการนี้แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี มีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน คณะกรรมการอื่น ๆ ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ในทางปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สืบสวนผู้มีกรณีเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดให้โทษระหว่างประเทศตามข้อตกลงขององค์การสหประชาชาติหรือที่องค์การตำรวจสากลหรือที่ต่างประเทศขอร้องมา ทั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจ้าหน้าที่กองกำกับการ 7 เป็นกองเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติงานนี้อีกด้วย. | th |
dc.description.abstract | จากการศึกษาปรากฏว่า การบริหารงานของคณะกรรมการเป็นการบริหารงานที่ดีประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการประสานงาน และการวินิจฉัยสั่งการเพื่อให้งานในด้านการป้องกันปราบปรามสัมฤทธิผล อย่างไรก็ดียังมีอุปสรรคบางประการซึ่งควรจะได้นำมาแก้ไข อุปสรรคเหล่านี้ได้แก่.- | th |
dc.description.abstract | 1. เจ้าหน้าที่ในการดำเนินงาน กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ในการปราบปรามมีกำลังคนไม่เพียงพอ การปราบปรามยาเสพติดให้โทษจึงหาได้หยุดยั้งหรือเบาบางลงได้เร็วเท่าที่ควร ควรหาทางเพิ่มกำลังคน และควรพิจารณาในด้านขวัญและมูลเหตุจูงใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น และควรจะได้ขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการข่าวกรองซึ่งอาจเป็นทหารหรือตำรวจ | th |
dc.description.abstract | 2. การดำเนินงานด้านบำบัดรักษา การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดนั้นมิได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์อย่างแท้จริง ผู้ที่เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นประเภทสมัครใจ สามารถเข้าและออกจากสถานบำบัดตามความพอใจ ทั้งไม่สามารถจะอยู่รักษาได้นานพอสมควร ควรที่ทางราชการจะได้จัดสถานพยาบาลเพิ่มขึ้น เพิ่มนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีระเบียบข้อบังคับให้ผู้ติดยาเสพติดรักษาตัวในระยะยาวจนหายเป็นปกติ | th |
dc.description.abstract | 3. การประสานงานกับต่างประเทศ ควรจะได้มีการกระชับการประสานงานระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ลาว หรือทางแถบชายแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย. | th |
dc.format.extent | 149 หน้า. | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.subject.lcc | RC 568 .O6 ส46 | th |
dc.subject.other | ยาเสพติด -- การควบคุม | th |
dc.title | การปราบปรามยาเสพติดให้โทษของคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ | th |
dc.type | Text | th |
dcterms.accessRights | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น | th |
dc.rights.holder | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | en |
thesis.degree.name | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต | en |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | th |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | th |