• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ เปรียบเทียบกับร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

by ภาวดี เกิดทุ่งยั้ง

Title:

การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ เปรียบเทียบกับร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Other title(s):

Study analysis of the problem about building and land tax and local development tax compare with draft land and building tax

Author(s):

ภาวดี เกิดทุ่งยั้ง

Advisor:

พลภัทร บุราคม, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2012.24

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษี บำรุงท้องที่ เปรียบเทียบกับร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อ ศึกษาถึงลักษณะสำคัญของภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ว่ามีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร 2) เพื่อศึกษาถึงลักษณะสำคัญของร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นร่างภาษีทรัพย์สินฉบับใหม่ ที่จะนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ว่ามีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร และ 3) เพื่อสรุปหาแนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยใช้การ วิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสาร ผลจากการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ภาษีที่ดี อันประกอบด้วย หลักความแน่นอน หลักความ เป็นธรรม หลักการอำนวยรายได้ และหลักความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ พบว่า ภาษีโรงเรือนและ ที่ดินที่จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475และภาษีบำรุงท้องที่ที่จัดเก็บ ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ภาษีที่ดี และ จากการวิเคราะห์ภายใต้หลักแกณฑ์ดียวกัน พบว่า ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ภาษีที่ดี ที่สามารถแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีภายใต้ พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508ได้ ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ยังมีข้อสังเกตบางประการที่ นำไปสู่การเสนอแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีข้อสรุปว่า ฐานภาษีและ ทรัพย์สินที่จัดเก็บ คือ ฐานภาษีและทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 21และมาตรา 6 แห่งร่าง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. .... (ฉบับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553) ในส่วนอัตรา ภาษี มีข้อเสนอ 3 ประการคือ 1) ควรเพิ่มอัตราภาษีส าหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประกอบการ เชิงพาณิชย์ ให้มีอัตราสูงขึ้น 2) ควรกำหนดอัตราภาษีในแต่ละลักษณะการใช้ประโยชน์ให้เป็น อัตราภาษีก้าวหน้าตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และ 3) ยกเลิกเพดานภาษีส าหรับที่ดินที่ทิ้ง ไว้ว่างเปล่าและกำหนดอัตราภาษีก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน และในส่วนข้อยกเว้นข้อ ลดหย่อนภาษี ควรมีการยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้อยู่อาศัย ที่มีมูลค่าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินที่กำหนดต้องมีความ แตกต่างกันตามความเจริญของแต่ละท้องที่

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012

Subject(s):

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีบำรุงท้องที่

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

12, 217 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1100
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b176601.pdf ( 3,394.68 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×