dc.contributor.advisor | ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | ประทีป คลังทอง | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:17:26Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:17:26Z | |
dc.date.issued | 1967 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1119 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510. | th |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องนี้มุ่งเน้นถึงเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน จากการศึกษากฎหมายแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานปรากฏว่า กฎหมายค่าทดแทนที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถให้ความคุ้มครองและให้ประโยชน์ทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายตามที่กำหนดไว้ได้อย่างแท้จริง ข้อบกพร่องของกฎหมายนี้ยังเป็นอุปสรรคขัดข้องต่อการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพตามต้องการได้ ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และวิธีการดำเนินงานในเรื่องนี้ไว้ใหม่ คือ.- | th |
dc.description.abstract | 1. กำหนดบทบัญญัติให้นายจ้างรับผิดชอบในเรื่องค่าทดแทนไว้แน่นอน ในกรณีที่มีการรับเหมางานกันทำโดยการกำหนดให้ผู้รับเหมาหลักเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าทดแทน | th |
dc.description.abstract | 2. ให้กำหนดความหมายของคำว่าลูกจ้างชั่วคราวโดยพิจารณาว่างานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าโดยตรง แม้ว่างานจะมีลักษณะเป็นงานชั่วคราว มีระยะสั้นก็จะไม่ถือว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราว และมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าทดแทน | th |
dc.description.abstract | 3. ให้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการตกลงปรานีประนอมค่าทดแทนไว้ | th |
dc.description.abstract | 4. ให้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นเงินก้อน | th |
dc.description.abstract | 5. ให้กำหนดบทบัญญัติลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายไว้ | th |
dc.description.abstract | 6. กำหนดให้นายจ้างประกันค่าทดแทนของลูกจ้างไว้ | th |
dc.description.abstract | 7. เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างมีความเข้าใจในหลักการและวิธีการดำเนินงานค่าทดแทน ตลอดจนวัตถุประสงค์ของค่าทดแทน | th |
dc.description.abstract | 8. สมควรจะได้มีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการดำเนินงานค่าทดแทน โดยกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่แจ้งการประสบอันตราย ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องเรียนเรียกค่าทดแทน โดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ถ้าการจ่ายเงินไม่เป็นไปตามกฎหมาย ลูกจ้างยังคงมีสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนได้ใหม่ เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ ๆ จะชี้แจงว่าลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนอย่างไรบ้าง ตลอดจนมีหน้าที่ดูแลให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ในกรณีที่นายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าทดแทน นายจ้างต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนถึงเวลาเริ่มต้นจ่ายค่าทดแทนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และเมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งกันในเรื่องค่าทดแทน ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยข้อขัดแย้งโดยเร็วที่สุด | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2014-05-05T09:17:26Z (GMT). No. of bitstreams: 2
nida-ths-b7387.pdf: 4363042 bytes, checksum: 99fde32f667868aa894dc95d35a8027c (MD5)
nida-ths-b7387ab.pdf: 284141 bytes, checksum: 106e5cd91a44872628818f075b5c9d73 (MD5)
Previous issue date: 1967 | th |
dc.format.extent | 138 หน้า. | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | ลูกจ้าง | th |
dc.subject | แรงงาน | th |
dc.subject | กฎหมายแรงงาน | th |
dc.subject.lcc | HD 7816 .T3 ป17 | th |
dc.subject.other | ค่าทดแทน -- ไทย | th |
dc.title | ค่าทดแทนของลูกจ้างที่ประสพอันตรายในการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีการบริหารงานของกรมแรงงานในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | th |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | th |