ระบบศักดินากับการบริหารราชการ
Publisher
Issued Date
1967
Issued Date (B.E.)
2510
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
209 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วินัย ชวนประพันธ์ (1967). ระบบศักดินากับการบริหารราชการ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1172.
Title
ระบบศักดินากับการบริหารราชการ
Alternative Title(s)
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ผู้เขียนมุ่งศึกษาเรื่องราวของระบบศักดินาในประเทศไทยในรูปของประวัติและวิวัฒนาการในแต่ละยุคแต่ละสมัย ตั้งแต่เริ่มเกิดขึ้นและได้วิวัฒนาการมา ตลอดจนการนำระบบศักดินาไปใช้เกี่ยวข้องกับกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมของสังคม จนกระทั่งระบบศักดินาต้องถูกยกเลิกไป ในตอนสุดท้ายได้ศึกษาถึงผลอันเกิดจากระบบศักดินาในวงราชการไทยในปัจจุบัน
จากผลการศึกษาปรากฏว่า ระบบศักดินามีอิทธิพลแฝงอยู่ในการบริหารราชการของไทยในปัจจุบันอยู่เป็นอันมาก เป็นต้นว่าเกี่ยวกับพฤติกรรมในการบริหาร ข้าราชการไทยปฏิบัติตนเป็นเจ้าขุนมูลนายประชาชน มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ประชาชนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ข้าราชการไม่จำเป็นต้องมี นอกจากนี้สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ก็คือระบบศักดินาทำให้เกิดการรวมอำนาจขึ้นอย่างแข็งแรง ทำให้ประชาชนไทยต้องห่างเหินกับฝ่ายบริหาร มิได้เป็นผู้ควบคุมการบริหารงานของรัฐ อย่างไรก็ดีผู้เขียนเห็นว่าระบบศักดินายังมีประโยชน์อยู่บ้างคือ ทำให้มีเกณฑ์ในการรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้คนไทยมีลักษณะปกครองง่าย เพราะความเคารพในผู้มีอาวุโส ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะแก้ไขข้อเสียต่าง ๆ ของระบบศักดินา โดยให้แก้ไขพร้อม ๆ กันไปทั้งสองด้าน คือ ด้านข้าราชการและด้านประชาชน.-
1. ด้านข้าราชการ ควรให้ได้รับการฝึกอบรมทางวิชาการแผนใหม่ให้มากที่สุด เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติเก่า ๆ ให้มีการตรวจราชการโดยตรวจตัวคนที่ปฏิบัติงานว่ามีการปฏิบัติต่อผู้มาติดต่ออย่างไร ถ้าพบว่าใครยังทำตัวเป็นเจ้าขุนมูลนายอยู่ต้องลงโทษทันที รัฐบาลควรพยายามกระจายอำนาจไปให้ประชาชน ให้ข้าราชการเข้าถึงประชาชนโดยทำตนเป็นกันเอง แม้แต่ภายในวงราชการด้วยกันเอง ผู้บังคับบัญชาควรทำตนเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา นอกจากนี้ควรพยายามทำให้ประชาชนชาวไทยหันมาสนใจในการควบคุมฝ่ายบริหารเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใส รัฐต้องดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชนอย่างจริงจัง.
2. ด้านประชาชน รัฐบาลต้องเร่งให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง และยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ประชาชนกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น ท่าทีของประชาชนที่มีต่อข้าราชการแบบเดิมก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น ประเทศไทยก็จะได้เป็นประชาธิปไตยตามอุดมการณ์ที่วางไว้.
จากผลการศึกษาปรากฏว่า ระบบศักดินามีอิทธิพลแฝงอยู่ในการบริหารราชการของไทยในปัจจุบันอยู่เป็นอันมาก เป็นต้นว่าเกี่ยวกับพฤติกรรมในการบริหาร ข้าราชการไทยปฏิบัติตนเป็นเจ้าขุนมูลนายประชาชน มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ประชาชนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ข้าราชการไม่จำเป็นต้องมี นอกจากนี้สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ก็คือระบบศักดินาทำให้เกิดการรวมอำนาจขึ้นอย่างแข็งแรง ทำให้ประชาชนไทยต้องห่างเหินกับฝ่ายบริหาร มิได้เป็นผู้ควบคุมการบริหารงานของรัฐ อย่างไรก็ดีผู้เขียนเห็นว่าระบบศักดินายังมีประโยชน์อยู่บ้างคือ ทำให้มีเกณฑ์ในการรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้คนไทยมีลักษณะปกครองง่าย เพราะความเคารพในผู้มีอาวุโส ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะแก้ไขข้อเสียต่าง ๆ ของระบบศักดินา โดยให้แก้ไขพร้อม ๆ กันไปทั้งสองด้าน คือ ด้านข้าราชการและด้านประชาชน.-
1. ด้านข้าราชการ ควรให้ได้รับการฝึกอบรมทางวิชาการแผนใหม่ให้มากที่สุด เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติเก่า ๆ ให้มีการตรวจราชการโดยตรวจตัวคนที่ปฏิบัติงานว่ามีการปฏิบัติต่อผู้มาติดต่ออย่างไร ถ้าพบว่าใครยังทำตัวเป็นเจ้าขุนมูลนายอยู่ต้องลงโทษทันที รัฐบาลควรพยายามกระจายอำนาจไปให้ประชาชน ให้ข้าราชการเข้าถึงประชาชนโดยทำตนเป็นกันเอง แม้แต่ภายในวงราชการด้วยกันเอง ผู้บังคับบัญชาควรทำตนเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา นอกจากนี้ควรพยายามทำให้ประชาชนชาวไทยหันมาสนใจในการควบคุมฝ่ายบริหารเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใส รัฐต้องดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชนอย่างจริงจัง.
2. ด้านประชาชน รัฐบาลต้องเร่งให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง และยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ประชาชนกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น ท่าทีของประชาชนที่มีต่อข้าราชการแบบเดิมก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น ประเทศไทยก็จะได้เป็นประชาธิปไตยตามอุดมการณ์ที่วางไว้.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.