• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาการคลังท้องถิ่นศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย

by ปิยธิดา โคกโพธิ์

Title:

ปัญหาการคลังท้องถิ่นศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย

Other title(s):

Local fiscal problems : a case study of Nikhom Kham Soi Municipality

Author(s):

ปิยธิดา โคกโพธิ์

Advisor:

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยปัญหาการคลังท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาทางการคลัง ท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย โดยใช้การศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ และการ สัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย มีปัญหาทางการคลังได้แก่ 1) ปัญหาด้าน การจัดหารายได้ที่คล้ายกับเทศบาลอื่นๆจาการศึกษา พบว่า เทศบาลยังมีการพึ่งพาเงินอุดหนุนจาก รัฐอยู่มาก เทศบาลได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐน้อยลงแต่ได้รับภารกิจที่มากขึ้นส่งผลให้ งบประมาณไม่พอต่อรายจ่าย และไม่มีเงินเหลือเพื่อพัฒนาเทศบาลในด้านอื่น ตลอดจนปัญหาอัตรา การเก็บภาษีท้องถิ่นไม่มีการปรับปรุง ในส่วนของปัญหาการคลังท้องถิ่นที่เกิดขึ้นเฉพาะเทศบาล ตำบลนิคมคำสร้อย ได้แก่ เงินงบประมาณในแต่ละงวดจากส่วนกลางล่าช้า การจัดเก็บรายได้ของ เทศบาลไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เทศบาลขาดการจัดการที่ดีในการดำเนินการจัดเก็บ และ ปัญหาเทศบาลขาดแหล่งรายได้ใหม่ๆ 2) ปัญหาด้านการบริหารการคลัง พบว่า สมาชิกสภา เทศบาลยังไม่เข้าใจกระบวนการบริหารงบประมาณ การจัดทำงบประมาณยังเป็นรายจ่ายประจำ ยัง ไม่มีการใช้จ่ายในงบลงทุน ปัญหาการจัดการขยะที่ส่งผลต่องบประมาณในการจัดการ 3) ปัญหา การขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานการคลังท้องถิ่นและการเลี่ยงภาษี พบว่า ประชาชนขาด ความเข้าใจและขาดความสนใจต่อการเสียภาษีท้องถิ่นประจำปี การมีส่วนร่วมของประชาชนใน การตรวจสอบด้านการบริหารการคลังของเทศบาลเป็นเพียงการส่งผ่านตัวแทนเพียงแค่บางส่วน แต่ ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดกระตือรือร้น สาเหตุของปัญหาการคลังท้องถิ่น เกิดจากสาเหตุ 6 ด้าน คือ 1) ด้านกฎหมายในการจัดหารายได้ที่จำกัดและการบริหารการคลังท้องถิ่นที่ไม่เอื้อต่อการ พัฒนาแหล่งรายได้ใหม่ 2) ด้านการเมืองภายในท้องถิ่น 3) ด้านบุคลากรและเครื่องมือในการ อำนวยความสะดวกในการบริหารการคลังท้องถิ่น 4) ด้านสภาพภูมิประเทศ 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ กับประชาชนในพื้น และ6) ด้านนโยบายของรัฐบาล
จากการศึกษา ได้ข้อเสนอแนะและพบข้อสังเกตจากการศึกษา คือ การให้ข้อมูลของฝ่าย เทศบาลและฝ่ายประชาชน (ผู้นำชุมชน) มีความแตกต่างกันในจุดเน้น ฝ่ายเทศบาลจะแสดงถึง ปัญหาทางการคลังของเทศบาลว่าเกิดจากนโยบายของรัฐบาลและกฎระเบียบทางกฎหมายที่ไม่เอื้อ ต่อการบริหารงานทางการคลังที่ดี เทศบาลถูกจัดสรรเงินอุดหนุนได้ไม่ถึงเป้าตามที่พระราชบัญญัติ การกระจายอำนาจกำหนด และถูกกระจายหน้าที่มากจนส่งผลต่องบประมาณที่เหลือสำหรับการ พัฒนาในส่วนอื่นของเทศบาลที่น้อยลง รวมถึงข้อจำกัดของพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลที่สภาพ เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเกษตร ดังนั้นการจัดเก็บภาษีจึงทำได้น้อย และประชาชนก็ไม่ได้มี ความกระตือรือร้นในการเสียภาษี ดังนั้นข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในมุมของเทศบาล จึงต้องการให้รัฐจัดสรรเงินให้ครบตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด และเพิ่มแหล่งการจัดเก็บภาษีให้ ท้องถิ่นได้จัดเก็บเองมากขึ้น เพื่อท้องถิ่นจะได้มีรายได้เป็นของตนเอง ไม่ต้องรอรับจากรัฐบาลจน เสียอิสระในการบริหารทางการคลัง รวมทั้งประชาชนต้องมีความยินยอมและกระตือรือร้นในการ เสียภาษีให้มากขึ้น ส่วนในมุมของประชาชนกลับมองปัญหาทางการบริหารทางการคลังเน้นในอีก มุมหนึ่ง คือ เทศบาลไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย ดังนั้นประชาชนจึงไม่รับทราบข้อมูล ดังกล่าว จนทำให้ขาดการตรวจสอบทางการคลัง ดังนั้นทางแก้ไขปัญหาในมุมของประชาชนจึง ควรให้เทศบาลได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรายรับรายจ่ายและลงพื้นที่ในชุมชนมากขึ้น ชี้แจงแสดง รายละเอียดรายรับรายจ่ายแต่ละโครงการเพื่อประชาชนจะได้รับทราบถึงข้อมูลทางการคลังได้ รวมถึงประชาชนต้องการให้แบ่งสรรงบประมาณมาพัฒนาในพื้นที่ที่ประชาชนอยู่ให้ทั่วถึงมากขึ้นด้วย จากจุดเน้นที่ต่างกันมีความน่าสนใจคือ ระหว่างเทศบาลกับประชาชน ต่างฝ่ายต่างมองเน้นที่ ผลประโยชน์และข้อเสียเปรียบที่ตนเองได้รับ และมองข้อเสียของตนเองน้อยมากทำให้ขาดการ ปรับปรุงตนเอง ทำให้เห็นถึงภาวะต่างคนต่างทำ ต่างคิด ต่างมอง สะท้อนถึงการขาดการมีส่วนร่วม ในการช่วยกันแก้ปัญหาการคลังท้องถิ่นที่เกิดขึ้น ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันเป็ น อุปสรรคหนึ่งที่ขัดขวางการกระจายอำนาจและระบอบประชาธิปไตยไทยให้เดินช้าลง

Subject(s):

การคลังท้องถิ่น -- ไทย -- มุกดาหาร -- นิคมคำสร้อย
การคลังเทศบาล -- ไทย -- มุกดาหาร -- นิคมคำสร้อย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

12, 149 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2421
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b181846.pdf ( 3,194.71 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×