ปัญหาการคลังท้องถิ่นศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย
Publisher
Issued Date
2012
Issued Date (B.E.)
2555
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
12, 149 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b181846
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปิยธิดา โคกโพธิ์ (2012). ปัญหาการคลังท้องถิ่นศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2421.
Title
ปัญหาการคลังท้องถิ่นศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย
Alternative Title(s)
Local fiscal problems : a case study of Nikhom Kham Soi Municipality
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยปัญหาการคลังท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาทางการคลัง
ท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย โดยใช้การศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ และการ
สัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย มีปัญหาทางการคลังได้แก่ 1) ปัญหาด้าน การจัดหารายได้ที่คล้ายกับเทศบาลอื่นๆจาการศึกษา พบว่า เทศบาลยังมีการพึ่งพาเงินอุดหนุนจาก รัฐอยู่มาก เทศบาลได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐน้อยลงแต่ได้รับภารกิจที่มากขึ้นส่งผลให้ งบประมาณไม่พอต่อรายจ่าย และไม่มีเงินเหลือเพื่อพัฒนาเทศบาลในด้านอื่น ตลอดจนปัญหาอัตรา การเก็บภาษีท้องถิ่นไม่มีการปรับปรุง ในส่วนของปัญหาการคลังท้องถิ่นที่เกิดขึ้นเฉพาะเทศบาล ตำบลนิคมคำสร้อย ได้แก่ เงินงบประมาณในแต่ละงวดจากส่วนกลางล่าช้า การจัดเก็บรายได้ของ เทศบาลไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เทศบาลขาดการจัดการที่ดีในการดำเนินการจัดเก็บ และ ปัญหาเทศบาลขาดแหล่งรายได้ใหม่ๆ 2) ปัญหาด้านการบริหารการคลัง พบว่า สมาชิกสภา เทศบาลยังไม่เข้าใจกระบวนการบริหารงบประมาณ การจัดทำงบประมาณยังเป็นรายจ่ายประจำ ยัง ไม่มีการใช้จ่ายในงบลงทุน ปัญหาการจัดการขยะที่ส่งผลต่องบประมาณในการจัดการ 3) ปัญหา การขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานการคลังท้องถิ่นและการเลี่ยงภาษี พบว่า ประชาชนขาด ความเข้าใจและขาดความสนใจต่อการเสียภาษีท้องถิ่นประจำปี การมีส่วนร่วมของประชาชนใน การตรวจสอบด้านการบริหารการคลังของเทศบาลเป็นเพียงการส่งผ่านตัวแทนเพียงแค่บางส่วน แต่ ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดกระตือรือร้น สาเหตุของปัญหาการคลังท้องถิ่น เกิดจากสาเหตุ 6 ด้าน คือ 1) ด้านกฎหมายในการจัดหารายได้ที่จำกัดและการบริหารการคลังท้องถิ่นที่ไม่เอื้อต่อการ พัฒนาแหล่งรายได้ใหม่ 2) ด้านการเมืองภายในท้องถิ่น 3) ด้านบุคลากรและเครื่องมือในการ อำนวยความสะดวกในการบริหารการคลังท้องถิ่น 4) ด้านสภาพภูมิประเทศ 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ กับประชาชนในพื้น และ6) ด้านนโยบายของรัฐบาล
จากการศึกษา ได้ข้อเสนอแนะและพบข้อสังเกตจากการศึกษา คือ การให้ข้อมูลของฝ่าย เทศบาลและฝ่ายประชาชน (ผู้นำชุมชน) มีความแตกต่างกันในจุดเน้น ฝ่ายเทศบาลจะแสดงถึง ปัญหาทางการคลังของเทศบาลว่าเกิดจากนโยบายของรัฐบาลและกฎระเบียบทางกฎหมายที่ไม่เอื้อ ต่อการบริหารงานทางการคลังที่ดี เทศบาลถูกจัดสรรเงินอุดหนุนได้ไม่ถึงเป้าตามที่พระราชบัญญัติ การกระจายอำนาจกำหนด และถูกกระจายหน้าที่มากจนส่งผลต่องบประมาณที่เหลือสำหรับการ พัฒนาในส่วนอื่นของเทศบาลที่น้อยลง รวมถึงข้อจำกัดของพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลที่สภาพ เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเกษตร ดังนั้นการจัดเก็บภาษีจึงทำได้น้อย และประชาชนก็ไม่ได้มี ความกระตือรือร้นในการเสียภาษี ดังนั้นข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในมุมของเทศบาล จึงต้องการให้รัฐจัดสรรเงินให้ครบตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด และเพิ่มแหล่งการจัดเก็บภาษีให้ ท้องถิ่นได้จัดเก็บเองมากขึ้น เพื่อท้องถิ่นจะได้มีรายได้เป็นของตนเอง ไม่ต้องรอรับจากรัฐบาลจน เสียอิสระในการบริหารทางการคลัง รวมทั้งประชาชนต้องมีความยินยอมและกระตือรือร้นในการ เสียภาษีให้มากขึ้น ส่วนในมุมของประชาชนกลับมองปัญหาทางการบริหารทางการคลังเน้นในอีก มุมหนึ่ง คือ เทศบาลไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย ดังนั้นประชาชนจึงไม่รับทราบข้อมูล ดังกล่าว จนทำให้ขาดการตรวจสอบทางการคลัง ดังนั้นทางแก้ไขปัญหาในมุมของประชาชนจึง ควรให้เทศบาลได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรายรับรายจ่ายและลงพื้นที่ในชุมชนมากขึ้น ชี้แจงแสดง รายละเอียดรายรับรายจ่ายแต่ละโครงการเพื่อประชาชนจะได้รับทราบถึงข้อมูลทางการคลังได้ รวมถึงประชาชนต้องการให้แบ่งสรรงบประมาณมาพัฒนาในพื้นที่ที่ประชาชนอยู่ให้ทั่วถึงมากขึ้นด้วย จากจุดเน้นที่ต่างกันมีความน่าสนใจคือ ระหว่างเทศบาลกับประชาชน ต่างฝ่ายต่างมองเน้นที่ ผลประโยชน์และข้อเสียเปรียบที่ตนเองได้รับ และมองข้อเสียของตนเองน้อยมากทำให้ขาดการ ปรับปรุงตนเอง ทำให้เห็นถึงภาวะต่างคนต่างทำ ต่างคิด ต่างมอง สะท้อนถึงการขาดการมีส่วนร่วม ในการช่วยกันแก้ปัญหาการคลังท้องถิ่นที่เกิดขึ้น ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันเป็ น อุปสรรคหนึ่งที่ขัดขวางการกระจายอำนาจและระบอบประชาธิปไตยไทยให้เดินช้าลง
ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย มีปัญหาทางการคลังได้แก่ 1) ปัญหาด้าน การจัดหารายได้ที่คล้ายกับเทศบาลอื่นๆจาการศึกษา พบว่า เทศบาลยังมีการพึ่งพาเงินอุดหนุนจาก รัฐอยู่มาก เทศบาลได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐน้อยลงแต่ได้รับภารกิจที่มากขึ้นส่งผลให้ งบประมาณไม่พอต่อรายจ่าย และไม่มีเงินเหลือเพื่อพัฒนาเทศบาลในด้านอื่น ตลอดจนปัญหาอัตรา การเก็บภาษีท้องถิ่นไม่มีการปรับปรุง ในส่วนของปัญหาการคลังท้องถิ่นที่เกิดขึ้นเฉพาะเทศบาล ตำบลนิคมคำสร้อย ได้แก่ เงินงบประมาณในแต่ละงวดจากส่วนกลางล่าช้า การจัดเก็บรายได้ของ เทศบาลไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เทศบาลขาดการจัดการที่ดีในการดำเนินการจัดเก็บ และ ปัญหาเทศบาลขาดแหล่งรายได้ใหม่ๆ 2) ปัญหาด้านการบริหารการคลัง พบว่า สมาชิกสภา เทศบาลยังไม่เข้าใจกระบวนการบริหารงบประมาณ การจัดทำงบประมาณยังเป็นรายจ่ายประจำ ยัง ไม่มีการใช้จ่ายในงบลงทุน ปัญหาการจัดการขยะที่ส่งผลต่องบประมาณในการจัดการ 3) ปัญหา การขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานการคลังท้องถิ่นและการเลี่ยงภาษี พบว่า ประชาชนขาด ความเข้าใจและขาดความสนใจต่อการเสียภาษีท้องถิ่นประจำปี การมีส่วนร่วมของประชาชนใน การตรวจสอบด้านการบริหารการคลังของเทศบาลเป็นเพียงการส่งผ่านตัวแทนเพียงแค่บางส่วน แต่ ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดกระตือรือร้น สาเหตุของปัญหาการคลังท้องถิ่น เกิดจากสาเหตุ 6 ด้าน คือ 1) ด้านกฎหมายในการจัดหารายได้ที่จำกัดและการบริหารการคลังท้องถิ่นที่ไม่เอื้อต่อการ พัฒนาแหล่งรายได้ใหม่ 2) ด้านการเมืองภายในท้องถิ่น 3) ด้านบุคลากรและเครื่องมือในการ อำนวยความสะดวกในการบริหารการคลังท้องถิ่น 4) ด้านสภาพภูมิประเทศ 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ กับประชาชนในพื้น และ6) ด้านนโยบายของรัฐบาล
จากการศึกษา ได้ข้อเสนอแนะและพบข้อสังเกตจากการศึกษา คือ การให้ข้อมูลของฝ่าย เทศบาลและฝ่ายประชาชน (ผู้นำชุมชน) มีความแตกต่างกันในจุดเน้น ฝ่ายเทศบาลจะแสดงถึง ปัญหาทางการคลังของเทศบาลว่าเกิดจากนโยบายของรัฐบาลและกฎระเบียบทางกฎหมายที่ไม่เอื้อ ต่อการบริหารงานทางการคลังที่ดี เทศบาลถูกจัดสรรเงินอุดหนุนได้ไม่ถึงเป้าตามที่พระราชบัญญัติ การกระจายอำนาจกำหนด และถูกกระจายหน้าที่มากจนส่งผลต่องบประมาณที่เหลือสำหรับการ พัฒนาในส่วนอื่นของเทศบาลที่น้อยลง รวมถึงข้อจำกัดของพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลที่สภาพ เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเกษตร ดังนั้นการจัดเก็บภาษีจึงทำได้น้อย และประชาชนก็ไม่ได้มี ความกระตือรือร้นในการเสียภาษี ดังนั้นข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในมุมของเทศบาล จึงต้องการให้รัฐจัดสรรเงินให้ครบตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด และเพิ่มแหล่งการจัดเก็บภาษีให้ ท้องถิ่นได้จัดเก็บเองมากขึ้น เพื่อท้องถิ่นจะได้มีรายได้เป็นของตนเอง ไม่ต้องรอรับจากรัฐบาลจน เสียอิสระในการบริหารทางการคลัง รวมทั้งประชาชนต้องมีความยินยอมและกระตือรือร้นในการ เสียภาษีให้มากขึ้น ส่วนในมุมของประชาชนกลับมองปัญหาทางการบริหารทางการคลังเน้นในอีก มุมหนึ่ง คือ เทศบาลไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย ดังนั้นประชาชนจึงไม่รับทราบข้อมูล ดังกล่าว จนทำให้ขาดการตรวจสอบทางการคลัง ดังนั้นทางแก้ไขปัญหาในมุมของประชาชนจึง ควรให้เทศบาลได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรายรับรายจ่ายและลงพื้นที่ในชุมชนมากขึ้น ชี้แจงแสดง รายละเอียดรายรับรายจ่ายแต่ละโครงการเพื่อประชาชนจะได้รับทราบถึงข้อมูลทางการคลังได้ รวมถึงประชาชนต้องการให้แบ่งสรรงบประมาณมาพัฒนาในพื้นที่ที่ประชาชนอยู่ให้ทั่วถึงมากขึ้นด้วย จากจุดเน้นที่ต่างกันมีความน่าสนใจคือ ระหว่างเทศบาลกับประชาชน ต่างฝ่ายต่างมองเน้นที่ ผลประโยชน์และข้อเสียเปรียบที่ตนเองได้รับ และมองข้อเสียของตนเองน้อยมากทำให้ขาดการ ปรับปรุงตนเอง ทำให้เห็นถึงภาวะต่างคนต่างทำ ต่างคิด ต่างมอง สะท้อนถึงการขาดการมีส่วนร่วม ในการช่วยกันแก้ปัญหาการคลังท้องถิ่นที่เกิดขึ้น ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันเป็ น อุปสรรคหนึ่งที่ขัดขวางการกระจายอำนาจและระบอบประชาธิปไตยไทยให้เดินช้าลง