ปัญหาเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนในประเทศไทย
by บงกช เอกกาญธนกร
Title: | ปัญหาเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนในประเทศไทย |
Other title(s): | The problems of carrying firearms in Thailand |
Author(s): | บงกช เอกกาญธนกร |
Advisor: | ปิยะนุช โปตะวณิช |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2014 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืน กล่าวคือ มาตรา 371 ของประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้ เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ และมาตรา 72 ทวิ ทั้งยังศึกษากฎหมาย เกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนของต่างประเทศ อันได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐนิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสิงคโปร์ เพื่อดูแนวทางที่ต่างประเทศใช้ ปฏิบัติ และแนวคิดในการ พัฒนากฎหมายของต่างประเทศ โดยการศึกษานี้จะศึกษาเฉพาะการพกพาอาวุธปืนที่ถูกต้องตาม กฎหมาย หรือ อาวุธปืนที่มีทะเบียน เนื่องจากได้ตระหนักถึงปัญหาอาชญากรรมอันเกิดขึ้นจากการ พกพาอาวุธปืนไปยังที่เมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ เพื่อศึกษาถึงปัญหาของบทบัญญัติกฎหมายใน เรื่องของการพกพาอาวุธปืน และปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน ติดตัว เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนของประเทศไทย เพื่อให้สามารถนาไปใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนและหลักเกณฑ์และวิธีการออก ใบอนุญาตพกพาอาวุธปืนติดตัวยังมีปัญหาบางประการ กล่าวคือ ปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนของ บทบัญญัติของการพกพาอาวุธปืน ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะและวิธีการพาอาวุธปืน และความหมายของ คาว่า “อาวุธปืน” ปัญหาเกี่ยวกับการพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง ข้อยกเว้นในเรื่อง “เหตุจาเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์” ปัญหาเรื่องความเหมาะสมของ บทลงโทษ ซึ่งการพกพาอาวุธปืนกระทบต่อความปลอดภัยของสาธารณะ กระทบต่อความสงบ เรียบร้อยของสังคม และเป็นสาเหตุหนึ่งในการก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมนั้นมีโทษเบากว่าโทษการ มีอาวุธปืนอันไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนไว้เพื่อใช้ป้องกันตัวภายในบ้านหรือเคหสถาน และ ปัญหาเรื่องการกาหนด กฎ ระเบียบ เงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นขอใบอนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว อัน เกี่ยวกับคุณสมบัติและวิธีการขอมีใบอนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนโดยผ่านองค์กรนิติ บัญญัติเพื่อให้มีการกลั่นกรองกฎหมายและออกกฎกระทรวงในเรื่องการกาหนดลักษณะและการพา อาวุธปืน กาหนดนิยามคาว่า “อาวุธปืน” และ “เหตุจาเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ให้ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น กาหนดโทษของการฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนให้สูงกว่า โทษมีอาวุธปืนอันไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ในการขอออกใบอนุญาตพกพาอาวุธปืนติดตัวนั้น มีการกาหนดคุณสมบัติ หลักฐานการยื่นขออนุญาตขอมีใบอนุญาตพกพาอาวุธปืนติดตัวเพิ่มมากขึ้น เช่น หลักฐานใบรับรองแพทย์เกี่ยวกับสุขภาพจิต กาหนดวัตถุประสงค์ในการขอใบอนุญาตพกพาอาวุธ ปืนให้ชัดเจน จัดให้มีการฝึกอบรมการยิงปืนและกาหนดให้มีการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติเพื่อให้ ทราบได้ว่าบุคคลผู้มาขอใบอนุญาตพกพาอาวุธปืนติดตัวนั้นสามารถใช้ปืนได้โดยวิธีที่ถูกต้องและใช้ปืน เป็น กาหนดอาชีพสาหรับผู้สามารถขอใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน และมีการจากัดจานวนกระสุนที่ สามารถพกพาได้ ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนสามารถใช้บังคับได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557 |
Subject(s): | ปืน -- กฏหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Keyword(s): | การพกพาอาวุธปืน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 476 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3098 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b185263.pdf ( 1.06 MB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|